เจาะวิธีคิด 'ไดกิ้น' กับการสร้างแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่นานถึง 100 ปี

เจาะวิธีคิด 'ไดกิ้น' กับการสร้างแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่นานถึง 100 ปี

เปิดวิธีการบริหารแบรนด์ 'ไดกิ้น' กับการสร้างแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ยาวนานกว่า 100 ปี ท่ามกลางเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว-ตลาดแข่งขันหนัก รวมถึงการใช้ไทยเป็นฐานผลิตหลักเครื่องปรับอากาศ

สำรวจแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย มีหลายบริษัทได้เข้ามาทำตลาดหลากหลายแบรนด์ โดยส่วนใหญ่เป็นการเข้ามาทั้งทำตลาด และใช้ไทยเป็นฐานผลิตเพื่อส่งออกและทำตลาดในภูมิภาคอาเซียน โดยในปีนี้เป็นอีกความท้าทายของผู้ประกอบการไทย จากภาพรวมตลาด เศรษฐกิจ และกำลังซื้อที่ไม่คึกคัก

หนึ่งในมุมมองของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นในประเทศไทยกับ ไดกิ้น (Daikin) โดยผู้บริหารได้ถ่ายทอดมุมมองการทำธุรกิจในปี 2567 ที่เชื่อมั่นว่า “ในทุกวิกฤต ยังมีโอกาสเสมอ!” พิสูจน์ได้จาก ไดกิ้น ได้ก้าวสู่การเป็นแบรนด์ที่มีอายุ 100 ปีแล้ว และผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากในหลายเหตุการณ์มาได้เสมอ 

 

“ไดสุเกะ มุราคามิ” ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไดกิ้น สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด ฉาพภาพการทำธุรกิจของ แบรนด์ไดกิ้น ได้อยู่ในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเป็นเวลาร่วม 100 ปีแล้ว โดยในช่วงที่ผ่านมา ได้เผชิญหลายเหตุการณ์ และวิกฤตในหลายสถานการณ์ แต่บริษัทให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจ ด้วยแนวคิดสำคัญคือ การไม่มีคำว่า "ท้อถอย" พร้อมปรับมุมมองจากวิกฤตไปสู่โอกาสเสมอ!

หากประเมินในปี 2567 นับเป็นมีความท้าทายในหลายด้าน ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลก และความไม่แน่นอน มีหลายปัจจัยที่เป็นไครซิสต้องติดตาม โดยบริษัทได้วางแนวทางการดำเนินธุรกิจทั้ง การปรับรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับแต่ละตลาด การขยายบริการที่ดีอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก พร้อมมุ่งรุกตลาดอย่างหนักตลอดปี เพื่อสร้างแบรนด์เติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องไปอีก 100 ปีข้างหน้า มุ่งรักษาการเป็นผู้นำในตลาดเครื่องปรับอากาศในทั่วโลกต่อไป

เจาะวิธีคิด \'ไดกิ้น\' กับการสร้างแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่นานถึง 100 ปี

ชูพลังเทคโนโลยี-นวัตกรรม สร้างลูกค้าเชื่อมั่น

“แนวคิดการทำงานของแบรนด์ ได้มุ่งการสร้างเครือข่าย การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับตลาด และการออกแบบบริการ ทำให้สามารถครองใจกลุ่มลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง”

อีกสิ่งที่บริษัทมุ่งมั่นคือ การให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพสินค้า ที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้ามาตลอด ผสมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยในปัจจุบัน ไดกิ้น ไม่เพียงแต่มีโรงงานในประเทศไทย แต่ในตลาดโลก แบรนด์มีการทำตลาดไปใน 170 ประเทศทั่วโลก

ส่วนอีกความท้าทายการมีคู่แข่งแบรนด์อื่นๆ เข้ามารุกตลาดครั้งใหญ่ประเทศไทย ที่เน้นนำเสนอเครื่องปรับอากาศที่มีราคาถูกกว่านั้น สิ่งสำคัญของแบรนด์คือ การมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจกับแบรนด์

“แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่ต้องติดตาม แต่ภาพรวมตลาดเครื่องปรับอากาศในประเทศไทยปีนี้ยังมีโอกาสขยายตัว จากสภาพอากาศที่ร้อนมากกว่าปกติ ทำให้ความต้องการเครื่องปรับอากาศมีมากขึ้น โดยตลาดรวมมีมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะขยายตัว 15%”

อีกทั้งการลงทุนใหญ่ของประเทศไทยในปีนี้ 2567 ได้ใช้งบลงทุน 100 ล้านบาท จัดทำ ไดกิ้น โซลูชั่น พลาซ่า แห่งใหม่ ในชื่อ “fuha : SIAM” ตั้งอยู่ที่อาคารสยามปทุมวันเฮ้าส์ ใจกลางเมืองในย่านสยาม โดยเป็นศูนย์นวัตกรรมเรียนรู้เพื่อทุกคน และจัดแสดงนวัตกรรมเครื่องปรับอากาศที่สมัยใหม่ ซึ่งเปิดให้แก่ลูกค้าและผู้ที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมได้ต่อเนื่อง

เจาะวิธีคิด \'ไดกิ้น\' กับการสร้างแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่นานถึง 100 ปี

อีกทั้งได้แผนการรุกธุรกิจในช่วงหน้าร้อนที่กำลังมาถึง บริษัทได้เปิดตัว ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง 5 รุ่นใหม่ และเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ SKY AIR รับหน้าร้อน มุ่งนำเสนอ 4 ฟังก์ชัน ประหยัดไฟ เย็นเร็ว ทนทาน ทำงานเงียบ พร้อมได้ขยายเวลารับประกัน 5 ปี ในเครื่องปรับอากาศติดผนัง Series Y ทุกรุ่น อีกทั้งได้ดึง 2 พรีเซ็นเตอร์ ณเดชน์ คูกิมิยะ คู่ บิวกิ้น-พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล มาร่วมถ่ายทอดเครื่องปรับอากาศในรุ่นใหม่ 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดที่มีมากขึ้น ทำให้ บริษัทได้ตั้งเป้าหมายรวมยอดขายในปี 2567 (เม.ย.2566 - มี.ค.2567) ขยายตัว 20% จากในปี 2566 (เม.ย.2566-มี.ค.2567)  คาดสร้างยอดขายทะยานกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 25% ขณะเดียวกัน ประเมินว่าจะสร้างส่วนแบ่งการตลาดได้กว่า 22% ในตลาดเครื่องปรับอากาศของไทย พร้อมรักษาผู้นำในตลาด

เปิดที่มาแบรนด์ ไดกิ้น ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น

หากมาสำรวจ ไดกิ้น ก่อตั้งในประเทศญี่ปุ่น ย้อนไปในช่วงปี 1924 โดย “อาคิระ ยามาดะ” ผู้บุกเบิกห้างหุ้นส่วนจำกัด โอซาก้า กินโซกุ โคเกียวโช ในเมือง โอซาก้า ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท โอซาก้า กินโซกุ โคเกียว จำกัด ในปี 1934 ซึ่งในปีดังกล่าว เครื่องทำความเย็นได้ถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกและถูกขนานนามว่า “มิฟูจิเรเตอร์”

หลังจากนั้นในปี 1968 บริษัท สยามกลการ จำกัด ได้นำเข้าเครื่องปรับอากาศไดกิ้น จากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ภายใต้การบริหารของ ดร. ถาวร พรประภา ต่อมาใน 1975 บริษัท สยามไดกิ้น จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นฐานการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศไดกิ้นในประเทศไทย ซึ่งมีโรงงานผลิตสินค้าเครื่องปรับอากาศในจังหวัดชลบุรี

ทั้งนี้โรงงานในไทยปัจจุบัน อยู่ ภายใต้ บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย)  จำกัดเป็นฐานการผลิตที่มีขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์การกลางผลิตและบริหารงานในภูมิภาคเอเชีย โอเชียเนีย แบ่งสัดส่วนเป็น ตลาดในไทย 12% เอเชีย 60% โอเชียเนีย 24% ยุโรป 3% และตะวันออกกลาง 1%

เจาะวิธีคิด \'ไดกิ้น\' กับการสร้างแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่นานถึง 100 ปี