ทุ่ม 600ล้านขยายโรงหนัง 'เมเจอร์ฯ' ดัน ‘ป๊อปคอร์น’ ดาวรุ่งปั๊มรายได้ต่อ

ทุ่ม 600ล้านขยายโรงหนัง 'เมเจอร์ฯ'  ดัน ‘ป๊อปคอร์น’ ดาวรุ่งปั๊มรายได้ต่อ

โรงหนังยังไม่ฟื้นเต็มร้อย แต่ "ป๊อปอคอร์น" โตวันโตคืน "เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์" ยังเร่งขยายคีออสให้มากขึ้น ปีนี้เห็นการ Collab พันธมิตร 4-5 โปรเจค ออกสินค้าใหม่ เติมความหลากหลายช่องทางร้านสะดวกซื้อ

“เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” โรงหนังเบอร์ 1 กลับมาขยายธุรกิจเชิงรุก ขานรับสถานการณ์ธุรกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผ่านพ้นครึ่งปี 2566 เสาหลักสำคัญต่างเติบโตถ้วนหน้า โดยไตรมาสแรกยอดขายตั๋วหนัง ป๊อปคอร์น เครื่องดื่ม การโฆษณาในโรงภาพยนตร์ คาราโอเกะและโบว์ลิ่งล้วนเป็นกราฟบวก มีเพียงคอนเทนต์ภาพยนตร์ที่ยังแผ่วเล็กน้อย

ฐิตาภัสร์ อิสราพรพัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงินและบัญชี และ ศุภารี จายะภูมิ ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ และความยั่งยืน บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด(มหาชน) ฉายภาพว่า ปี 2566 แนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจบริษัทเดินหน้าใช้งบลงทุนปกติ(CAPEX)ราว 600 ล้านบาท แบ่งเป็นขยายโรงภาพยนตร์อีกราว 40 โรง ซึ่งปัจจุบันลงทุนราว 6-7 ล้านบาทต่อโรง เทียบอดีตใช้เงินทุนราว 10-12 ล้านบาทต่อโรง

นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่เปิดให้บริการเกิน 5 ปี จึงยกเครื่องเก้าอี้นั่ง ระบบฉายใหม่จากดิจิทัล เป็นเลเซอร์ เพิ่มความคมชัด ตลอดจนเสียง เพิ่มอรรถรสและสร้างประสบการณ์ดูหนังให้ลูกค้า ซึ่งในส่วนนี้คาดใช้เงินไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี

ปัจจุบันเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มีโรงภาพยนตร์ให้บริการแก่ลูกค้าทั้งสิ้น 178 สาขา รวม 825 โรง แบ่งเป็นในไทย 779 โรง และต่างประเทศ 46 โรง โดยในไทยมีสาขาครอบคลุม 64 จังหวัด จาก 77 จังหวัด ซึ่งการเปิดสาขาใหม่ยังคงเกาะ “แลนด์ลอร์ด” ค้าปลีกทั้งโลตัส และบิ๊กซี เนื่องจากมีการเปิดสาขาใหม่ และเจาะกลุ่มเป้าหมายถึงระดับ “อำเภอ” ด้วย

ทุ่ม 600ล้านขยายโรงหนัง \'เมเจอร์ฯ\'  ดัน ‘ป๊อปคอร์น’ ดาวรุ่งปั๊มรายได้ต่อ เมื่อรวม 2 ผู้เล่นใหญ่โรงหนัง ตลาดมีจำนวนโรงฉายทั้งสิ้น 1,204 โรง ซึ่งเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มีส่วนแบ่งตลาด 70% คู่แข่งสำคัญ 29% และอื่นๆ 1%

อย่างไรก็ตาม แม้โควิด-19 คลี่คลายขึ้นมาก แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมโรงภาพยตร์ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเต็มร้อย หรืออยู่ราว 80% เมื่อเทียบปี 2562

ขณะที่ธุรกิจ “ป๊อปคอร์น” และเครื่องดื่มที่จำหน่ายหน้าโรงภาพยนตร์(Consession)ยังคงเป็น “ดาวรุ่ง” สร้างการเติบโต และขยายโอกาสทำเงินนอกโรงหนังด้วย ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เกิดจากการปรับตัวช่วงโควิด-19 ระบาด แผนงานครึ่งปีหลัง บริษัทยังเดินเกมรุกทั้งให้บริการเดลิเวอรี่ เสิร์ฟความอร่อยถึงบ้าน ทำให้การเติบโตยัง “แข็งแกร่ง” รวมถึงการเพิ่มจุดจำหน่ายหรือคีออสให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

นอกจากนี้ จะเห็นกลยุทธ์ความร่วมมือหรือ Collaboration กับพันธมิตร 4 -5 ราย เพิ่มมูลค่าให้กับป๊อปคอร์น พร้อมออกสินค้าใหม่ที่มีรสชาติหลากหลายขึ้น เพื่อจำหน่ายในช่องทางร้านสะดวกซื้อแบบเอ็กซ์คลูสีฟ

ทุ่ม 600ล้านขยายโรงหนัง \'เมเจอร์ฯ\'  ดัน ‘ป๊อปคอร์น’ ดาวรุ่งปั๊มรายได้ต่อ “ป๊อปคอร์นเห็นการฟื้นตัวเร็วสุดในบรรดาธุรกิจหลัก โดยป๊อปคอร์นที่จำหน่ายในโรงหนังยังเติบโตได้อีกมากในอนาคต รวมถึงการสร้างธุรกิจใหม่เป็นป๊อปคอร์นพร้อมทาน(RTE)หรือรูปแบบสแน็ก ยังโตแกร่ง และปีนี้จะเห็นการคอลแล็บกับพันธมิตรอีก 4-5 โปรเจค”

ไตรมาส 1 ป๊อปคอร์นทำเงินให้เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ 433 ล้านบาท เติบโต 47% ขณะที่โรงหนังทำรายได้ 767 ล้านบาท เติบโต 43% จากรายได้รวม 1,590 ล้านบาท เติบโต 41% ด้านสัดส่วนรายได้โรงหนังมีสัดส่วน 51% ป๊อปคอร์น เครื่องดื่ม 27% โฆษณา 11% โบว์ลิ่ง คาราโอเกะ 5% ค่าเช่าพื้นที่(สาขาสแตนอะโลน) 4% และคอนเทนต์หนัง 3%

ในปีนี้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ยังเดินหน้าสร้างภาพยนตร์ไทยป้อนคนดูต่อเนื่อง และยังคงผนึกพันธมิตร เช่น ช่อง 3 ช่อง 7  ฯ เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์

ทุ่ม 600ล้านขยายโรงหนัง \'เมเจอร์ฯ\'  ดัน ‘ป๊อปคอร์น’ ดาวรุ่งปั๊มรายได้ต่อ ปี 2566 การรีบาวด์ของโรงหนัง ยังมีแรงส่งจาก “หนังฟอร์มยักษ์” โดยเฉพาะจากฮอลลีวู้ดจ่อคิวเข้าฉายจำนวนมาก ไฮไลท์ เช่น Mission : Impossible, The Hunger Games, Star Trek เป็นต้น ส่วนหนังไทยมีจากค่ายจีดีเอช ไฟว์สตาร์ เป็นต้น

ระหว่างการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลใหม่ ซึ่งพรรคก้าวไกลโกยคะแนนเสียงสูงสุด และมีนโยบายเก็บภาษีโรงหนัง 1% ของค่าตั๋วหรือแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง บริษัทมองว่าพรรคก้าวไกลให้ความสำคัญกับการสนับสนุนซอฟต์เพาเวอร์ การสร้างคอนเทนต์ภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์เป็นหลัก การเก็บภาษีอาจดำเนินการในเฟสถัดไป รวมถึงการเปิดทางให้สตูดิโอหนังต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เกิดการจ้างงาน พัฒนาบุคลากรแวดวงหนังของไทยเหล่านี้ถือเป็นจิ๊กซอว์ที่ขาดและ “รัฐบาลใหม่” จะช่วยผลักดัน