‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

“วัลลภา ไตรโสรัส” ทายาทเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี แม่ทัพใหญ่แห่งบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ “AWC” ยักษ์อสังหาริมทรัพย์เชิงไลฟ์สไตล์เพื่อการท่องเที่ยว บริการ และการพาณิชย์ ประกาศเป้าหมายสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด!

KEY

POINTS

  • “วัลลภา ไตรโสรัส” ทายาทเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เผยความคืบหน้าการพัฒนาเมกะโปรเจกต์อสังหาริมทรัพย์ “5 เดสติเนชัน” ใน 4 เมืองท่องเที่ยว กรุงเทพฯ-พัทยา-เชียงใหม่-ชะอำ ใต้ร่มการลงทุนของ “AWC” องค์กรที่มีมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 1 แสนล้านบาทในปัจจุบัน
  • พร้อมวางงบลงทุนของ AWC ระยะ 5 ปี (ตั้งแต่ปี 2567-2571) รวมกว่า 126,000 ล้านบาท รุกเพิ่มมูลค่าพอร์ตทรัพย์สินกว่า 2 เท่า ด้วยแทคติกหลัก “เปิด Hotel ก่อนเติม Retail”
  • นับรวมทุกโครงการที่ต่อคิวรอพัฒนาและเตรียมเปิดในระยะยาวเกิน 5 ปีนับจากนี้ ทั้งโครงการย่อยใน 5 เดสติเนชัน และโครงการเดี่ยวต่างๆ มีมากกว่า “70 โครงการ”

 

“วัลลภา ไตรโสรัส” ทายาทเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี แม่ทัพใหญ่แห่งบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ “AWC” ยักษ์อสังหาริมทรัพย์เชิงไลฟ์สไตล์เพื่อการท่องเที่ยว บริการ และการพาณิชย์ ประกาศเป้าหมายสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด!

“วัลลภา ไตรโสรัส” ทายาทเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี แม่ทัพใหญ่แห่งบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ “AWC” ยักษ์อสังหาริมทรัพย์เชิงไลฟ์สไตล์เพื่อการท่องเที่ยว บริการ และการพาณิชย์ ประกาศเป้าหมายสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด! เพิ่มมูลค่าพอร์ตทรัพย์สินกว่า 2 เท่า จัดเต็มด้วยงบลงทุนกว่า 126,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2567-2571 เป็นการปรับเพิ่มจากงบลงทุนเดิมที่เคยเตรียมไว้ 100,000 ล้านบาท

จาก ณ สิ้นปี 2566 AWC มีมูลค่าพอร์ตทรัพย์สินทั้งหมดอยู่ที่ 146,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52% เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 โดยคิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินดำเนินงานอยู่ที่ 108,202 ล้านบาท

หลังผลประกอบการปี 2566 อู้ฟู่! สะท้อนการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคท่องเที่ยวไทย หนุน AWC ทำ “All Time High” รวม 5 ด้าน เมื่อเทียบกับปี 2565 ได้แก่ “กำไรสุทธิ” เติบโตก้าวกระโดดสู่ 5,105 ล้านบาท เติบโต 28.2% โดยมี “กำไรจากการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจ” (BU EBITDA) 10,639 ล้าน ตามงบการเงินซึ่งรวมมูลค่ายุติธรรม เติบโต 26.6% 

นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น “รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก” (RevPAR) เติบโตสูงสุดที่ 3,658 บาท เพิ่มขึ้น 54.8% และมี “รายได้เฉลี่ยต่อวัน” (Average Daily Rate: ADR) เท่ากับ 5,661 บาทต่อคืน เพิ่มขึ้น 17.4% 

และในปี 2566 AWC ได้สร้าง “การเติบโตของมูลค่าทรัพย์สิน” กว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยทรัพย์สินดำเนินงานใหม่ประมาณ 6,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติกว่า 14,000 ล้านบาท

‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ “AWC” กล่าวว่า จากโมเดลการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ของ AWC เน้นพัฒนาโครงการ “มิกซ์ยูสขนาดใหญ่” ระดับแฟลกชิปในรูปแบบของ AWC’s Lifestyle & Workplace Destinations ภายใต้กลยุทธ์ “เปิด Hotel ก่อนเติม Retail” มุ่งสร้าง “เดสติเนชัน” ขนาดใหญ่ให้กับประเทศไทย!

เชื่อมต่อประสบการณ์ของทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าอย่างครอบคลุมทั้งในด้าน Attraction, Food & Beverage และ Lifestyle Market ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก ด้วยการผสานจุดแข็งของ AWC กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

“AWC เชื่อมั่นในศักยภาพและจุดแข็งของประเทศไทย เรามีธรรมชาติที่สวยงาม เรามีคนไทยที่น่ารัก เรามีไลฟ์สไตล์หลากหลาย สนับสนุนให้ภาคการท่องเที่ยวเป็นไฮไลต์ของประเทศ เราจึงเชื่อว่าเมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงเดินทางเข้ามาดีแบบนี้ ผลประกอบการก็น่าจะก้าวกระโดดจากการทยอยเปิดโครงการคุณภาพใหม่ๆ เข้าไปในจุดหมายปลายทางต่างๆ อย่างต่อเนื่อง”

‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

ปัจจุบัน AWC มีแผนพัฒนามิกซ์ยูสขนาดใหญ่ “5 เดสติเนชัน” ใน 4 เมืองท่องเที่ยวหลัก ทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา และชะอำ-หัวหิน ได้แก่

 

1.โครงการ “เอเชียทีค ดิสทริกต์” (Asiatique District) ในกรุงเทพฯ

สำหรับการพัฒนาเฟส 2.2 ของเอเชียทีคฯ ไฮไลต์คือการก่อสร้าง “ตึกสูงระฟ้า 100 ชั้น” เป็นตึกสูงที่สุดในประเทศไทย จะออกแบบให้เป็น Sustainable Development กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์และลมไว้ในแบตเตอรี คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จในอีก 8-9 ปีข้างหน้า หรือราวปี 2574-2575

 

2. โครงการ “เวิ้ง ไชน่าทาวน์ เดสติเนชัน” (Weng Chinatown Destination) ในกรุงเทพฯ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เวิ้งนาครเขษม” คาดว่าจะใช้เวลา 5 ปีค่อยเริ่มเปิดเฟสแรก เนื่องจากการก่อสร้างพื้นที่เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่อยู่บริเวณใต้ดิน โดย AWC ได้อนุรักษ์อาคารริมถนน จึงเตรียมเปิดส่วนนี้ก่อน แล้วค่อยพัฒนาบริเวณใต้ดินซึ่งจะเป็นแหล่งชอปปิงใต้ดินใหญ่ที่สุด

 

3. โครงการ “อควอทีค เดสติเนชัน” (Aquatique Destination) ในพัทยา

เป็นโปรเจกต์ใหญ่ใจกลางเมืองพัทยา มูลค่าการลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท จะโปรโมตการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กีฬาทางน้ำ และเอ็นเตอร์เทนเมนต์-รีเทลขนาดใหญ่ เฉพาะตัวอาคารหลักที่เพิ่งปรับแบบเป็นตึกเดียว น่าจะมีความสูงกว่า 60 ชั้น ล่าสุดมีการปรับคอนเซ็ปต์เพิ่มเติม ทำสระว่ายน้ำแบบ Longest Infinity-Edge Pool เพื่อเพิ่มความว้าวให้เป็น “ไอคอนิก แลนด์มาร์ก” คาดเปิดในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทยอยเปิด 5 เฟส

โดย AWC ได้เซ็นสัญญาว่าจ้างเชนโรงแรมระดับโลกมาบริหารโรงแรม 5 แห่ง อาทิ โรงแรม เจดับบลิว แมริออท มาร์คีส์, โรงแรม อควอทีค พัทยา ออโตกราฟ คอลเลกชัน และยังมีการเซ็นโรงแรม เจดับบลิว แมริออท ไว้ด้วย โดยกำลังดูว่าอาจรีแบรนด์เป็น “ท็อปแบรนด์” เพื่อดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มลักชัวรีกว่านี้เข้าพัทยา นอกจากนี้ยังมีโรงแรม คิมป์ตัน พัทยา ส่วนอีกแห่งกำลังดูว่าจะรีแบรนด์โรงแรมที่เราเตรียมเปิดในปี 2567 ด้วย

นอกจากนี้ AWC ยังมีอีก 3 โครงการใหม่ในพัทยา ที่ไม่ได้อยู่ใต้ร่มโปรเจกต์ “อควอทีค” ประกอบด้วย โรงแรมพัทยา แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา แอท จอมเทียน บีช ซึ่งมีกำหนดเปิดในปี 2567 รวมถึงโครงการในอนาคตอย่างโรงแรม บันยันทรี พัทยา บนที่ดิน 150 ไร่ ตรงข้ามสวนนงนุช และอีก 1 แห่งอยู่ในแผนศึกษา 5 ปี จะพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์ “All-Inclusive” บนเนื้อที่ราว 28 ไร่ อยู่ในแผนทรัพย์สินภายใต้สัญญาให้สิทธิ ใกล้กับโรงแรมโมเวนพิค ตั้งเป้าดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว โดยเฉพาะลูกค้าชาวจีนที่ชื่นชอบแพ็กเกจแบบนี้ มาแล้วทานอาหารแบบว้าวๆ ไม่จำกัด เหมือนบุฟเฟต์แบบ All Day All Night

‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

4. โครงการ “ลานนาทีค เดสติเนชัน” (Lannatique Destination) ในเชียงใหม่

ตั้งอยู่ในพื้นที่ช้างคลาน ใจกลางเมืองเชียงใหม่ มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท ด้วยการนำเชนโรงแรมระดับท็อปจากหลากหลายภูมิภาคมารวมตัวกันที่นี่ เพื่อดึงฐานลูกค้าทั่วโลก โดยมีโรงแรมในลานนาทีคเปิดให้บริการแล้ว “3 แห่ง” จาก 3 เชนโรงแรม คือ อินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง, เชียงใหม่ แมริออท โฮเทล และ มีเลีย เชียงใหม่ 

‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

นอกจากนี้จะพัฒนาโรงแรมใหม่อีก “3 แห่ง” โดยแห่งที่ 4 จะตั้งอยู่ข้าง เชียงใหม่ แมริออท โฮเทล เตรียมดึงอีกเชนโรงแรมมาเติมคอนเซ็ปต์ห้องพักขนาดใหญ่ 2-3 ห้องนอนที่นิยมพำนักนาน มาเป็นกลุ่มครอบครัว ผสมผสานความเป็นบ้านกับโรงแรมเข้าด้วยกัน ส่วนแห่งที่ 5 จะเป็นโรงแรมแนวเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไลฟ์สไตล์ มีสวนน้ำในตัว ตั้งอยู่ข้าง มีเลีย เชียงใหม่ รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว

ต่อด้วยจิ๊กซอว์ค้าปลีก โปรโมตการชอปปิง ล่าสุดเพิ่งเปิดโครงการ “เดอะ พันธุ์ทิพย์ ไลฟ์สไตล์ ฮับ” เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ให้เป็นแลนด์มาร์กสำหรับกิจกรรมความสนุกหลากหลาย 

‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

และเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา คณะกรรมการ AWC มีมติอนุมัติการได้มาซึ่งทรัพย์สินของบริษัท โดยการเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำนวน 7 แปลง ตั้งอยู่ที่ ต.ช้างคลาน จ.เชียงใหม่ รวมเนื้อที่ดิน 5 ไร่ 3 งาน 39.5 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยมีมูลค่ารวมสุทธิจำนวน 519.8 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้อนุมัติงบลงทุนเพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพย์สินในที่ดินดังกล่าวจำนวน ประมาณ 690.7 ล้านบาท 

ถือเป็นแปลงที่ดินต่อเนื่องจากโครงการลานนาทีค นอกเหนือจากแปลงใหญ่ “ลานนาทีค บาซาร์” (เดิม ไนต์ บาซาร์) ที่อยู่ติดกับโรงแรม เชียงใหม่ แมริออท โฮเทล และต่อเนื่องไปถึงเดอะ พลาซ่า ซึ่ง AWC เป็นเจ้าของโรงแรม ดุสิต ดีทู เชียงใหม่ ส่วนฝั่งตรงข้ามมี “ลานนาทีค กาแล” เป็นพื้นที่ที่เตรียมเปิดในเฟสแรก พัฒนาเป็นอาร์ต วิลเลจ (Art Village) เล่าเรื่องราวเสน่ห์ของเชียงใหม่ พร้อมคุยกับพันธมิตรระดับโลกที่จะเข้ามาช่วยผลักดันการสร้างระบบนิเวศแก่เชียงใหม่สู่การเป็นศูนย์กลางการสะสมงานศิลปะ ขณะเดียวกันมีแผนพัฒนา “ลานนาทีค มาร์เก็ต” (ตลาดอนุสาร) เชื่อมกับแม่น้ำปิงอีกด้วย

‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

 

5. โครงการใน “ชะอำ”

นับเป็นครั้งแรกที่ วัลลภา เปรยถึงโปรเจกต์มิกซ์ยูสนี้ โดยมีที่ดินของ ทีซีซีกรุ๊ป อยู่แล้ว จะพัฒนาเป็นโครงการชั้นนำภายใต้แนวคิด “Sustainable Development” คาดอีก 4 ปีน่าจะเริ่มร้อยเรียงโครงการต่างๆ เข้ามา

 

‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

“เราต้องนำแบรนด์โรงแรมระดับคุณภาพจากทั่วโลกมาเมืองไทย ด้วยการจับมือกับพันธมิตรเชนโรงแรมระดับโลก เพื่อสร้างซัพพลายโรงแรมดึงดีมานด์นักท่องเที่ยวเข้ามาก่อน ส่วนตลาดรีเทล มองว่าต้องมีดีมานด์พร้อมก่อน ค่อยสร้างซัพพลายรองรับการชอปปิง นำไปสู่การสร้างเดสติเนชันในภาพใหญ่”

เมื่อรวมโครงการย่อยใน 5 เดสติเนชันดังกล่าว และโครงการเดี่ยวต่างๆ มีจำนวนรวมมากกว่า “70 โครงการ” ที่ต่อคิวรอพัฒนาและเตรียมเปิดในระยะยาวเกิน 5 ปีนับจากนี้ โดย AWC เป็นเจ้าของกว่า 50 โครงการ ส่วนอีก 20 โครงการอยู่ภายใต้สัญญาให้สิทธิ

“ปัจจุบันอสังหาฯ ภายใต้เครือ AWC เฉพาะในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ของโลก มีสัดส่วนการสร้างรายได้หลักกว่า 60% ของรายได้ AWC ทั้งหมด แต่ว่าก้าวต่อไปของ AWC จะเตรียมการลงทุนในพัทยาและเชียงใหม่เข้ามาเสริมเพื่อกระจายความหลากหลาย รวมถึงเมืองรองอื่นๆ เช่น เชียงราย แต่ก็ยังคงลงทุนในกรุงเทพฯ ต่อเนื่อง เพื่อบาลานซ์พอร์ตและสร้างการเติบโต”

‘AWC’ ปั้นบิ๊กโปรเจกต์ 5 เดสติเนชัน สร้างจุดแข็ง ‘ไทย’ เขย่าท่องเที่ยวโลก!

เฉพาะในปี 2567 AWC มีแผนที่จะเสริมศักยภาพและเปิดให้บริการโครงการในทุกกลุ่มธุรกิจรวมกว่า 18 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 19,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ AWC ตั้งเป้า “รายได้ปี 2567” เติบโตก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน เนื่องจากกลยุทธ์ของ AWC เน้นการพัฒนาซัพพลายโรงแรมคุณภาพ ให้สามารถดึงเรต “ราคาห้องพัก” เพิ่มขึ้นได้เลย เพราะลูกค้าจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินมาไทยค่อนข้างสูงแล้ว เขายอมจ่ายค่าโรงแรมสูงขึ้น ต่างจากยุคก่อนโควิด-19 ที่ไม่กล้าขยับเรตราคาห้องพัก โรงแรมต่างๆ สู้กันด้วยราคา ทำให้อัตราการเข้าพักดีที่ระดับ 80%

นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 โครงการใหญ่ คิดเป็นมูลค่า 17,000 ล้านบาท ที่คณะกรรมการบริษัทเห็นชอบให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ เพื่อเข้าลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์คุณภาพบนพื้นที่ระดับไพรม์โลเคชันในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ได้แก่ 

1.โครงการโอพี การ์เด้น ย่านบางรัก เพื่อเชื่อมกับโครงการแฟลกชิป โรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งเสริมจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวริมสายน้ำ คาดว่าจะเปิดดำเนินการไตรมาสที่ 4 ปี 2570 

2.โครงการโรงแรมระดับลักชัวรี ในพื้นที่ถนนสุขุมวิท 38 ตรงสถานีรถไฟฟ้า BTS ทองหล่อ ซึ่งเป็นย่านไลฟ์สไตล์สุดเทรนดี้ของกรุงเทพฯ เพื่อพัฒนาโครงการโรงแรมด้านเวลเนส ใช้งบลงทุน 3,000 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดดำเนินการในไตรมาสที่ 3 ในปี 2571

และ 3. การเข้าลงทุนเพิ่มในพื้นที่ช้างคลาน ใจกลางจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะได้รับการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ลานนาทีค เดสติเนชัน”

“เมื่อรวมมูลค่าการลงทุนและเข้าพัฒนาโครงการทั้งในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น และเมื่อรวมกับโครงการที่จะเปิดดำเนินงานในปีนี้จะเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 36,000 ล้านบาท” วัลลภา กล่าว