ไม่ตลก! ที่ไทยสร้างแบรนด์ไม่เป็น แนะต่อยอด ‘กางเกงช้าง’ สร้างมูลค่าเพิ่ม

ไม่ตลก! ที่ไทยสร้างแบรนด์ไม่เป็น  แนะต่อยอด ‘กางเกงช้าง’ สร้างมูลค่าเพิ่ม

การสร้างแบรนด์เป็นหัวใจสำคัญ เพราะช่วยให้ "สินค้า" เป็นที่จดจำแก่ผู้บริโภค หากแบรนด์เป็นที่รู้จัก(Awarensess) ได้การยอมรับ ครองใจกลุ่มเป้าหมาย(Top of mind) ย่อมยินดีควักเงินจ่ายให้สินค้า ไทยมี "กางเกงช้าง" ยอดฮิต จะทำอย่างไรให้ปัง! ทำเงินยิ่งขึ้น กูรูตลาดมีข้อแนะนำ

“กางเกงช้าง” หรือกางเกงผ้าฝ่ายที่พิมพ์ลายช้างสารพัดรูปแบบ กลายเป็นสินค้าหรือไอเทมสุดฮิตของนักท่องเที่ยว หรือเกือบเรียกได้ว่าเป็นยูนิฟอร์มที่นักเดินทางมาเยือนไทยแล้วต้องซื้อสวมใส่เป็นกลุ่มก้อนเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ยังได้เห็นบรรดาเหล่าคนดังหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น นักเตะดังของสโมสร “ลิเวอร์พูล” ทีมงาน Lost in Thailand ที่ต่างเคยสวมใส่กางเกงช้างแล้วทั้งสิ้น

ภายใต้ความนิยมดังกล่าว ไทยควรสร้างโอกาสต่อยอด Soft Power วางกลยุทธ์ ทำการตลาด “สร้างแบรนด์” และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าดังกล่าวได้

  • ทำแบรนด์ไม่เป็น ต้องเสียใจ ไม่ใช่หัวเราะ!

กรณีศึกษา “สินค้าไทย” ที่สร้างแบรนด์ไม่เป็นมีอยู่ไม่น้อย และพลาดโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำเงิน กลับกัน แบรนด์ระดับโลกที่ปิ๊งไอเดีย กลับนำไปต่อยอด สร้างสรรค์แฟชั่นคอลเล็กชั่นใหม่ๆ และจำหน่ายราคาหลักหมื่นบาท มีให้เห็นไม่น้อย อย่างถุงกระสอบหลากสีสันจากย่านสำเพ็ง ตะกร้าจ่ายตลาด หรือแม้แต่กระเป๋าคลัทช์เก๋ๆ ที่ลวดลายคล้ายพรมเช็ดเท้า เป็นต้น

ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มุมมองว่า สินค้าเดียวกัน เมื่อใส่คำว่า “แบรนด์” ลงบนโปรดักท์ ยิ่งแบรนด์ดังย่อมทำเงินราคาหลัก “หมื่นบาท” ต่อชิ้น กลับกัน สินค้าเดียวกันเมื่อ “ไม่มีแบรนด์” หรือสร้างแบรนด์ไม่เป็น อาจขายได้เพียงหลักสิบ หลักร้อยบาทเท่านั้น

“คนไทยเก่งทำสินค้า ไม่เก่งทำแบรนด์ บางคนมีมุมมอง..ตลกจัง! ที่แบรนด์ดังนำถุงกระสอบไปเดินแฟชั่น ขายราคาหลักหมื่น แต่ของเราขาย 80 บาท ในมุมคนทำแบรนด์เราผิดนะ และต้องเสียใจ ไม่ใช่หัวเราะ”

ไม่ตลก! ที่ไทยสร้างแบรนด์ไม่เป็น  แนะต่อยอด ‘กางเกงช้าง’ สร้างมูลค่าเพิ่ม

  • ต่อยอด สร้างแบรนด์ให้ได้

เช่นกัน เมื่อกางเกงช้างดัง ไทยไม่ควรปล่อยโอกาสทองให้หลุดลอย นอกจากต้องสร้างแบรนด์ให้เกิด ยังต่อยอดสู่ Soft Power ผสาน 5F(Food Fashion Film Figthing Festival)ให้ทรงพลังยิ่งขึ้นด้วย

เช่น การนำกางเกงช้าง ที่เป็น “แฟชั่น” ไปอยู่ในเทศกาลต่างๆของเมืองไทย สวมใส่สร้างความสนุกสนานในงานเทศกาลต่างๆ นำเข้าไปอยู่ในภาพยนตร์ หากมุก มุมเล่าเรื่องเกี่ยวกับกางเกงช้างใส่สบายจัง ฯ เพื่อให้เกิดการกระจาย Soft Power จาก F แรกคือ Fashion ไปยัง F ตัวอื่นๆ

ทั้งนี้ การผลักดันกางเกงช้างให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่หน้าที่ของภาคการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีส่วนร่วมได้ ตลอดจนสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เช่น นำกางเกงช้างมอบให้กับผู้ที่มาเยือนเมืองไทยทั้งประชุม สัมมนา ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ฯ (MICE) เนื่องจากต้นทุนของกางเกงช้างถือว่าค่อนข้างต่ำ หากเทียบกับการแจกหรือให้ของที่ต่างชาติไม้รู้จัก ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

  • หาช่อง Collabs แบรนด์โลกเพิ่มมูลค่า

การเล่าเรื่องหรือ Storytelling เป็นอีกสิ่งที่ทำได้ เพราะกางเกงช้างผลิตจากผ้าฝ้าย การปั่นฝ่าย ทอผ้า ตลอดจนยกพิมพ์ลาย เกิดจากภูมปัญญาไทย ที่นำไปขยายความต่อ สร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันกางเกงช้างมีราคาค่อนข้างต่ำ แต่นักการตลาด หากสร้างแบรนด์ และการสร้างมูลค่าเพิ่มสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ “ผู้นำ” สวมใส่ ที่สำคัญหาโอกาสในการใช้กลยุทธ์ความร่วมมือหรือ Collaboration : X กับแบรนด์ระดับโลก

ไม่ตลก! ที่ไทยสร้างแบรนด์ไม่เป็น  แนะต่อยอด ‘กางเกงช้าง’ สร้างมูลค่าเพิ่ม

ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล - ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ

  • ชูจุดเด่นกางเกงช้างสร้างแบรนด์แกร่ง

การทำตลาด แน่นอนว่าต้องงัดของดี หรือจุดแข็งของผลิตภัณฑ์สร้างการรับรู้ ชูเพื่อดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ซึ่ง ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ฉายภาพว่า กางเกงช้างของไทย จุดเด่นเริ่มจากโปรดักท์ ที่มีลวดลายสัตว์คู่บ้านคู่เมืองอย่าง “ช้าง” มาพิมพ์ ตอกย้ำให้นักท่องเที่ยวรับรู้ ตามด้วยการสวมใส่สบาย เหมาะกับเมืองร้อน หรือแม้กระทั่งฝนตก ตากแล้วแห้งเร็ว

ด้าน “ราคา” ยังเอื้อมถึงง่ายด้วย นอกจากนี้ ยังใช้ได้ทุกโอกาส เช่น กรณีที่นักท่องเที่ยวไปสถานที่ต่างๆ เช่น วัด พระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีกฎระเบียบด้านการแต่งกาย ด้วยการพกพาง่ายแล้ว ยังสามารถเปลี่ยน สวมใส่ได้ทันที

สำหรับนักท่องเที่ยว จะต่างชาติมาเยือนไทย หรือคนไทยเดินทางไปประเทศต่างๆ หนึ่งในกิจกรรมที่อยากทำ คือการแต่งกายด้วยชุดประจำชาติ เช่น ไปญี่ปุ่นต้องสวมชุดกิโมโน ชุดยูกาตะ ไปเกาหลีใต้ ต้องสวมใส่ชุดฮันบก ฯ เพื่อถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

“เราสามารถทำกางเกงช้าง หรือนำสัตว์เลี้ยงยอดนิยมแล้วใส่แบรนด์ดิ้งเข้าไป ซึ่งการต่อยอดไม่ได้แค่ช่วยโปรโมทวัฒนธรรม ความด็นไทยต้องยังเชื่อมโยงไปยังสินค้าอื่นๆ เช่น ยาดม ยาหม่อง เพื่อเจาะนักท่องเที่ยวได้ด้วย เรามีของดีอยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือการใส่แบรนด์ดิ้ง