‘คาราบาว-ตะวันแดง’ 2 ยี่ห้อเบียร์ จาก 'เสถียร' เจ้าพ่อน้ำเมาคนใหม่!

‘คาราบาว-ตะวันแดง’  2 ยี่ห้อเบียร์ จาก 'เสถียร' เจ้าพ่อน้ำเมาคนใหม่!

ฤกษ์ยามงามดี วันที่ 9 เดือน 9 เจ้าพ่อน้ำเมาคนใหม่ "เสถียร" ปล่อยเบียร์ 2 ยี่ห้อ คือ "คาราบาว" และ "ตะวันแดง" จำนวน 4 รายการ(เอสเคยู) ลงตลาดอย่างเป็นทางการ ลุ้นคอทองแดงโดนใจมากน้อยแค่ไหน ต้องติดตาม

ประกาศลงทุนใหญ่ด้วยเม็ดเงิน 4,000 ล้านบาท เพื่อโดดลงสนามน้ำเมาหมวด “เบียร์” ลงกระป๋อง ล่าสุดจากเจ้าพ่อเครื่องดื่มชูกำลัง สู่ว่าที่เจ้าพ่อน้ำเมาคนใหม่ “เสถียร เสถียรธรรมะ” ประธานกรรมการ บริษัท ตะวันแดง 1999 จำกัด และแม่ทัพใหญ่แห่ง “คาราบาว กรุ๊ป” ก็ถือฤกษ์ยามงามดี วันที่ 9 เดือน 9 ปล่อยเบียร์ 2 ยี่ห้อ 4 รายการ(เอสเคยู) ลงตลาดอย่างเป็นทางการ

สำหรับ 2 เบียร์ยี่ห้อใหม่ ได้แก่ “คาราบาว” และ “ตะวันแดง” โดยผลิตภัณฑ์ยังคงเป็นไปตามที่ “เจ้าพ่อเสถียร” เคยเล่าว่า จะทำเบียร์ประเภท “ลาร์เกอร์” 100% มอลล์ และอีกตัวคือ เบียร์ ดังเคล(Dunkle) หรือเบียร์ดำ โดยลาร์เกอร์ 2 ตัวใช้แบรนด์แกร่ง “คาราบาว”

ขณะที่อีก 2 ตัว คือ เบียร์ประเภท “ไวเซ่นส์” หรือเบียร์จากวัตถุดิบข้าวสาลี และอีกตัวคือเบียร์โรเซ่(Rose) เป็นวีทเบียร์ผสมราสเบอร์รี่ โดยใช้แบรนด์ “ตะวันแดง” ที่สะท้อนจุดเด่นจากการเป็นโรงกลั่นเบียร์เฉพาะตัวมาชูโรง

  • เหตุผล “เสถียร” ลุยเบียร์

ย้อนเหตุผลของการที่เจ้าพ่อเสถียร ต้องลุกขึ้นมาทำเบียร์ลงบรรจุภัณฑ์กระป๋อง ขวดแก้ว ทั้งที่อาณาจักรของเขามี “โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง" ที่ยืนหยัดทำตลาดยาวนานกว่า 20 ปี เพราะต้องการสร้าง “อำนาจต่อรอง” ในการค้าขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำเมาประเภทอื่น ที่มีในพอร์ตโฟลิโอ ของ "ตะวันแดง 1999"  ไม่ว่าจะเป็นสุราสี วิสกี้ ฯ

‘คาราบาว-ตะวันแดง’  2 ยี่ห้อเบียร์ จาก \'เสถียร\' เจ้าพ่อน้ำเมาคนใหม่! น้ำเมาเหล่านั้นต้องจำหน่ายผ่านช่องทาง “On-Premise” หรือร้านอาหาร ผับ บาร์ สถานบันเทิง สำหรับนักท่องราตรีต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปช่องทางขายนี้จะมีสัดส่วนใหญ่สุดเกินกว่า 60-70% ขึ้นไป

“พอเราทำเหล้า เป็นไฟต์บังคับให้ต้องทำเบียร์ เพราะถ้าไม่มีเบียร์ โอกาสโตยาก เนื่องจากเหล้าสี เทนโดะ วิสกี้ หรือแทยังโซจู ต้องขายใน On-Premise แต่ช่องทางเหล่านี้ขายเบียร์เยอะสุด เราต้องทำเบียร์เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง” เสถียร เคยกล่าวให้กรุงเทพธุรกิจฟัง

  • ขุมทรัพย์เบียร์กว่า 2 แสนล้านบาท

ตลาดน้ำเมานั้นใหญ่มาก และผู้เล่น 2 รายสำคัญ อย่างบุญรอดบริวเวอรี่ หรือค่ายสิงห์ ของตระกูล “ภิรมย์ภักดี” ปัจจุบันอาณาจักรยิ่งใหญ่กว่า 9 ทศวรรษ เพราะมีธุรกิจเบียร์ทำเงินมหาศาลหลัก “แสนล้านบาท” ต่อปี

เศรษฐีใหม่ขึ้นทำเนียบ “เจ้าสัว” ได้ในเวลาไม่กี่สิบปีอย่าง “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” แห่งไทยเจริญคอร์ปอเรชั่นหรือทีซีซี กรุ๊ป มีรากฐานจากธุรกิจ “น้ำเมา” เช่นกัน ภายใต้ “ไทยเบฟเวอเรจ” หรือค่ายเบียร์ช้าง ปัจจุบันทำเงินกว่า 2.7 แสนล้านบาทในปี 2565 กำไรอีกหลายหมื่นล้านบาท

ดูเฉพาะรายได้ 2 บิ๊กเนม “สิงห์-ช้าง” รายได้สิงห์ทะลุ 1 แสนล้านบาท และบริษัทเคยมองรายได้ทะยานสู่ 2 แสนล้านบาทต่อไป ส่วนช้างในปี 2565 เบียร์ทำเงินถึง 1.22 แสนล้านบาท สะท้อนถึงขุมทรัพย์น้ำเมาสีอำพันก้อนโตกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ยังมีบิ๊กเบียร์ และแบรนด์อื่นๆในตลาด เช่น ไฮเนเก้น บัดไวเซอร์ ฮูการ์เด้น จับจองตู้แช่ เป็นต้น

‘คาราบาว-ตะวันแดง’  2 ยี่ห้อเบียร์ จาก \'เสถียร\' เจ้าพ่อน้ำเมาคนใหม่!

  • ทำเครื่องดื่มชูกำลัง-ค้าปลีก-เหล้า ชี้ช่องลง “แข่งขัน”

เจ้าพ่อเสถียร ทำธุรกิจไม่นาน เริ่มต้นจากเครื่องดื่มชูกำลังกว่า 2 ทศวรรษ การโดดลงสนามดังกล่าว ต้องท้าชน “ยักษ์ใหญ่” อย่างกระทิงแดง และ เอ็ม-150 แต่การสร้างสรรค์สินค้าโดนใจกลุ่มเป้าหมาย พร้อมอาวุธการตลาดครบครัน ทำให้ก้าวเป็นผู้เล่นคนสำคัญ

ขณะเดียวกันยังก้าวสู่สมรภูมิค้าปลีก ที่ชน “ทุนบิ๊กเบิ้ม” ทั้งกลุ่มเซ็นทรัล ของตระกูล “จิราธิวัฒน์” กลุ่มบิ๊กซี “สิริวัฒนภักดี” และกลุ่มแม็คโคร โลตัส เซเว่นอีเลฟเว่นของตระกูล “เจียรวนนท์” ซึ่งการทำ “ซีเจ” ค้าปลีกที่ให้บทเรียนมากมาย ยิ่งกว่านั้นการทำ “เหล้า” ได้เปิดมุมคิดพร้อมตั้งคำถามว่าการทำธุรกิจ ประเทศไทยจะมีผู้เล่นเพียงน้อยรายเท่านั้นหรือ

การเดินเกมต่อกรยักษ์ใหญ่ หรือมุ่งเป็นแจ๊ค ผู้ล้มยักษ์ แต่มิติของ “เสถียร” ยังมองว่าการ “แข่งขัน” ในสมรภูมิการค้าเป็นเรื่องปกติที่มีอยู่แล้ว การโดดสู่สนามแต่ละครั้งไม่คิดว่าจะต้องแข่งขันกับ “ใคร” แต่มอง “โอกาส” เป็นสำคัญ

“ถ้าคิดว่าแข่ง อาจกลัวเขา(คู่แข่ง)ก่อน ตอนทำสุรามองว่าตลาดในประเทศจะมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวเหรอ น่าจะมีโอกาสให้กับเราเช่นกัน”

สำหรับพอร์ตโฟลิโอน้ำเมาของ “เสถียร” ภายใต้ บริษัท ตะวันแดง 1999 จำกัด มีตั้งแต่ สุราขาว สุราสี บรั่นดี วิสกี้ญี่ปุ่น โซจู และเบียร์ เป็นต้น