สูตร “ป้ายยา” คนรุ่นใหม่บน “ทวิตเตอร์” ดึงอำนาจซื้อจากบทสนทนา-ปั่นเทรนด์

สูตร “ป้ายยา” คนรุ่นใหม่บน “ทวิตเตอร์” ดึงอำนาจซื้อจากบทสนทนา-ปั่นเทรนด์

อยากได้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย "คนรุ่นใหม่" นักการตลาดต้องไป "ป้ายยา" ปั้นบทสนทนา ติดแฮชแท็ก ปั่นกระแสเชิงบวกให้ขึ้น "เทรนด์ทวิตเตอร์" หนึ่งในอาวุธกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้

“คนรุ่นใหม่” เป็นผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่นักการตลาดหมายปองอย่างมาก ที่จะสร้างการเติบโตให้กับยอดขายสินค้าและบริการ เพราะนี่คือผู้คนที่จะมีอำนาจซื้อในอนาคต และเป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคมภายภาคหน้า แทนที่กลุ่มคนรุ่นใหญ่ เจนเนเรชั่นเบบี้บูม หรือแม้กระทั่งผู้สูงวัย ที่มีกำลังซื้อสูงวันนี้ แต่ก็ต้องลดลงในอนาคตตามวัย

ดังนั้น นักการตลาดจึงหาสารพัดกลยุทธ์ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ให้อยู่หมัด

ในงาน GroupM FOCAL 2023 มีหัวข้อมากมายเกี่ยวกับเทรนด์การตลาด การบริโภคสื่อ การค้าขายช่องทางใหม่ๆ จาก “กูรู” ในวงการมาแบ่งปันคัมภีร์ สูตร(ไม่)ลับต่างๆ หนึ่งในนั้น คือศาสตร์ “ชนะ” ใจเหล่านิวเจนฯ กับหัวข้อ Winning The Tribe of a New Generation of Consumers with Twitter Conversation โดย “ปัญชรี สิทธิเสนี” Head of Twitter – APAC Country Head จากเอ็นทราวิชั่น (ประเทศไทย) เล่าการทำเงินจาก “บทสนทนา” บนแพลตฟอร์มอย่าง “ทวิตเตอร์”(Twitter)

ในโลกที่คอนเทนต์มีมากมาย ผู้บริโภคโพสต์ข้อความลงบนสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมหาศาลต่อวัน แต่จะมีไม่กี่บทสนทนาที่สร้างความโดดเด่นจนเกิดเป็นกระแสไวรัลบ้าง ขึ้น “เทรนด์ทวิตเตอร์” บ้าง จนถูกนำไปขยายความต่อบนแพลตฟอร์มอื่น หรือแบรนด์ไหนเป็นเสือปืนไว ยังหยิบ “กระแส” และเทรนด์เหล่านั้นไปต่อยอดทำการตลาดแบบ Realtime ปูทางสู่กระตุ้นยอดขายสินค้าและบริการได้

สูตร “ป้ายยา” คนรุ่นใหม่บน “ทวิตเตอร์” ดึงอำนาจซื้อจากบทสนทนา-ปั่นเทรนด์ Human Insight หรือการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์แบบ “เชิงลึก” เป็นสิ่งที่นักการตลาดเน้นย้ำอยู่เสมอ ก่อนออกอาวุธ ทำแคมเปญเจาะกลุ่มเป้าหมาย ต้องเข้าใจแก่นแท้ของความต้องการที่อยู่ก้นบึ้งของผู้บริโภคให้ได้ และสิ่งเหล่านั้นสัมผัส สำรวจได้ผ่านบทสนทนา

ตัวอย่างกระแสความฮิตบริโภค “หมาล่า” ที่เข้ามาไทยนานแล้ว วันดีคืนดีบูมสุดๆ จากบทสนทนาเล็กๆ ทำให้ 3 ปีมานี้ หมาล่าเข้าไปอยู่ในทุกเมนูอาหาร

“เวลาอยากเป็น FOMO หรือ Fear Of Missing Out ผู้คนไม่ยอมตกขบวนจะพูดเรื่องต่างๆบนโซเชียล ขนาดเหล่า JOMO หรือ Joy Of Missing Out ที่ไม่สนเกาะกระแสยังบอกเล่าเรื่องราวได้”

ทวิตเตอร์ เป็นแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะที่คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเจนเนอเรชันซี(GenZ)มองเป็นเหมือน “บ้าน” ของพวกเขา ส่วนใคร อายุเท่าไหร่ ใช้งานบ้าง แยกได้ดังนี้

     -อายุ 16-24 ปี มีสัดส่วน 33%

     -อายุ 25-34 ปี มีสัดส่วน 25%

     -อายุ 35-44 ปี มีสัดส่วน 22%

     -อายุ 45 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 21%

นอกจากนี้ บทสนทนาที่ผู้คนพูดกันบนโลกออนไลน์ ยิ่งเป็นแบรนด์จะกลายเป็น “Data” หรือขุมทรัพย์ข้อมูลชั้นเยี่ยมที่สามารถนำไปปรับใช้ วางกลยุทธ์ทำการตลาดได้

สูตร “ป้ายยา” คนรุ่นใหม่บน “ทวิตเตอร์” ดึงอำนาจซื้อจากบทสนทนา-ปั่นเทรนด์ “การพูดถึงแบรนด์เชิงบวกนอกจากเป็นกระบอกเสียงให้แบรนด์แล้ว ยังทำให้แบรนด์เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคได้ด้วย”

 แล้วบทสนทนาบน “ทวิตเตอร์” ช่วยปั๊มยอดขาย กระตุ้นการชอปปิงได้อย่างไร มีผลสำรวจน่าสนใจดังนี้

    -57% ของผู้บริโภคเห็นด้วยว่าบทสนทนา คำพูดหลากหลายทำให้คนตัดสินใจซื้อได้มาก

    -57% ของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ มีการค้นพบสิ่งใหม่

    -60% มีการแชร์ประสบการณ์ รีวิวการใช้สินค้าและบริการลงบนทวิตเตอร์

    -ผู้บริโภค 1 ใน 3 บอกว่าบทสนทนาทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าบนออนไลน์ ตอบโจทย์พ่อค้าแม่ขาย

    -และ 1 ใน 3 ยังตัดสินใจซื้อสินค้าจากคนที่เป็นกระบอกเสียงของแบรนด์หรือ Brand Advocacy นอกเหนือจากตัดสินใจด้วยตัวเอง

แฮชแท็ก(#) ยุทธการ “ป้ายยา” แก่สาวกเป้าหมาย ที่แบรนด์แทรกตัวเข้าไปทำการตลาดได้ ตัวอย่างแฮชแท็กที่สื่อสารแล้วช่วย “ขายของ” ได้ เช่น #ใช้ดีบอกต่อ #Howtoperfect #ไว้รีวิวห้ามขายของโว้ยย #รีวิวสินค้า #รีวิวเซเว่น หรือการแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ช่วงสิ้นเดือนไม่มีเงิน กินมาม่า กินอะไรดี สินค้าออกใหม่ ร้านไหนดัง เมื่อมีการแชร์เรื่องราว ล้วนหล่อเลี้ยงกระแส บทสนทนาให้คงอยู่บนทวิตเตอร์ “วนลูป” หรือป้ายยาวนไปไม่จบสิ้นนั่นเอง

สูตร “ป้ายยา” คนรุ่นใหม่บน “ทวิตเตอร์” ดึงอำนาจซื้อจากบทสนทนา-ปั่นเทรนด์ “แฮชแท็กดังบนทวิตเตอร์มักถูกเหวี่ยงไปบนแพลตฟอร์มอื่นอย่างรวดเร็ว หากต้องการขายสินค้าให้ได้ในข้ามคืน ต้องสร้างบทสนทนาทีดี ไม่ใช่แค่ปั่น และซื้อแฮชแท็ก แต่การสร้างออแกนิกทำให้คอนเทนต์แตกตัวไว้ โดยเฉพาะทวิตเตอร์ ไม่ใใช่แค่แพลตฟอร์มเพิ่มวอลุ่มการพูดถึง ติดเทรนด์ แต่เป็นการที่แบรนด์ชวนผู้บริโภคคุยด้วยนั่นเอง”

อย่างไรก็ตาม บนสนทนา เทรนด์ทวิตเตอร์ต่างๆ ในประเทศไทย ยังมีการเติบโตต่อเนื่อง เช่น

    -หมวดดูแลตนเอง โต 103%

    -ภาพยนตร์ตลก 110%

    -เทศกาลดนตรี 204%

    -แฟชั่นและความงาม 181%

    -เทคโนโลยี 15%

-อีเวนท์เกี่ยวกับกีฬา 477%

ตัวอย่างสินค้าที่ทำการตลาดบนทวิตเตอร์ด้วยบทสนทนา สร้างยอดขายโต 5 เท่า ต้นทุนเอนเกจเมนต์ต่ำลง 2% จากค่ามาตรฐาน และอัตราการเข้าถึงต่อต้นทุนต่ำลงกว่าค่ามาตรฐาน 2.8% เป็นต้น

“บทสนทนาบนทวิตเตอร์คือกุญแจกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้ บทสนทนาเริ่มจากจุดเล็กๆขยายวงกว้างได้ การขึ้นเทรนด์สตาร์ทจากทวิตเตอร์ และไปได้กว้าง ไกลหลากแพลตฟอร์ม ได้พื้นที่สื่อฟรี ประหยัดงบ”