3 บทเรียน Leadership จาก ‘มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก’ เจ้าของ Threads คู่แข่ง ‘นกฟ้า’

3 บทเรียน Leadership จาก ‘มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก’ เจ้าของ Threads คู่แข่ง ‘นกฟ้า’

เปิด 3 บทเรียน ความเป็นผู้นำ ของ ‘มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก’ ผู้ก่อตั้ง Meta และ Threads คู่แข่ง Twitter ตั้งแต่เรื่องการจ้างคนให้มาทำในสิ่งที่เราไม่รู้ คนหาทักษะจำเป็นของบริษัท ไปจนถึงการยอมรับเมื่อทำผิด  

พล็อตเรื่องคลีเช่ ที่ว่าเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งลาออกจาก “ฮาร์วาร์ด” เพื่อไล่ตามความฝันเพื่อจะเป็นผู้ประกอบการ ดูจะเป็นพล็อตเรื่องเหล่านักธุรกิจที่สตาร์ทอัพที่เป็นตำนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนที่ลาออกนั้นกลายไปเป็นผู้บริหารและมหาเศรษฐีหลายพันล้านดอลลาร์ที่มีพันธกิจอยากจะเปลี่ยนโลก 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะเป็นคนที่ไม่เคยเข้าใกล้คำว่า “สำเร็จ” เลย อย่างน้อยก็สามารถเรียนรู้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์จากพวกเขาได้ โดยทั้งหมดคือ 3 บทเรียนเรื่อง ความเป็นผู้นำ (Leadership) จากมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผู้ก่อตั้ง Facebook เจ้าพ่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่เชื่อมคนทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน และผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ใหม่อย่างเธรดส์ (Threads) แอปพลิเคชันที่ว่ากันว่าจะเข้ามาฆ่า ทวิตเตอร์ (Twitter)

1. ลิสต์ “ความสามารถที่จําเป็น” เพื่อให้บริษัทของคุณประสบความสําเร็จ

หลังจากสัมภาษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของสตาร์ทอัพหลายร้อยคนและฟังข้อเสนอนับไม่ถ้วนสําหรับการร่วมทุน ผมก็สรุปสั้นๆ ได้ว่า สตาร์ทอัพที่ประสบความสําเร็จต้องการคนที่มีทักษะหลัก 2 ประการเพื่อเริ่มธุรกิจ คือทักษะเฉพาะทางในสินค้า บริการ และแขนงวิชาของตัวเอง และทักษะด้านการบริหารจัดการคน

โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในธุรกิจที่ทำ คือผู้ที่เป็นอัจฉริยะทางเทคนิค ซึ่งสามารถประเมินได้ว่า อุตสาหกรรม ของเรากําลังมุ่งหน้าไปทิศทางใด ท่ามกลางการแข่งขันในภาคส่วนเดียวกัน โดยบุคคลดังกล่าวจะมีความสามารถสร้างสิ่งใหม่และสิ่งที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าประทับใจ และบริษัทก็จะเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ทั้งนี้ บริษัทใดก็ตามจะไม่สามารถเติบโตได้หากไม่จัดกิจกรรมนอกเหนือจากการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจ้างและกระตุ้นพนักงานให้ความสนใจด้านการขาย การตลาด การผลิต รวมไปถึงการพัฒนาสินค้าและบริการด้วย

2. ค้นหาว่าทักษะใดที่จะพากิจการของคุณให้ “เติบโตมากขึ้น” ในอนาคต

หากจะให้เครดิตซัคเคอร์เบิร์ก ต้องบอกเลยว่า เขาไม่เพียงตระหนักว่า ตัวเองเก่งในการสร้าง ผลิตภัณฑ์ และสามารถดึงดูดวิศวกรที่มีความสามารถซึ่งเห็นโอกาสในการพัฒนาทักษะของตัวเองเองผ่านการทำงานร่วมกับเขา 

แต่ซัคเคอร์เบิร์กยังตระหนักหนึ่งเรื่องที่ว่าเขาไม่ใช่ “มนุษย์ที่สามารถบริหารจัดการเรื่องคน” ได้ แต่เขาสามารถจ้างบุคคลอื่นเข้ามาดูแลในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ พูดง่ายๆ ก็คือหาผู้ช่วยที่เข้ามารับผิดชอบในทักษะที่คุณขาด

โดยบทเรียนความเป็นผู้นําที่มีค่าที่สุดจากซัคเคอร์เบิร์ก คือการจ้างคนที่เก่งในเรื่องที่บริษัทของคุณต้องการในอนาคตเพื่อที่จะเติบโตต่อไป คุณจำเป็นต้องรับรู้ทักษะที่ ธุรกิจ ของคุณต้องการเพื่อให้ประสบความสําเร็จ โดยบริหารจัดการในงานที่คุณเก่ง และจ้างคนอื่นมาทำในทักษะที่คุณขาด หรือในทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตของบริษัท

3. ออกมาแสดงความรับผิดชอบเมื่อทำผิด 

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ค เป็นผู้ที่มักประกาศ ความรับผิดชอบ อย่างตรงไปตรงมาทุกครั้งที่เขาทำผิดพลาด เพราะเอาเข้าจริงแล้ว ความรับผิดชอบเป็นเรื่องที่สำคัญ และแน่นอนเช่นกันว่าในโลกของการทำงาน ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาด ทุกคนล้วนแต่เคยทำผิดพลาดทั้งสิ้น จะมากจะน้อยไม่สำคัญ แต่สำคัญคือ คุณออกมายอมรับหรือไม่ 

ดังนั้นถ้ารู้ว่าตัวเองทำผิด อย่าหา ข้ออ้างแก้ตัว ให้เสียเวลา ขอให้ขั้นแรกสุดคือยืดอกยอมรับและแสดงความรับผิดชอบก่อนเป็นอันดับแรก แล้วตั้งใจหามาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกครั้งเป็นลำดับถัดไป

อ้างอิง

Inc