T-Pop กลับมารุ่งเรือง 'มายด์แชร์' แนะแบรนด์ดึงอำนาจซื้อแฟนด้อมสายเปย์

T-Pop กลับมารุ่งเรือง 'มายด์แชร์' แนะแบรนด์ดึงอำนาจซื้อแฟนด้อมสายเปย์

กระแสไทยป็อป หรือ T-Pop กำลังเจริญรอยตาม K-Pop หรือแม้กระทั่งความคลั่งไคล้ญี่ปุ่นอย่าง J-Pop ซึ่งวงการบันเทิง ทั้งเพลง ไอดอล ศิลปินดารา ต่างหาแนวทางเพื่อแจ้งเกิดในตลาด และมี “โอกาส” มากขึ้นในเวทีธุรกิจ

พลังแฟนด้อมนั้นไม่ธรรมดา เพราะเป็น “สายเปย์” ที่พร้อมทุ่มเททุกอย่างเพื่อศิลปิน ไอดอล ดาราคนโปรด ทว่า ที่ผ่านมากระแสวัฒนธรรมเกาหลีร้อนแรงหรือ K-Pop เขย่าโลก จนเบียดทุกวงการ

ทว่า กระแสไทยป็อป หรือ T-Pop กำลังเจริญรอยตาม K-Pop หรือแม้กระทั่งความคลั่งไคล้ญี่ปุ่นอย่าง J-Pop ซึ่งวงการบันเทิง ทั้งเพลง ไอดอล ศิลปินดารา ต่างหาแนวทางเพื่อแจ้งเกิดในตลาด และมี “โอกาส” มากขึ้นในเวทีธุรกิจ

สุนิธิ เตชินีนรกุล ผู้จัดการการวางแผนกลยุทธ์ และ อริสรา รัตนโชติวิวัฒน์ ผู้จัดการการวางแผนกลยุทธ์บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย นำเสนอความรุ่งเรืองของ T-Pop ที่กำลังกลับมาเติบโตอีกครั้งในประเทศไทย และเริ่มขยายตลาดในยังนานาประเทศมากขึ้น

ย้อนยุคของ T-Pop ในประเทศไทย เฟื่องฟูมากคือช่วงที่มีตำนานนักร้องดังอย่าง “พี่เบิร์ด ธงชัย แมคอินไตย” ขับเคลื่อนสู่ยุคศิลปินเป็นวง ดีทูบี ไทรอัมส์ คิงดอม มีรายการทีวี ประกวดร้องเพลงต่างๆ ผลัดใบสู่ยุคคิขุอาโนะเนะ อย่างอาร์เอส ปั้นกามิกาเซ่ สร้างสีสันให้วงการเพลง กระทั่งปี 2543-2553 เริ่มเข้าสู่ยุคแผ่วลง แต่การพัฒนาการของ T-Pop ยังมีอยู่ต่อเนื่อง เพียงแต่ตลาดค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม มีศิลปินดังเช่น ลิปตา สแตมป์ อภิวัชร์ ที่กระแสไม่ตก เป็นต้น

T-Pop กลับมารุ่งเรือง \'มายด์แชร์\' แนะแบรนด์ดึงอำนาจซื้อแฟนด้อมสายเปย์

สุนิธิ เตชินีนรกุล - อริสรา รัตนโชติวิวัฒน์ 

ระยะหลัง T-Pop ศิลปินใส่ “ตัวตน” ในผลงานได้ชัดเจนขึ้น ทำให้ปัจจุบันวงการ T-Pop ได้กลับมาบูมอีกครั้ง จากหลายปัจจัย อย่างช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพลงไทย T-Pop บนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อก(TikTok)มีการติดแฮชแท็ก #T-Popเติบโตถึง 3 เท่า มีการใช้งานในระดับโลก(Global) 2,000 ล้านครั้ง เป็นของไทย 1,000 ล้านครั้ง ที่เหลือคือต่างประเทศ สะท้อนการเปิดกว้างรับเพลงไทยมากขึ้น

กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ #T-Pop มีทั้งศิลปิน และคนฟังเพลงไทย แต่เจาะลึกช่วงอายุ กลุ่มที่อายุระหว่าง 18-24 ปี สัดส่วนมากสุด 56% ตามด้วยอายุ 25-34 ปี สัดส่วน 31% และอายุ 35 ปีขึ้นไป สัดส่วน 13%

นอกจากแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกที่เปิดพื้นที่ให้ใช้เพลงหลากหลาย การมีแพลตฟอร์มสตรีมมิงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แอปเปิล มิวสิค สปอติฟาย เพลิน จูกซ์ ยูทูป ฯ รวมถึงความนิยมแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ล้วนทำให้เพลงไทย T-Pop เป็นที่รับรู้ในวงกว้างมากขึ้น

เมื่อเพลงไทย T-Pop กลับมามีชีวิตชีวา ทำให้แบรนด์หันมาเกาะกระแสในการทำตลาดมากขึ้น เพราะในเชิงการตลาด “ดนตรี” หรือ Music Marketing ยังเป็นอาวุธที่เจาะผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างดี ซึ่งนาทีนี้ แบรนด์สินค้าหลายเซ็กเตอร์ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค อสังหาริมทรัพย์ การสื่อสารและโทรคมนาคม หันมาพึ่งพลังเพลงไทย T-Pop เพื่อเจาะฐานแฟนคลับมากขึ้น

T-Pop กลับมารุ่งเรือง \'มายด์แชร์\' แนะแบรนด์ดึงอำนาจซื้อแฟนด้อมสายเปย์ ต่อยอดเพลงไทย T-Pop สู่สินค้า

มิติการทำตลาด ยังมีการเข้าไปเป็นผู้สนับสนุน(Sponsorship) เพื่อเชื่อมโยงแบรนด์กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เช่น เทศกาลดนตรี บิ๊กเมาน์เท่น 12 สนับสนุนโดยยักษ์น้ำดำ “เป๊ปซี่” การนำผลิตภัณฑ์ไปวางประกอบในฉากหรือพื้นที่ต่างๆ (Product placement) โดยเติมความคิดสร้างสรรค์ลงไปในการสร้างการรับรู้ เพื่อให้คนดูมีอารมณ์ร่วม และไม่คาดคิดว่าจะได้เห็นโฆษณานั้นๆ รวมถึงการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์(Merchaindise) สร้างโอกาสทางการตลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ

กรณีศึกษาที่น่าสนใจในการใช้กระแสฮิต คือ K-Pop เมื่อร้านกาแฟเครือข่าย(เชน)ระดับโลกอย่าง “สตาร์บัคส์” คอลแลปกับ “แบล็คพิงก์” ออกทัมเบลอร์คอลเลกชั่นพิเศษ ขายหมดเกลี้ยงอย่างรวดเร็ว หรือบิ๊กค้าปลีก “โลตัส” จัดแคมเปญ Gold Expo 17 ดึง “คิม ซู-ฮย็อน” มาเป็นแม่เหล็กเอาใจแฟนด้อมเพื่อสัมผัสกิจกรรม Meet&Greet สายเปย์ทุ่มเงินสูงสุดถึง 4.7 ล้านบาท เพื่อให้ได้สิทธิ์ร่วมกิจกรรม ยอดรวมทะลุ 28 ล้านบาท ส่วนปีนี้โลตัสดึง “พัค ซอ-จุน” มาเป็นแม่เหล็ก ทำให้แฟนด้อมสายเปย์ควักกว่า 19 ล้านบาทซื้อทองเพื่อเข้าร่วม Meet&Greet ยอดรวมถล่มทลายกว่าปีก่อนมากๆ

T-Pop กลับมารุ่งเรือง \'มายด์แชร์\' แนะแบรนด์ดึงอำนาจซื้อแฟนด้อมสายเปย์ ปีก่อน Gold Expo แฟนคลับสายเปย์สูงสุด 4.7 ล้านบาท ปีนี้ Top Spender เปย์ทะลุ 19 ล้านบาท 

“มุมมองมายด์แชร์ต่อเพงไทย T-Pop สามารถสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสื่อ ในแง่ที่ผู้บริโภคสามาถเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้มากขึ้นผ่าน การสร้างสรรค์คอนเทนต์เองหรือUser Generated Content โอกาสของแบรด์และนักการตลาด ทั้งในแง่การใช้ตัวศิลปินเป็นพรีเซ็นเตอร์และการเข้าถึงฐานแฟนคลับของศิลปิน รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค หากมีนโยบายจากภาครัฐในการผลักดันไทยได้เป็นศูนย์กลางทางดนตรีและคอนเสิร์ตจะสามาถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล”