รับได้ไหม ภาพคำเตือนสุขภาพ-น่ากลัวฉลากน้ำเมา 'TABBA' ค้านไม่ให้เกิดขึ้น!

รับได้ไหม ภาพคำเตือนสุขภาพ-น่ากลัวฉลากน้ำเมา 'TABBA' ค้านไม่ให้เกิดขึ้น!

ไม่เอาภาพคำเตือนสุขภาพบนฉลากน้ำเมา สมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย ผนึกกำลังท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจกลางคืน ออกโรงคัดค้าน ไม่เป็นไปตามการค้าโลก หวั่นกระทบภาพลักษณ์ไทยดึงนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูง แบรนด์ไทย-เทศไม่ยอม

วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักมีประเด็นร้อนเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่อาจส่งผลต่อการค้าขายสินค้า การสร้างแบรนด์ ตลอดจนผลกระทบทางด้านแบรนด์

ล่าสุด ประเด็นเกี่ยวกับการมีคำเตือนด้านสุขภาพอยู่บนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการต้องออกโรง สะท้อนความคิดเห็นถึงภาครัฐทันที

รับได้ไหม ภาพคำเตือนสุขภาพ-น่ากลัวฉลากน้ำเมา \'TABBA\' ค้านไม่ให้เกิดขึ้น!

ภาพคำเตือนสุขภาพที่ดูน่ากลัวจะอยู่บนฉลากน้ำเมา

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรคประกาศเชิญชวนประชาชนร่วมแสดงความเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือน สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. .... เพื่อรวบรวมความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างประกาศดังกล่าวต่อไป ตั้งแต่วันนี้ - 29 กุมภาพันธ์ 2567

รับได้ไหม ภาพคำเตือนสุขภาพ-น่ากลัวฉลากน้ำเมา \'TABBA\' ค้านไม่ให้เกิดขึ้น!

เขมิกา รัตนกุล

เขมิกา รัตนกุล นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย(TABBA) เปิดเผยว่า นับเป็นครั้งที่ 3 ที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการเปิดรับฟังความเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับฉลากสำหรับเครื่อดื่มแอลอฮอล์ โดยครั้งแรกเกิดขึ้นปี 2552 และครั้งที่ 2 เกิดขึ้นปี 2557

ทั้งนี้ รายละเอียดครั้งนี้ คือการภาพมีคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพอยู่บนฉลากเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ซึ่งคล้ายกับผลิตภัณฑ์บุหรี่ หรือ Graphic Health Warnings เพื่อให้รับรู้ถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากเดิมที่กำหนดไว้(ข้อ6) ที่ต้องแสดงข้อความคำเตือนพร้อมรูปภาพประกอบถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งให้จัดทำเป็นรูปภาพ 4 สี 6 แบบ สับเปลี่ยนกันไปตามลำดีบในอัตรา 1 ต่อ 1,000 ภาชนะบรรจุ และให้เป็นไปตามแบบของข้อความ

สำหรับภาพคำเตือน เช่น การดื่มสุราก่อให้เกิดโรคตับแข็งได้ การดื่มสุราทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ การดื่มสุราก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวได้ เป็นต้น

“การติดภาพคำเตือนสุขภาพบนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จริงๆ จะสร้างความเจ็บปวดให้กับเจ้าของกิจการได้" 

จากข้อมูลข้างต้น หากมีการติดภาพคำเตือนสุขภาพบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ขวดทรงสี่เหลี่ยมจะกินสัดส่วนราว 50% ของพื้นที่ ขวดทรงกลมจะกินพื้นที่ราว 30% ของพื้นที่ ในมิติของธุรกิจการตลาด การสร้างแบรนด์ ตลอดจนการบริโภค ทำให้เกิดความไม่เจริญหูเจริญตา(uncivilized) คุณค่าของแบรนด์ลดลง(Brand Equity) โดยเฉพาะแบรนด์ระดับพรีเมียม จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับแสนบาทต่อขวดไม่ยินยอมอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ภาพคำเตือนดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการค้าโลกด้วย

รับได้ไหม ภาพคำเตือนสุขภาพ-น่ากลัวฉลากน้ำเมา \'TABBA\' ค้านไม่ให้เกิดขึ้น!

ตัวอย่างภาพคำเตือนสุขภาพบนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจุบันคำเตือนบนฉลากหรือผลิต ได้แก่ ห้ามจำหน่ายสุราแก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ การดื่มสุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ไม่ควรดื่ม และโปรดดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากการติดภาพคำเตือนสุขภาพบนฉลากออกมาบังคับใช้ ผลกระทบสำหรับแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากต่างประเทศ จะต้องมีภาระต้นทุนการปรับเปลี่ยนฉลาก เนื่องจากฉลากดังกล่าวต้องติดที่ต้นทางการผลิต ส่วนแบรนด์ในประเทศหรือโลคัลแบรนด์ คาดการณ์ว่าไม่แฮปปี้เช่นกัน

“ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกฮอล์ทั่วโลก มีการติดคำเตือนบนฉลากเป็นขนาดเล็ก เช่น เมาไม่ขับ คำเตือนสำหรับคนท้อง การห้ามขายให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นต้น ซึ่งมีอยู่แล้ว ส่วนภาพคำเตือนสุขภาบนฉลาก เชื่อว่าผู้ประกอบการโลคัลไม่แฮปปี้ รวมถึงแบรนด์ต่างประเทศเพราะ กระทบภาพลักษณ์แบรนด์ ทำลายคุณค่าแบรนด์ ลามถึงภาพลักษณ์ประเทศไทย ที่กำลังดึงดูดนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูง เพราะหากเห็นภาพบนฉลากคงไม่มองเป็นภาพศิลปะเชิงนามธรรมหรือ Abstract อย่างแน่นอน เสิร์ฟผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าต้องสร้างความสะพรึงให้เกิดขึ้นได้”

รับได้ไหม ภาพคำเตือนสุขภาพ-น่ากลัวฉลากน้ำเมา \'TABBA\' ค้านไม่ให้เกิดขึ้น!

อย่างไรก็ตาม  สมาคมฯ จะทำงานร่วมกันหน่วยงานต่างๆ เพื่อไม่ให้การออกคำเตือนด้านสุขภาพอยู่บนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกิดขึ้น ล่าสุด จึงร่วมกับ APISWA และ Oxford Economics เผยวิจัยเกี่ยวกับเทรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เซ็กเมนต์พรีเมียมกำลังเติบโต ตลอดจนบ่งชี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทย รวมถึงการจัดเก็บรายได้ให้กับประเทศ

นอกจากนี้ ได้ดึงสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต สมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหารกลางคืน สมาคมโรงแรมไทยมาร่วมเสวนาถึงการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว การจัดเก็บรายได้จากภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสถานการณ์ของธุรกิจร้านอาหารกลางคืน 

สำหรับปี 2565 การขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศมีส่วนช่วยทางเศรษฐกิจอย่างมากต่อประเทศไทย ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของประเทศไทยในปี 2565 มูลค่า 198 ล้านดอลลาร์ หรือราว 6,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24 ล้านดอลลาร์ หรือราว 800 ล้านบาท จากปี 2564 และปี 2565 ยังสร้างรายได้จากภาษี 292 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1 หมื่นล้านบาท 

"เรารับไม่ได้ และจะไม่ให้เกิดขึ้น เพราะไม่งดงามกับประเทศไทย"