‘พิธา’ รับการบ้าน สมาคมสายการบินประเทศไทย สางปมต้นทุน ฟื้นฟูท่องเที่ยว

‘พิธา’ รับการบ้าน สมาคมสายการบินประเทศไทย สางปมต้นทุน ฟื้นฟูท่องเที่ยว

3 การบ้านจาก 7 แอร์ไลน์ภายใต้สมาคมสายการบินประเทศไทย จี้ว่าที่นายกฯ "พิธา" เร่งสางปัญหาต้นทุนสายการบินที่แบกรับสูง ทั้งภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน การจัดการต่างๆทั้งระบบ รวมถึงคลอดมาตรการวีซ่า ดึงนักเดินทางเข้ามาฟื้นฟูท่องเที่ยว-สายการบิน

ยังคงเดินสายรับฟัง “ปัญหา” จากภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจต่างๆอย่างต่อเนื่อง สำหรับ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล และว่าที่นายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งคณะเปลี่ยนผ่านรัฐบาลเพื่อหาแนวทางแก้ไข

โดยหนึ่งในนั้นคือ “สมาคมสายการบินไทย” ที่บิ๊กเพลย์เยอร์ 7 ราย ได้แก่ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ สายการบินไทยสไมล์ สายการบินนกแอร์ สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ และสายการบินไทยเวียตเจ็ท ได้หารือร่วมกับ “พิธา” และคณะวานนี้(11 ก.ค.66)

ขณะที่ซีอีโอ ผู้บริหารเป็นตัวแทนร่วมหารือ เช่น ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ อุปนายกสมาคมสายการบินประเทศไทย ในฐานะผู้แทนสมาคมสายการบินแห่งประเทศไทย นายอัศวิน ยังกีรติวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ นายสันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย และนายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด(มหาชน) ฯ

“พิธา” เผยผลการหารือกับสมาคมสายการบินประเทศไทย และถือเป็นการบ้านที่ต้องรับไปดำเนินการ 3 แนวทาง หากเป็นรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ

เรื่องแรกคือ “ต้นทุน” มี 2 แนวทางที่ฝั่งผู้ประกอบการสายการบินหรือซัพพลายเชนกำลังเผชิญ ได้แก่ 1.ต้นทุนเกี่ยวกับภาษีต่างๆของสายการบิน โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบินหรือ excise tax ที่อัตรา 4.726 บาทต่อลิตร หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมา มีมาตรการลดภาษีดังกล่าวเหลือ 0.20 บาทต่อลิตร เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านต้นทุนให้กับสายการบิน ซึ่งการจ่ายภาษีให้รัฐทั้งองคาพยพ จำเป็นต้องทำให้ราคาตั๋วเครื่องบินปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อประชาชน

ทั้งนี้ การจะพิจารณาอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน คณะทำงานของพรรคก้าวไกลจะต้องกลับไปศึกษารายละเอียด เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจัดเก็บภาษีซึ่งเป็นรายได้ของภาครัฐด้วย

2.ต้นทุนการบินทั้งระบบ(อีโคซิสเทม) ทั้งต้นทุนการจัดการ เนื่องจากกฎระเบียบของธุรกิจการบิน ฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับมาตรฐานหรือประเทศอื่นๆ ธุรกิจสายการบินของไทยเผชิญต้นทุนสูงกว่า 15-20% จึงเตรียมหาแนวทางเพื่อพิจารณาการลดต้นทุนจะสามารถทำได้หรือไม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน

‘พิธา’ รับการบ้าน สมาคมสายการบินประเทศไทย สางปมต้นทุน ฟื้นฟูท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวจะต้องหารือกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล เช่น กระทรวงคมนาคม ด้านค่าธรรมเนียมในการใช้บริการสนามบิน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ว่ามีเหตุผลใดที่ทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร

“เรื่องต้นทุนทุนภาษี และต้นทุนด้านโอเปอเรชั่นของสายการบิน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลกระทบต่อค่าตั๋วเครื่องบิน และเป็นค่าใช้จ่ายที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวต้องเผชิญ”

ส่วนที่สอง เป็นมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว และการบริหารรายได้ของสายการบิน เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรม ที่เสนอแนวทางการเจรจาเพิ่มสิทธิการบินในกลุ่มประเทศเป้าหมายของการท่องเที่ยว ซึ่งประเด็นนี้ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีสายการบินหลายประเทศในอาเซียนเดินนโยบายเชิงรุก โดยเฉพาะสายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ ที่ตั้ง “ทีมสิงคโปร์” เพื่อเจรจาหาสิทธิการบิน ดึงการเดินทางข้ามประเทศให้ลงที่จุดหมายปลายทางของประเทศตนเอง ยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค และดึงดูดนักเดินทางในกลุ่มอุตสาหกรรมไมซ์

“การบินข้ามทวีป หากมาหยุดต่อเครื่องที่ไทย เวลาค่อนข้างไม่ดีและต้นทุนการบินสูงเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ ทำให้ได้รับผลกระทบ เสียโอกาสการเป็นฮับการบิน และกระตุ้นอุตสาหกรรมไมซ์”

นอกจากนี้ ควรมีการเปิดทางให้มีการเดินทางจาก 3 ประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอินเดีย จีน และเกาหลีใต้ แต่ต้องพิจารณาความสมดุลและความเหมะาสมของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาไทย เพื่อให้การเจรจาระหว่างประเทศเกิดความยุติธรรม

‘พิธา’ รับการบ้าน สมาคมสายการบินประเทศไทย สางปมต้นทุน ฟื้นฟูท่องเที่ยว สุดท้าย ข้อเสนอมาตรการลดค่าธรรมเนียมวีซ่า ตลอดจนฟรีวีซ่าระยะสั้นให้กับบางประเทศ เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสายการบินควบคู่กัน

“ผลการหารือระหว่างสมาคมสายการบินประเทศไทยกับพรรคก้าวไกล และตัวแทนพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลทั้ง 8 พรรค ถือเป็นประเด็นพิจารณาต่อเนื่อง หลังจากเคยมีการพูดคุยกับสมาคมท่องเที่ยว และเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน สมัยเป็นฝ่ายค้าน ในช่วงเกิดวิกฤติ ซึ่งผมได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆของสายการบิน ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ ตลอดจนการเดินทางของประชาชน ซึ่งพรรคก้าวไกลก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน”

ทั้งนี้ หลังการหารือ ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ อุปนายกสมาคมสายการบินประเทศไทย ปฏิเสธให้รายละเอียดทั้งการพิจารณาอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบินที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไหร่ หรือกรอบเวลาของการทำงาน ควรดำเนินการเมื่อใด แต่ทุกแนวทางมีการคุยลึกในรายละเอียดแล้ว 

‘พิธา’ รับการบ้าน สมาคมสายการบินประเทศไทย สางปมต้นทุน ฟื้นฟูท่องเที่ยว "การหารือครั้งนี้เห็นว่าทีมงานพรรคก้วไกล และคุณพิธา เข้าใจปัญหา เรียนรู้“การหารือครั้งนี้เห็นว่าทีมงานพรรคก้วไกล และคุณพิธา เข้าใจปัญหา เรียนรู้เร็ว น่าจะช่วยแก่ปัญหาได้ และสมาคมฯฝากความหวังไว้”