จาก 'ป๊อกกี้' คนเหล้า-วิสกี้ สู่ไอเดีย ‘คาเฟ่’ โมเดลธุรกิจใหม่ ‘ไทย กูลิโกะ’

จาก 'ป๊อกกี้' คนเหล้า-วิสกี้  สู่ไอเดีย ‘คาเฟ่’ โมเดลธุรกิจใหม่ ‘ไทย กูลิโกะ’

"ไทย กูลิโกะ" วางเป้าหมายธุรกิจปี 2567 เติบโตก้าวกระโดด ขยายหน่วยธุรกิจใหม่ หาโอกาสเสิร์ฟสินค้า เข้าใกล้ผู้บริโภค ดัน "ป๊อกกี้ คาเฟ่" โรดโชว์ทั่วไทย หยั่งกระแส ต่อยอดรสชาติไทย เขย่าตลาด เจาะนักท่องเที่ยว รักษาบังลังก์เบอร์ 1 ตลาดนมหวาน(บิสกิต แคร็กเกอร์ เวเฟอร์)

“กูลิโกะ” ในประเทศญี่ปุ่นเพิ่งผ่านการเป็นองค์กร “ร้อยปี” เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่วนไทยก้าวย่างการทำธุรกิจยาวนาน 54 ปีแล้ว โดยมีแบรนด์ “กูลิโกะ เพรทซ์” สินค้านำร่องเสิร์ฟคนไทยก่อน หลังจากนั้นเป็นคิวของ “กูลิโกะ ป๊อกกี้”

ประเทศไทยถือเป็นฐานทัพธุรกิจที่สำคัญของญี่ปุ่น โดยเป็นประเทศแรก ที่ญี่ปุ่นมาขยายธุรกิจตั้งสำนักงาน “นอกแดนอาทิตย์อุทัย” ปัจจุบัน ไทยมีทั้งโรงงานผลิตสินค้า ศูนย์วิจัยและพัฒนาหรือ R&D Center เสริมแกร่งสร้างการเติบโต

จาก \'ป๊อกกี้\' คนเหล้า-วิสกี้  สู่ไอเดีย ‘คาเฟ่’ โมเดลธุรกิจใหม่ ‘ไทย กูลิโกะ’

ความท้าทายขององค์กร ธุรกิจที่อยู่ในตลาดมายาวนาน คือ การหาโอกาสขยายอาณาจักรให้แข็งแกร่ง ทำเงิน สร้างรายได้โตอย่างต่อเนื่อง เพราะฐานตลาดที่มีขนาดใหญ่ ทำให้การโตจะไม่หวือหวาหรือก้าวกระโดดเหมือนยุคแรกๆ

ปี 2565 ต่อเนื่องถึงปี 2567 “ไทย กูลิโกะ” มีการขยายธุรกิจ และแตกไลน์โมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อต่อจิ๊กซอว์ให้บริษัท เช่น การนำเข้านมอัลมอนด์เบอร์ 1 จากญี่ปุ่นแบรนด์ “กูลิโกะ อัลมอนด์ โคกะ” เสิร์ฟผู้บริโภคชาวไทย และถือเป็นการเปิดเซ็กเมนต์ใหม่ กลุ่มธุรกิจสุขภาพและธุรกิจอาหาร ล่าสุด เป็นการชิมลาง “ป๊อกกี้ คาเฟ่”(Pocky Cafe) และเตรียมโรดโชว์ไปทั่วประเทศ สร้างการรับรู้

จาก \'ป๊อกกี้\' คนเหล้า-วิสกี้  สู่ไอเดีย ‘คาเฟ่’ โมเดลธุรกิจใหม่ ‘ไทย กูลิโกะ’

 

จาก “ป๊อกกี้” คนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สู่โมเดลธุรกิจ “คาเฟ่

เฉลิมพงษ์ ดรงค์สุวรรณ กรรมการผู้จัดการ และ ดวงกมล ชุลิกาวิทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยกูลิโกะ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ป๊อกกี้ เพรทซ์ และพีจอย ร่วมเล่าถึงที่มาที่ไปของ “ป๊อกกี้ คาเฟ่” เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีถึงวัฒนธรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเลือดซามูไร และหนึ่งในนั้นคือ วิสกี้ และมีนักดื่มที่นำแท่งขนม “กูลิโกะ ป๊อกกี้” ไปใช้คนเครื่องดื่มแก้วโปรด จนกลายเป็นคอนเซปต์ “ป๊อกกี้ ออน เดอะ ร็อก”

จากนั้นปี 1980 หรือ พ.ศ.2523 ทางบริษัทจึงมีการพยายามต่อยอดจุดเด่นดังกล่าง เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ผ่านแคมเปญ “ป๊อกกี้ ออน เดอะ ร็อก” และขยายไปยังภูมิภาคๆต่างๆทั่วโลก ทว่าการโปรโมทหรือส่งเสริมการตลาดอาจไม่ใช่เชิงรุกนัก

ขณะที่ไทย เห็นโอกาส จึงมีเนรมิต “ป๊อกกี้ คาเฟ่” ครั้งแรกเมื่อวันป็อกกี้ เดย์ เพื่อฉลองครบ 50 ปีในไทย จากป๊อกกี้ เดย์ทั่วโลกหรือแคมเปญ Global Pocky Day จัดขึ้นปี 2016 หรือ พ.ศ.2559 ไปสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ไปใช้ตกแต่งในเครื่องดื่ม กระตุ้นให้เกิดการลอง

จาก \'ป๊อกกี้\' คนเหล้า-วิสกี้  สู่ไอเดีย ‘คาเฟ่’ โมเดลธุรกิจใหม่ ‘ไทย กูลิโกะ’

“การเพิ่มโอกาสการรับประทานป๊อกกี้ หนึ่งในนั้นคือผ่านป๊อกกี้ คาเฟ่ ที่เราพยายามทำเมื่อปีก่อน เปิดครั้งแรกในวันป๊อกกี้เดย์ ผลตอบรับคือมีผู้บริโภคตามหา อยากให้ไปเปิดที่อื่น ซึ่งป๊อกกี้ คาเฟ่ จะเป็นกลยุท์ในการใช้เพิ่มความอร่อยทุกเมนู นำป๊อกกี้ไปรังสรค์เครื่องดื่มและเมนูอื่นๆตามมา”

นอกจากนี้ บริษัทวางแผนโรดโชว์ “ป๊อกกี้ คาเฟ่” อย่างน้อย 20-30 แห่งทั่วไทย ประเดิมย่านใจกลางธุรกิจ(CBD)ที่พาร์ค สีลม เพื่อเปิดให้ผู้บริโภคได้ชิมและหยั่งกระแส เพื่อดูโอกาสในการต่อยอดจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการนำสินค้าไปร่วมมือ(Collaboration)กับพันธมิตร และการซีเนอร์ยีกับ “นมอัลมอนด์โคกะ” รังสรรค์เมนูเครื่องดื่มต่างๆ โดยในส่วนนี้ บริษัทยังมีการสร้าง “หน่วยธุรกิจใหม่” เพื่อทำตลาดเชิงรุกด้วย

“ป๊อกกี้ คาเฟ่ ยังเป็นอีกกลยุทธ์ในการเข้าใกล้คอนซูเมอร์มากขึ้น และทำให้ผู้บริโภคเข้าใจเราอย่างแท้จริง มีโอกาสได้ชิม เชื่อมั่นในสินค้า และซื้อสินค้าราคาพิเศษ ที่สำคัญทำให้เห็นว่าป๊อกกี้ไม่ต้องทานเป็นขนม แต่นำมาคู่เครื่องดื่ม จัดเซ็ท รังสรรค์เมนูรับประทานในโอกาสต่างๆด้วย”

 

ปี 2567 วางเป้าโตก้าวกระโดด

ไทย กูลิโกะ เป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ นอกจากอยู่มานาน ยังทำรายได้หลักหลายพันล้านบาท จากสินค้าหลักๆ 3 หมวดหมู่ ประกอบด้วย ขนม ไอศกรีม และนมอัลมอนด์ โดยปี 2567 บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตอัตรา 2 หลักและ “ก้าวกระโดด”

จาก \'ป๊อกกี้\' คนเหล้า-วิสกี้  สู่ไอเดีย ‘คาเฟ่’ โมเดลธุรกิจใหม่ ‘ไทย กูลิโกะ’

กลยุทธ์สำคัญคือการผลักดันขนมกูลิโกะ ป๊อกกี้ ปีนี้มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ “เซ็กเมนต์พรีเมียม” ภายใต้ “ป๊อกกี้ ครัช” เจาะกลุ่มเป้าหมาย พร้อมดึง “ซี-นุนิว” มาเป็นกุลิโกะ เฟรนด์(Glico Friend) สร้างการรับรู้แบรนด์และสินค้า

ปี 2567 จะมีการออกสินค้าใหม่เพื่อสร้างความว้าว! ในช่วงปลายปีกับ รสชาติชีสเค้ก และรสชาติท้องถิ่นไทยเพื่อเขย่าตลาด

“ปีนี้เราอยากเติบโตก้าวกระโดดในทุกหมวดสินค้า ด้วยการมีนวัตกรรม สินค้าใหม่ๆออกสู่ตลาดมากขึ้น มีช่องทางใหม่ๆในการนำเสนอสินค้า จากอดีตเรายังทำไม่มากพอ อย่างการสื่อสารตลาด โฆษณาผ่านสื่อออฟไลน์ ออนไลน์ เป็นปกติ แต่เราจะต้องเข้าใกล้ผู้บริโภคให้มากกว่านี้”

จาก \'ป๊อกกี้\' คนเหล้า-วิสกี้  สู่ไอเดีย ‘คาเฟ่’ โมเดลธุรกิจใหม่ ‘ไทย กูลิโกะ’ เฉลิมพงษ์ ดรงค์สุวรรณ - ดวงกมล ชุลิกาวิทย์

 

สินค้าท้องถิ่นไทย สงวนไว้ทำตลาดในประเทศ

อีกกลยุทธ์ที่มาแรงของ “ไทย กูลิโกะ” คือการรังสรรค์ป๊อกกี้ รสชาติท้องถิ่น(Local Flavour)เอาใจคนไทยโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น รสมะม่วง และรสช็อกโกบานาน่า (เช่นเดียวกับพอร์ตโฟลิโอของบริษัทอย่าง เพรทซ์ มีรสลาบ รสต้มยำกุ้ง) ซึ่งผลลัพธ์นอกจากคนไทยชอบ “นักท่องเที่ยว” ยังนิยมซื้อเป็นของฝาก ของที่ระลึกเมื่อมาเที่ยวประเทศไทยด้วย ปีนี้บริษัทจะพัฒนารสชาติท้องถิ่นออกมาเสริมแกร่งพอร์ตฯสินค้าด้วย

“โลคัล เฟลเวอร์ บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ไทย กินแล้วได้รสชาติไทยแท้ๆ ซึ่งเราระดมสมองกันถึงการสร้างสรรค์รสชติที่ถูกต้อง แพ็คเกจจิงที่ดี ทั้งมะม่วงและลิงอยู่บนกล้อง ส่งผลให้นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจีนมีการซื้อเป็นของฝากจำนวนมาก สินค้าโลคัลเหล่านี้เราจำหน่ายแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แม้ว่าทุกประเทศอยากนำไปทำตลาดก็ตาม”

สำหรับภาพรวมตลาดขนมหวานในหมวดบิสกิต(บิสกิต แคร็กเกอร์ เวเฟอร์)ปี 2566 มูลค่าราว 15,700 ล้านบาท เติบโต 6% โดยกลุ่มใหญ่สุดคือ แคร็กเกอร์ และป๊อกกี้เป็นเบอร์ 1 ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 10%