ชงรัฐปลดล็อกพ.ร.บ.น้ำเมาฟื้นท่องเที่ยว ทดลอง 1 ปี 'ปรับโซนนิ่ง เวลาห้ามขาย'

ชงรัฐปลดล็อกพ.ร.บ.น้ำเมาฟื้นท่องเที่ยว ทดลอง 1 ปี 'ปรับโซนนิ่ง เวลาห้ามขาย'

ผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนะรัฐไขก๊อก "พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ปลุกท่องเที่ยว ฟื้นเศรษฐกิจไทย หลัง "คลัง" ลดภาษีนำเข้าไวน์ ปรับภาษีสรรพสามิตใหม่ หนุนสุราแช่พื้นบ้าน ชี้ ไวน์แพง รับอานิสงส์ 2 เด้ง ห่วงผู้ผลิตในประเทศ เกษตรกรได้ประโยชน์จากระบบนิเวศน้อย

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย(จีดีพี) ทำให้ภาครัฐงัดหลากมาตรการออกมากระตุ้นกำลังซื้อ การจับจ่ายใช้สอย ล่าสุด กระทรวงการคลังได้เคาะการยกเว้นภาษีนำเข้าไวน์ 21 รายการ และยังมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตสุราพื้นบ้าน รวมถึงการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตเป็นการชั่วคราาวสำหรับสถานบันเทิง เช่น ผับ บาร์ ฯ ทำให้ผู้คร่ำหวอดแวดวงน้ำเมา ผู้ผลิตไวน์มองผลกระทบเชิงบวกและลบ 

  • นักท่องเที่ยวดื่มไวน์เป็นนิชมาร์เก็ต

นายธนากร คุปตจิตต์ ที่ปรึกษา และอดีตนายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย(TABBA) เปิดเผยว่า ในมิติประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยอมรับว่าการยกเว้นภาษีนำเข้าไวน์จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่หากมองภาพใหญ่ของการบริโภคไวน์ ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างเฉพาะ หรือ นิชมาร์เก็ต(Niche) ไม่ใช่กลุ่มใหญ่ที่มีการบริโภคโดยทั่วไป

ชงรัฐปลดล็อกพ.ร.บ.น้ำเมาฟื้นท่องเที่ยว ทดลอง 1 ปี \'ปรับโซนนิ่ง เวลาห้ามขาย\' ทั้งนี้ ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมวดใหญ่ที่มีการบริโภคมากสุด ได้แก่ เบียร์ รองลงมาเป็นกลุ่มสุราสีต่างๆ ส่วนไวน์ เป็นวัยผู้ใหญ่ และนักท่องเที่ยวนิยมดื่มในโรงแรม

อีกมิติการลดภาษีนำเข้าไวน์ดังกล่าว อาจเกิดผลกระทบต่อผู้ผลิตภายในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคอาจมีการเปลี่ยนไปซื้อไวน์จากต่างประเทศแทน แม้ว่าผู้ผลิต ผู้นำเข้าจะมีมาตรการควบคุม หรือแนวทางการจำหน่ายไวน์ของตัวเองเพื่อตอบโจทย์ตลาดก็ตาม

“ในการผลิตไวน์ ชาโตว์ต่างๆ จะมีการผลิตได้ไม่มากนัก เช่น หลักหมื่นหรือแสนขวดต่อปี แต่การลดภาษีนำเข้าไวน์ คาดว่าจะเห็นไวน์ราคาแพงเข้ามา ส่วนนักท่องเที่ยวที่ดื่มไวน์ ไม่ใช่กลุ่มใหญ่ มาตรการกระตุ้นภาคท่องเที่ยวครั้งนี้ โรงแรมอาจจะได้ประโยชน์ แต่อีกด้านต้องมองไวน์ของผู้ผลิตไทย แบรนด์ไทยที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์สู่ตลาดอาจได้รับผลกระทบ”

  • ปลดล็อก พ.ร.บ.น้ำเมา

ทั้งนี้ หากภาครัฐต้องการฟื้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการท่องเที่ยว ธุรกิจร้านอาหาร ผับ บาร์ กลางคืน ธุรกิจบริการอย่างโรงแรม อีกแนวทางคือการดูกฎหมายที่เป็นอุปสรรคคู่ขนานกันไป โดยเฉพาะพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาอื่น นอกจากเวลาตั้งแต่ 11.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น. ซึ่งกฎกมายฉบับนี้เกิดมานานแล้วกว่า 50 ปี (16 พ.ย.2515) และถูกนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ทำให้เมืองท่องเที่ยวต่างๆ ไม่สามารถจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้

ชงรัฐปลดล็อกพ.ร.บ.น้ำเมาฟื้นท่องเที่ยว ทดลอง 1 ปี \'ปรับโซนนิ่ง เวลาห้ามขาย\'

ธนากร คุปตจิตต์

ทว่า ในทางปฏิบัติยังมีผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปบริโภคในร้านอาหารต่างๆ และมีการซื้อเครื่องดื่มผสมหรือมิกเซอร์อื่นๆ ได้ ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งคำถามเกี่ยวกับการบริโภค หรือยังมีดราม่าการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้ล่วงหน้าก่อนเวลาห้ามจำหน่าย เพื่อบริโภค เป็นต้น

ทั้งนี้ กฏหมายที่ฝืนธรรมชาติ ยังส่งผลให้ประชาชนไม่เคารพ ไม่เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เกิดการฝ่าฝืน และเกิดการเรียกร้องให้เคารพกติกาตามมา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จากรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 77 ที่มีเนื้อหาว่า รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จําเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมด ความจําเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือเป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพ ฯ ต้องไปดำเนินการ รวมถึงกฤษฎีกา ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงกฎหมายก็พิจารณาให้ยกเลิก

“การลดภาษีนำเข้าไวน์ แก้พิกัดอัตราภาษีใหม่ในกลุ่มสุราแช่พื้นบ้าน ฯลฯ มองว่ายังไม่กระตุ้นให้การท่องเที่ยวโตมากนัก แต่ควรแก้ไข พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ห้ามขาย เรื่องโซนนิ่ง และการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางออนไลน์ ฯลฯ กลับกันควรบังคับใช้กฏหมายหลักอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องจัดการให้หนัก”

ชงรัฐปลดล็อกพ.ร.บ.น้ำเมาฟื้นท่องเที่ยว ทดลอง 1 ปี \'ปรับโซนนิ่ง เวลาห้ามขาย\'

  • ชงยกเลิกเวลาห้ามขายน้ำเมา 1 ปี

นอกจากนี้ พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ห้ามโฆษณา แสดงเครื่องหมายตราสินค้า เรื่องการนำเสนอฉลาก รางวัลเพื่อเป็นการชักจูงให้เกิดการดื่มโดยตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดการเสียโอกาส และไม่เหมาะกับบริบทของประเทศในขณะนี้

ที่ผ่านมา นักการเมืองดัง เช่น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก มีการหยิบนำเสนอภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบรนด์ของท้องถิ่น สามารถสร้างการรับรู้และสร้างยอดขายได้เป็นอย่างดีจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ เมื่อกฏหมายไม่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจต้องมีการปรับเปลี่ยน โดยทดลองพิจารณายกเลิก เพิกถอน กฏหมายที่สามารถแก้ไขได้เลย ดำเนินการในกฏหมายลำดับรองหรืออนุบัญญัติ เช่น เรื่องเวลาห้ามขาย สถานที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากออกโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถพิจารณาร่วมกันในระดับคณะรัฐมตรี (ครม.) โดยเสนอให้นายกรัฐมตรี หรือ นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติได้

“ไม่ใช่บอกให้ประเทศไทยต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ต้องดูวามเหมาะสม ซึ่งข้อเสนอแนะการแก้ไข ยกเลิก เพิกถอนเรื่องเวลาห้ามขาย สถานที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลองดำเนินการ 1 ปี เพื่อดูความคุ้มค่า ประโยชน์สาธารณะ 3 มิติ ด้านเศรษฐกิจมีความคุ้มค่าหรือไม่ ด้านสังคมเกิดความวุ่นวายหรือไม่ และด้านความมั่นคง ที่จะส่งผลต่อเด็กและเยาวชน หากทำแล้วเกิดความคุ้มค่าทำต่อ หากไม่ดีก็ทำการยกเลิก”

  • ไวน์แพงได้ประโยชน์

นางสาวสุวิสุทธิ์ โลหิตนาวี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บริษัท กราน-มอนเต้ จำกัด เจ้าของแบรนด์ ไร่องุ่นไวน์กราน-มอนเต้ และไวน์ GranMonte กล่าวว่า เห็นด้วยกับการลดภาษีนำเข้าไวน์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว แต่หากมองมิติของผู้ผลิตไวน์ในประเทศไทย และเกษตรกรที่อยู่ในระบบนิเวศครั้งนี้ อาจไม่ได้รับประโยชน์มากนัก

ชงรัฐปลดล็อกพ.ร.บ.น้ำเมาฟื้นท่องเที่ยว ทดลอง 1 ปี \'ปรับโซนนิ่ง เวลาห้ามขาย\' สุวิสุทธิ์ โลหิตนาวี

ทั้งนี้ การลดภาษีนำเข้าไวน์ ตลาดที่ได้ประโยชน์ คือ ไวน์มูลค่าสูง หรือ ราคาแพงจากยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี และโปรตุเกส ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคหันไปดื่มเพิ่มขึ้นเพราะผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมอยู่แล้ว อีกทั้งมีส่วนต่างด้านราคา โดยเฉพาะกับไวน์ราคาต่ำ ไวน์ในประเทศจะมีมากขึ้นด้วย กระทบขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ขณะที่ไวน์จากประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และชิลี ได้สิทธิประโยชน์จากเขตการค้าเสรี (FTA) ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าอยู่แล้ว

“แน่นอนว่าการลดภาษีนำเข้าไวน์ จะทำให้ต้นทุนนำเข้าถูกลง เนื่องจากอัตราภาษีมีตั้งแต่ 54-60% จะหายไป และอาจเห็นการนำมาจำหน่ายในประเทศมากขึ้น ตามความต้องการหรือดีมานด์ของผู้บริโภค ส่วนการกักตุนสินค้าคาดว่าไม่เกิดขึ้น หากไม่มีเหตุที่ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น เพราะผู้นำเข้า จัดจำหน่ายจะสั่งสินค้าให้สอดคล้องกับตลาด”

  • ปรับภาษีใหม่สุราแช่พื้นบ้านยังเก็บตามดีกรี

ส่วนการปรับภาษีสรรพสามิตสุราใหม่ ในกลุ่มสุราแช่พื้นบ้าน เช่น อุ กระแช่ สาโท เป็นการปรับในส่วนของอัตราภาษีตามมูลค่าจาก 10% เหลือ 0% ตามปริมาณ 150 บาทต่อลิตรต่อ 100 ดีกรีแอลกอฮอล์ โดยยังคงเก็บอัตราภาษีตามปริมาณแอลกอฮฮอล์ หรือ ดีกรี อยู่ ส่วนไวน์ การปรับภาษีใหม่ กลุ่มที่ได้ประโยชน์ คือ ไวน์แพง หรือ ไวน์พรีเมียม และยังเป็นการได้ประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าด้วย ขณะเดียวกันบางหมวดมีการปรับเพิ่มขึ้น อย่าง โซจู เป็นต้น

“การลดภาษีไวน์ สำหรับผู้ผลิตไวน์ในประเทศก็ได้ลดเล็กน้อย หลังจากขอมานานให้รัฐมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตไวน์ให้สมเหตุสมผล แต่อีกด้านผู้ประกอบการในประเทศต้องเจอกับภาพของการลดภาษีนำเข้าไวน์ ที่ภาครัฐต้องการฟื้นการท่องเที่ยว กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเกิดการใช้จ่าย และการปรับภาษีใหม่ซึ่งทำให้ไวน์แพงได้ประโยชน์”