‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่ ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’

‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่  ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’

ธุรกิจ ‘สายการบิน’ ลุยสยายปีกประเดิมต้นปีมังกร 2567 เปิดเส้นทางบินระหว่างประเทศสู่เอเชีย ทั้ง จีน-อินเดีย-สิงคโปร์ รับดีมานด์นักท่องเที่ยวฟื้น โดยเฉพาะตลาด “จีน” ที่เพิ่งได้ข่าวดี รัฐบาลไทย-จีนทำความตกลง ‘ยกเว้นวีซ่า’ ระหว่างกัน มีผลตั้งแต่ 1 มี.ค. 2567 เป็นต้นไป

Key Points:

  • ธุรกิจ “สายการบิน” ในประเทศไทย อาทิ “ไทยแอร์เอเชีย” และ “ไทยเวียตเจ็ท” ประเดิมเปิดตัวเส้นทางบินใหม่รับปีมังกร 2567 โดยเฉพาะเส้นทางบินสู่ “ประเทศจีน”
  • หลังเพิ่งได้ข่าวดี รัฐบาล “ไทย-จีน” ทำความตกลงในการยกเว้นการตรวจลงตรา (วีซ่าฟรี) ระหว่างกัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2567 เป็นต้นไป ทำให้คนไทยและจีนสามารถเดินทางระหว่างกันได้ โดยไม่ต้องขอวีซ่า และพำนักแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 30 วัน รวมระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ภายใน 180 วัน
  • นอกจากตลาดจีนแล้ว “อินเดีย” ยังคงเป็นตลาดที่สายการบินสนใจเปิดเส้นทางบินอย่างต่อเนื่อง ด้วยศักยภาพของตลาดที่แข็งแกร่งและพร้อมเติบโต

'จีน-อินเดีย' โฟกัสหลักของไทยแอร์เอเชีย

สันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ปัจจุบัน “ไทยแอร์เอเชีย” (รหัสเที่ยวบิน FD) ให้บริการเส้นทางบินใหม่ “ดอนเมือง - เซี่ยงไฮ้” ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ไทยแอร์เอเชียให้บริการในเส้นทางดังกล่าว ด้วยเครื่องบินแอร์บัส A320 เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 2567 จำนวน 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทำให้ปัจจุบันไทยแอร์เอเชียให้บริการเส้นทางบินตรงสู่ประเทศจีนจำนวน 11 เส้นทาง จากดอนเมืองสู่ กว่างโจว เซินเจิน ฉงชิ่ง ฉางซา ซีอาน ซัวเถา อู่ฮั่น หางโจว คุนหมิง เฉิงตู และเซี่ยงไฮ้

สำหรับเส้นทาง “สุวรรณภูมิ-เซี่ยงไฮ้” ของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ (รหัสเที่ยวบิน XJ) ยังคงให้บริการด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างทางเลือกการเดินทางที่สะดวกสำหรับผู้โดยสาร

‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่  ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’

‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่  ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’

นอกจากประเทศจีน ไทยแอร์เอเชียยังเปิดเส้นทางบินใหม่สู่ประเทศอินเดีย “ดอนเมือง-วิศาขาปัตตนัม” ซึ่งเป็นเมืองท่าชายทะเลของประเทศอินเดียฝั่งตะวันออก ให้บริการ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เริ่มบินตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. 2567

ปัจจุบันไทยแอร์เอเชีย บินตรงจากอินเดียสู่กรุงเทพฯ รวม 10 เส้นทาง ได้แก่ โกลกาตา เชนไน ชัยปุระ โกชิ บังกาลอร์ คยา ลัคเนา อัห์มดาบาด กูวาฮาติ และเส้นทางล่าสุด สู่วิศาขาปัตตนัม โดยมีสัดส่วนผู้โดยสารในทุกเส้นทางส่วนใหญ่จะเป็นชาวอินเดีย ประมาณ 80-90% และมีอัตราขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 88% จึงถือว่าอินเดียเป็นตลาดที่แข็งแกร่งและพร้อมเติบโต

 

ปลุกทราฟฟิกเดินทาง 'หาดใหญ่' เชื่อมสิงคโปร์

มณีนุช ทองนวลเลิศ ผู้จัดการสายการบินแอร์เอเชีย ประจำท่าอากาศยานหาดใหญ่ กล่าวว่า ไทยแอร์เอเชีย เปิดเส้นทางบินใหม่ “หาดใหญ่-สิงคโปร์” ให้บริการ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เริ่มเดินทางตั้งเเต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567

หาดใหญ่-สิงคโปร์ ถือเป็นเส้นทางบินที่ 4 ต่อจาก หาดใหญ่ สู่ ดอนเมือง เชียงใหม่ และกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งการเปิดบินครั้งนี้ทำให้แอร์เอเชีย มีความถี่บินมาที่สุดรวม 12 เที่ยวบินต่อวันจากทุกเส้นทาง ถือเป็นความตั้งใจของสายการบินในความพยายามเพิ่มความถี่เเละเส้นทางบินเข้าหาดใหญ่ เพื่อสร้างโอกาสและกระตุ้นการเดินทางใช้จ่าย โดยเฉพาะหาดใหญ่มีจุดเด่นทั้งการท่องเที่ยวเเละเศรษฐกิจการค้าแบบครบวงจร เชื่อว่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่  ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’

“เส้นทางบินเข้าออกหาดใหญ่ของเเอร์เอเชีย ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ตั้งเเต่เดือนธันวาคมปีที่เเล้ว มีอัตราขนส่งผู้โดยสารสูงมากกว่า 90% โดยเฉพาะเส้นทางเข้าออกจากดอนเมืองเเละเชียงใหม่ ต่อเนื่องมาถึงต้นปี ซึ่งการที่เราเปิดบินหาดใหญ่-สิงคโปร์ เป็นประสบการณ์เดินทางใหม่ ซึ่งทางสายการบินพร้อมจัดโปรโมชั่นบินต่อเนื่อง ให้ทุกคนสามารถบินเที่ยวสนุกเปลี่ยนบรรยากาศในราคาคุ้มค่าที่สุด และมั่นใจได้ในความตรงต่อเวลา”

ปัจจุบัน สายการบินแอร์เอเชีย มีเส้นทางบินตรงจากหาดใหญ่ สู่ดอนเมือง 8 เที่ยวบินต่อวัน สู่เชียงใหม่สูงสุด 2 เที่ยวบินต่อวัน สู่กัวลาลัมเปอร์ 1 เที่ยวบินต่อวัน เเละสิงคโปร์ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ 

‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่  ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’

 

'ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์' จ่อเปิดบินยุโรปครั้งแรกปลายปี 67

ก่อนหน้านี้ ธรรศพลฐ์ เเบเลเว็ลด์ ประธานกรรมการบริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย และประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ กล่าวว่า จากปัจจุบันสายการบิน “ไทยแอร์เอเชีย” (รหัสเที่ยวบิน FD) มีฝูงบินรวม 57 ลำ นำไปทำการบินจริง 51 ลำ ส่วนอีก 6 ลำอยู่ระหว่างซ่อมบำรุง เฉพาะในปี 2567 จะรับมอบแอร์บัส A321 อีก 3 ลำ ทำให้ไทยแอร์เอเชียมีฝูงบินทั้งหมด 60 ลำ ตั้งเป้าสิ้นปี 2567 มีจำนวนผู้โดยสาร 20-21 ล้านคน ยังน้อยกว่าจำนวนเมื่อปี 2562 ก่อนโควิด-19 ระบาดซึ่งปิดที่ตัวเลข 22 ล้านคน แต่ก็ถือว่าดีกว่าปี 2566 ที่มีจำนวน 18 ล้านคน

‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่  ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’

ด้านสายการบิน “ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์” (รหัสเที่ยวบิน XJ) จะเพิ่มขนาดฝูงบินเป็น 10 ลำ จากปัจจุบันมี 6 ลำ โดยในปี 2567 จะรับมอบเครื่องบินแอร์บัส A330-300 อีก 4 ลำใหม่ เพื่อนำไปทำการบินเส้นทางใหม่สู่เอเชียกลาง เช่น เมืองอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน อยู่ระหว่างขอใบอนุญาตทำการบิน ส่วนประเทศจอร์เจีย ที่เคยทำการบินก่อนหน้านี้ แต่หยุดบินไปชั่วคราว เมื่อเครื่องบินพร้อม ก็จะกลับไปทำการบินอีกครั้ง

ขณะเดียวกันจะนำเครื่องบินไปเพิ่มความถี่เที่ยวบินเส้นทางญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงเซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง ของประเทศจีน และกลับไปเปิดเส้นทางบินสู่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ในปลายปี 2567 ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ เตรียมเปิดเส้นทางบินใหม่ไป “ยุโรป” เป็นครั้งแรกอีกด้วย ขณะนี้กำลังศึกษาหลายเส้นทาง ได้แก่ ปราก บูดาเปสต์ โรม มิลาน และเวียนนา

‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่  ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’

 

'ไทยเวียตเจ็ท' รุกเปิด 2 เส้นทางสู่เมืองใหญ่จีน 'กว่างโจว' และ 'ปักกิ่ง'

วรเนติ หล้าพระบาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท กล่าวว่า “ไทยเวียตเจ็ท” ได้เปิดเส้นทางบินใหม่จากกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ประเทศจีน 2 เส้นทางเมื่อเดือนมกราคม 2567 โดยเริ่มให้บริการเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของเส้นทาง “สุวรรณภูมิ-กว่างโจว” เมื่อวันที่ 19 มกราคม และ “สุวรรณภูมิ-ปักกิ่ง” เมื่อวันที่ 31 มกราคม เป็นไปตามแผนเปิดเส้นทางบินใหม่อย่างต่อเนื่องไปยังประเทศจีน สอดรับกับการทำความตกลงยกเว้นวีซ่าระหว่างกันระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2567 เป็นต้นไป

‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่  ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’

“ไทยเวียตเจ็ทมุ่งมั่นเดินหน้ายกระดับการเชื่อมต่อระหว่างไทยและจีนด้วยการขยายเครือข่ายเส้นทางบินสู่หลายเมืองใหญ่ อาทิ เซี่ยงไฮ้ หางโจว ปักกิ่ง กวางโจว เฉิงตู และเจิ้งโจว การขยายเครือข่ายเส้นทางบินสู่จีนไม่เพียงแต่มอบทางเลือกการเดินทางที่หลากหลายและราคาบัตรโดยสารที่เข้าถึงได้แก่ผู้โดยสารเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ รวมถึงเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยเวียตเจ็ทในการตอบสนองความต้องการเดินทางทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

‘สายการบิน’ ลุยเปิดเส้นทางบินใหม่  ครึ่งแรกปี 67 จับโฟกัส ‘จีน-อินเดีย’