SX2023ปลุกทศวรรษแห่งการลงมือทำ สุเมธแนะเตรียมรับมือGlobal boiling

SX2023ปลุกทศวรรษแห่งการลงมือทำ  สุเมธแนะเตรียมรับมือGlobal boiling

5 องค์กรใหญ่ต้นแบบด้านความยั่งยืนระดับโลก ชวนคนไทยรวมพลังสร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สานทศวรรษแห่งการลงมือทำ หรือ Dacade of Action ตามแนวทางสหประชาชาติ สร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า “สุเมธ”ชี้โลกกำลังเตือนทุกคน แนะรับมือ Global boiling“

มหกรรมความยั่งยืนใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน “Sustainability Expo 2023” หรือ SX2023 เปิดงานอย่างเป็นทาง วานนี้ (2 ต.ค.)  ซึ่งปีนี้มาพร้อมกับภารกิจการสร้าง “สมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า” หรือ Good Balance, Better World และตอกย้ำแนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability) ที่น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy-SEP) ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมาเป็นแนวทางในการจัดงาน

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานอำนวยการ Sustainability Expo 2023 เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเอกชน ภาคธุรกิจชั้นนำให้ความสำคัญกับการบริหารความยั่งยืนอย่างยิ่ง พร้อมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพเพียงมาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน

SX2023ปลุกทศวรรษแห่งการลงมือทำ  สุเมธแนะเตรียมรับมือGlobal boiling ขณะที่การจัดงาน Sustainability Expo 2023 ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่ที่ติดทำเนียบดัชนีความยั่งยืนระดับโลกอย่าง Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI ให้ความสนใจกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง ทั้งพัฒนา สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการต่างๆ รวมถึงปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกให้คนไทยมีจิตใจที่พร้อมร่วมมือกันสร้างความยั่งยืนเพื่อโลกใบนี้ให้น่าอยู่ สดใสกับทุกคน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่ต้องการให้เป็นทศวรรษแห่งการลงมือทำ หรือ Dacade of Action ตั้งแต่ปี 2563-2573

“ถ้าสหประชาชาติเป็นตัวแทนของโลกทั้งใบ และมีข้อตกลงกับทั่วโลกผ่านข้อตกลงต่างๆ เช่น ข้อตกลงปารีสหรือ Paris Agreemen ในการจะทำให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มมากเกินไป ซึ่งจะมีการหารือกับทุกรัฐบาล ประเทศสมาชิกที่เป็นส่วนหนึ่งของโลก แต่ท้ายที่สุดภารกิจรักษ์โลกจะกลับมายังปัจเจกบุคคล กระตุ้นให้ทุกคนรู้สึกอยากมีโอกาสในการสร้างประโยชน์ให้โลก โดยการไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี พื้นที่สีเขียว สร้างระบบนิเวศที่จำเป็นกับโลกใบนี้ การคิดกว้างแค่ไหน สุดท้ายต้องกลับมายังจุดที่เล็กที่สุดคือเริ่มลงมือทำที่ตัวเราเอง”

  • 5 บิ๊กคอร์ปธงนำเคลื่อนความยั่งยืน

นอกจากกระตุ้นให้ทุกคนลงมือรักษ์โลก แต่จุดเด่นของงาน SX2023 ยังมี 5 องค์กรธุรกิจชั้นนำทั้ง ไทยเบฟเวอเรจ เอสซีจี ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป พีทีที โกลบอล เคมิคอล และเฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ร่วมกับเครือข่ายต่างๆ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และอีกหลายองค์กรมาสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกเพศทุกวัยรวมพลังสร้างความยั่งยืนเพื่อโลกด้วย

“องค์กรธุรกิจไม่มีใครเก่งกว่ากัน แต่เรานำสิ่งที่เรารู้ เข้าใจและมีความถนัดอยู่บ้างมาแลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจ และรวมพลังเพื่อพัฒนาสิ่งดีๆให้สังคม และโลกใบนี้ เพราะการทำธุรกิจ การค้าการลงทุนของเราไม่ได้อยู่แค่ในไทย ปัจจุบันเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน และอาเซียนบวก 3 อาเซียนบวก 6 เอเชียแปซิฟิกและเกี่ยวโยงการค้าเสรีต่างๆด้วย”

นายฐาปน กล่าวอีกว่า งาน SX2023 ได้ชูการสมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า เนื่องจากตระหนักว่าการสร้างความยั่งยืนต้องอยู่ภายใต้ความสมดุล อะไรที่สุดโต่งมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นดีสุด มากสุดอาจสร้างผลกระทบทั้งความกดดันให้กับผู้คนอีกฝ่าย แต่ควรเน้นสร้างประโยชน์ให้ผู้อื่นมากขึ้น

  • ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืน

ภายในงานยังมีการแสดงปาฐกถาพิเศษ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ Decade of Action” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา

SX2023ปลุกทศวรรษแห่งการลงมือทำ  สุเมธแนะเตรียมรับมือGlobal boiling ดร.สุเมธ กล่าวว่า ภาคเอกชนดำเนินกิจกรรม Sustainability Expo จากปี 2565 มาถึงปี 2566 เป็นเวลา 12 เดือนแล้ว มีพันธะสัญญาอะไรบ้างที่ให้ไว้ในการทำสิ่งต่างๆ เพื่อรักษาโลก และทำให้เป็นโลกที่ดีกว่าเดิม หรือ Better world เพราะปัจจุบันมีหลายอย่างที่เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งเทคโนโลยี ดิจิทัล ฯ สร้างความมหัศจรรย์ใจให้กับผู้คนอย่างยิ่ง

แม้โลกจะก้าวหน้า หากเหลียวหลังกลับมามองชีวิต สิ่งสำคัญพื้นฐานยังเป็นเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือธรรมชาติ ที่วันนี้กำลังเผชิญภัยที่รุนแรงขึ้น อย่างล่าสุดน้ำท่วมที่จังหวัดสุโขทัย ต้องเร่งระบาย สูบน้ำออกให้เร็วสุด ขณะเดียวกันมีประกาศไทยกำลังจะเผชิญภัยแล้ง สะท้อนการบริหารจัดการอย่างจริงจังหรือไม่ อีกฟากของโลก สหรัฐฯ เผชิญน้ำท่วมใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นต้น โดยภัยธรรมชาติดังกล่าวเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่ามนุษย์ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้

“หากระดมปัญหาเหล่านี้ขึ้นมา หาทางออก และลงมือปฏิบัติ ซึ่งไม่ใช้ภารกิจของคนไทยเท่านั้น เพราะคนทั่วทุกมุมโลกกำลังเจอปัญหาลักษณะเดียวกันหมด”

ในการสร้างจิตสำนึก นำไปสู่การกระทำด้านความยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วงคือความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไข คือองค์ความรู้และคุณธรรม

“การประมาณตนคืออย่าทำอะไรเกินตัว เกินศักยภาพตนเอง ทั้งกายภาพ ทุนทางปัญญา ความมีเหตุผลคือทำอะไรต้องคิดจากสติปัญญา ต้องมีเหตุผล และภูมิคุ้มกันคือบริหารความเสี่ยง การจะทำสิ่งใดจะต้องมีองค์ความรู้ ส่วนคุณธรรม แปลเป็นภาษาชาวบ้านคืออย่าโกง ซึ่งสถานการณ์ทุจริต คอรัปชั่นของไทยดีขึ้นไหม ขอทิ้งไว้แค่นี้”

อย่างไรก็ตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนเองของประชาชนในทุกระดับ ขณะที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนสิ่งสำคัญควรนึกถึงประโยชน์เป็นหลักไม่ใช่ความร่ำรวยเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุข

  • “สุเมธ”เตือนรับมือ Global boiling

มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “การบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” เพื่อให้การพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำของประเทศมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงต่อความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วน ภายในงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023)

SX2023ปลุกทศวรรษแห่งการลงมือทำ  สุเมธแนะเตรียมรับมือGlobal boiling นายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กล่าวเปิดงาน “Action Together for a Better Thailand: เทิด ด้วย ทำ ประเทศไทยยั่งยืน” ว่า สถานการณ์โลกเริ่มจาก Global Warning คือ โลกเตือนเรามาก่อนแล้ว ต่อมาคือ Global Warming สภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นตามฤดูกาล และปีนี้ทุกคนต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ของโลกที่เป็น Global Boiling

ทั้งนี้ ไทยมีบทเรียนที่สำคัญจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งได้พระราชทานแนวทางไว้หมดแล้ว ตั้งแต่นภา ผ่านภูผา จนถึงมหานที โดยมีตัวอย่างพื้นที่จริงให้เห็น ฉะนั้นทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ต้องร่วมมือกันดำเนินตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้คนรุ่นต่อไป

“จากการน้อมนำแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติจนเห็นความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า และทำให้เกิดพื้นที่ตัวอย่างเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริแล้ว 26 แห่ง นับเป็นความสำเร็จที่ชุมชนดำเนินงานจากล่างขึ้นบน แก้ปัญหาพื้นที่แบบพึ่งตนเอง”

ทั้งนี้ โครงการต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดจากเขาหัวโล้นเป็นวนเกษตร และปัจจุบันมีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี โดยมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ร่วมกับชุมชน 1,800 หมู่บ้าน บริหารจัดการน้ำทำให้ได้เห็นพัฒนาการชุมชนเข้มแข็ง มีระบบคิด ระบบงาน ระบบจัดการ เครือข่ายความร่วมมือที่จะขยายผล ทำงานตามแนวพระราชดำริให้เกิดความยั่งยืน

นายสุเมธ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้สืบเนื่องจากการเห็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบสถานการณ์น้ำของประเทศในปัจจุบัน ทั้งปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง โดยความร่วมมือนี้จะพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำของประเทศให้เกิดเสถียรภาพและมีความมั่นคงต่อความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม

  • “ยูเอ็น”หนุนไทยลดคาร์บอน

นางสาวกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานประจําสหประชาชาติในประเทศไทยกล่าวในงาน เสวนา “Sustainable World for All” ในงาน sx sustainbiityexpo 2023 ว่า สหประชาชาติ (UN) ต้องจัดการเชื่อมภาครัฐมาร่วมกับชุมชนจึงจะสามารถดำเนินนโยบายได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

SX2023ปลุกทศวรรษแห่งการลงมือทำ  สุเมธแนะเตรียมรับมือGlobal boiling อย่างประเทศไทย ที่กำหนดนโบาย BCG ซึ่งเป็นภาพที่เห็นได้ชัดมากที่สุดในเรื่องของความยั่งยืน โดย UN สนับสนุน ภาครัฐบาลให้มีนโยบายสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามแผน โดยที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ด้วยการลดความยากจน และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมถึงเป้าหมายการลดคาร์บอน ในภาคต่างๆโดยเฉพาะภาคการเกษตรให้ลดคาร์บอนหรือแม้แต่ส่งเสริมการเงินกู้สีเขียวให้ประชาชนมีการเข้าถึงในง่ายขึ้น

การเป็นส่วนหนึ่งของตลาดคาร์บอน เช่นแยกขยะสามารถแปลงแปลงเป็นคาร์บอนเครดิตได้ นอกจากนี้ UN ก็ต้องสนับสนุนภาคเอกชนให้พยามที่ทำเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นพรวดเร็ว และทำให้กำไรสุทธิในภาคธุรกิจมีมากยิ่งขึ้น

นางสาวนิคกี้ คลาร่า Womenpreneur สําหรับผู้ทุพพลภาพและผู้ก่อตั้ง Berdayabareng กล่าวว่า ประเทศอินโดนีเซียมีประชากร 273.8 ล้านคน ซึ่งประชากรจำนวนมากต้องมีการจัดความร่วมมือและต้องใส่ใจที่ตัวบุคคลและทุกคนต้องมีความรู้เรื่องของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมถึงทุกคนต้องบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาโดยเริ่มที่ตัวบุคคลเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่สุดคือให้ความตระหนักรู้ให้กับทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน

โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการและผู้หญิง แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจทั้งหมด จึงต้องค่อยๆส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่างๆให้เข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างลึกซึ้ง ตลอดถึงรัฐบาลเอกชน รวมถึงสื่อและนักวิชาการ ความตระหนักรู้ให้กับประชาชนเป็นส่วนสำคัญและยั่งยืนต่อไป

นายมาไตอา คีปา ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเมารี กล่าวว่า ต้องมองว่าโลกในยุคใหม่โดยต้องตระหนักในเรื่องของการศึกษา รวมถึงผลัดดันเรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นหลักสูตรของชาติ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่างๆของสิ่งแวดล้อม

รวมถึงช่วยชุมชนในการขับเคลื่อน และ UN เข้ามามีส่วนร่วมสำคัญต้องสนับสนุนความยั่งยืนและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้มีการเกิดขึ้นจริง