‘บัซซี่บีส์’ ชี้แบรนด์สปอยล์ "ผู้บริโภคไทยหนัก" ลุยลอยัลตี้ โปรแกรม ดันยอด

‘บัซซี่บีส์’ ชี้แบรนด์สปอยล์ "ผู้บริโภคไทยหนัก" ลุยลอยัลตี้ โปรแกรม ดันยอด

แบรนด์ไทยทำการตลาดโหดหินในอาเซียน แลพสปอยล์ผู้บริโภคชาวไทยหนักมาก โดยเฉพาะ "ลอยัลตี้ โปรแกรม" หวังรักษาฐานลูกค้าให้อยู่หมัด สร้างความจงรักภักดีให้ได้ "บัซซี่บีส์" บริการลูกค้าด้านซีอาร์เอ็ม 1,200 แพลตฟอร์ม มีฐานข้อมูลลูกค้า 145 ล้านบัญชี เล็งระดมทุน ต่อยอดโตต่างแดน

การทำตลาด นอกจากสารพัดกลยุทธ์ที่แบรนด์ติดอาวุธ เพื่อซื้อใจผู้บริโภคให้ตัดสินใจควักเงินซื้อแล้ว สิ่งที่ยากกว่าคือ “รักษาฐานลูกค้า” ให้อยู่หมัด ต่อยอดให้เกิดความจงรักภักดีหรือ Loyalty

กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าหรือ CRM : Customer relationship management มีมาช้านาน โดยรูปแบบแต่ละยุคแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจุบันแบรนด์สินค้าและบริการต่างใช้ “แพลตฟอร์มดิจิทัล” ในการเก็บข้อมูล ให้คะแนนสะสม ตลอดจนการแลกสิทธิประโยชน์แก่ลูกค้า

ณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บัซซี่บีส์(BUZZEBEES) เจาะลึกวิวัฒนาการของแบรนด์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า การทำให้สิทธิประโยชน์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายภักดีต่อแบรนด์หรือสร้างสรรค์ Loyalty Program ออกมา แต่ละเจนเนอเรชั่น มีความต้องการแตกต่างกัน

  • ทุกเจนเนอเรชั่น อยากได้สิทธิประโยชน์

รุ่นใหญ่หรือ “เบบี้ บูมเมอร์ส”(Baby Boomers) การเป็นสมาชิก เช่น คลับเฮ้าส์ สโมสรต่างๆจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ และค่อนข้าง “เอ็กซ์คลูสีฟ” จะได้ส่วนลด ต้อง “พิเศษ” กว่าใคร ขอบริการลูกค้าแบบส่วนตัว ถัดมาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์(GenX) ต้องการสิทธิประโยชน์เหมือนชาวเบบี้ บูมเมอร์ส แต่ขอรับผ่านช่องทางใหม่ๆ หรือสื่อที่ต่างจากเดิม และมีนวัตกรรม คนกลุ่มนี้ยังเข้าใจระบบสะสมแต้มอย่างดี และมีความอดทนในการสะสมแต้ม เพื่อแลกของรางวัลใหญ่ ของที่ที่ต้องการ

ส่วนเจนเนอเรชั่นวาย(GenY) มองลอยัลตี้ โปรแกรมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หากแบรนด์ให้สิทธิประโยชน์ต้องได้ใช้จริง มีการใช้แพลตฟอร์มซับซ้อน และยังอยากได้สิทธิประโยชน์เพิ่ม เช่น Log in ซื้อของครบตามยอด แลกกับคะแนนสะสม รางวัลเพิ่ม ฯ ขณะที่เจนเนอเรชั่นซี(GenZ) ไม่ต้องสอนเรื่องการได้รับสิทธิประโยชน์ เพราะเข้าใจนวัตกรรมอย่างดี แล้วถ้าซื้อสินค้าแล้วได้สิทธิประโยชน์ พร้อมรับทันที ขอแบบที่มีความหมายต่อโลก สะท้อน Purpose ของแบรนด์ ไม่ใช่ได้แค่ตัวเอง แต่โลกต้องได้ด้วย เป็นต้น

“บัซซี่บีส์” ในฐานะ “เบอร์ 1” ผู้ให้บริการด้านซีอาร์เอ็ม และแพลตฟอร์มสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าหรือ CRM & Digital Engagement Platform ซึ่งมีลูกค้าหลากอุตสาหกรรม เช่น ประกัน การเงิน มือถือและการสื่อสาร สินค้าอุปโภคบริโภค น้ำมันและยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงค้าปลีก มีฐานผู้ใช้งาน 145 ล้านบัญชี ยังพบพฤติกรรมที่น่าสนใจ ในการใช้ลอยัลตี้โปรแกรมบนแพลตฟอร์มด้วย

โดยผู้บริโภคจะใช้เวลาเพียง 27 วินาทีเท่านั้น บนแพลตฟอร์ม หากแบรนด์สร้างสัมพันธ์ที่ดี ซื้อใจไม่ได้ พร้อมจะจากไปตลาดกาล นอกจากนี้ ผู้บริโภคยอมเลื่อนดู(Scroll)เพจแบรนด์เพียง 3 เพจ

เพื่อหาลอยัลตี้ โปรแกรมที่ตรงใจเฉพาะบุคคล(Personalized) หากแบรนด์ทำไม่ได้ อาจพลาดโอกาสรักษาฐานกลุ่มเป้าหมาย

‘บัซซี่บีส์’ ชี้แบรนด์สปอยล์ \"ผู้บริโภคไทยหนัก\" ลุยลอยัลตี้ โปรแกรม ดันยอด

ขณะเดียวกัน 70% ของผู้บริโภค จะนำคะแนนสะสม แต้มต่างๆแลกรางวัล สิ่งของ(Redeem)ภายใน 5 วัน หลังจากลงทะเบียน หากแลกสิทธิประโยชน์ไม่ได้ภายใน 5 วัน จะไปจากแพลตฟอร์ม และผู้บริโภคยุคนี้รอไม่ได้ มีเพียง 2% ที่รอ redemption สินค้าใน 30 วัน จากปี 2563 คนรอได้มี 7%

“โซลูชั่นที่แบรนด์นำเสนอให้คนไทยไม่มีใครสู้ได้ การทำตลาดโหดมาก เพราะผู้บริโภคไทยถูกสปอยล์อย่างรุนแรง” 

  • เบอร์ 1 ในไทยไม่พอ “บัซซี่บีส์” เร่งโตต่างแดน

“บัซซี่บีส์” ลุยธุรกิจให้บริการด้านซีอาร์เอ็ม และแพลตฟอร์มสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าแบบดิจิทัล จากมีพนักงานราว 10 คน และปีแรกมีฐานผู้บริโภคใช้ลอยัลตี้โปรแกรมราว 1 ล้านราย ปัจจุบันเติบใหญ่มีฐานข้อมูลผู้ใช้งานถึง 145 ล้านบัญชี กลายเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่สุดของ “อาเซียน”

‘บัซซี่บีส์’ ชี้แบรนด์สปอยล์ \"ผู้บริโภคไทยหนัก\" ลุยลอยัลตี้ โปรแกรม ดันยอด เป้าหมายถัดไป บริษัทยังต้องการเป็นผู้เล่น “รายใหญ่ของโลก” ด้วย ซึ่ง ไมเคิล เชน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด เล่าว่า เป้าหมายต่อไปคือการสร้างรับบนิเวศทางธุรกิจ(Business Ecosystem) ในระดับโลก นอกจากเป็นนำด้านลอยัลตี้ โปรแกรม จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานในโลกดิจิทัล (Digital Infrastructure)

โดยมี 4 ธุรกิจหลัก สร้างการเติบโต ได้แก่ 1. ธุรกิจพัฒนาแพลตฟอร์มบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า 2.ธุรกิจจัดหาของรางวัลและสิทธิพิเศษ หรือ Rewards & Privileges Management) 3. ธุรกิจบริการอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร) และ 4. ธุรกิจบริการระบบจัดการร้านค้าและการรับชำระเงิน

“เราเป็นเบอร์ 1 ในอาเซียน เรามีธุรกิจ 4 เสาหลัก คือเป็นลอยัลตี้ แพลตฟอร์ม เราจัดหารางวัลใหญ่สุดในอาเซียน มีการทำอีคอมเมิร์ซตั้งแต่ต้น และช่วยให้เอสเอ็มอีเติบโต ด้วยการนำเทคโนโลยีจากผู้ประกอบการไปต่อยอด”

  • IPO ระดมทุน 8,500 ล้าน ดันมาร์เก็ตแคป 3.5 แสนล้าน

11 ปี ธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง ย้อนหลังปี 2561 มีรายได้ 664 ล้านบาท ปี 2565 ทะยานสู่ 1,751 ล้านบาท ขยายตัว 53% ทว่าปี 2566 บริษัทตั้งเป้ารายได้แตะ 3,400 ล้านบาท เติบโต 60-80% จากฐานลูกค้าแบรนด์ต่างๆที่ดูแลทำซีอาร์เอ็ม ลอยัลตี้โปรแกรมให้ฯ มากถึง 1,200 แพลตฟอร์ม

สเต็ปต่อไปปี 2567 บริษัทจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เพื่อระดมทุนราว 250-300 ล้านดอลลาร์ หรือไม่ต่ำกว่า 8,700 ล้านบาท ซึ่งหากเป็นไปตามแแผน “บัซซี่บีส์” จะเป็นบริษัทด้านทำการตลาดด้วยเทคโนโลยีหรือมาร์เทครายแรกที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯได้

‘บัซซี่บีส์’ ชี้แบรนด์สปอยล์ \"ผู้บริโภคไทยหนัก\" ลุยลอยัลตี้ โปรแกรม ดันยอด ส่วนการระดมทุน หากได้เม็ดเงินมา จะนำไปขยายธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้น ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฮ่องกง เป็นต้น จะมีการ “ซื้อและควบรวมกิจการ”(M&A)  เพื่อให้ผลลัพธ์ 1+1 มากกว่า 2 ต้องเป็น 5 หรือ 10 โดยปีนี้บริษัทมีการเจราซื้อ ถือหุ้นในกิจการต่างๆ คาดปิดดีลได้ 15-20 ราย

“การโตในตลาดต่างประเทศ มีการเผาเงินค่อนข้างมาก ต้องใช้เงินเยอะ การระดมทุนจึงนำไปใช้ในส่วนดังกล่าว รวมถึงซื้อ ถือหุ้นในกิจการที่ต่อยอดธุรกิจได้ เช่น มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว การนำผลิตภัณฑ์เราไปขาย หรือผลิตภัณฑ์พันธมิตรมาขายแบบ Cross selling รวมถึงบริษัทเทคโนโลยีมาเสริมแกร่ง และลงทุนดึงคนเก่งมาร่วมงาน”

ทั้งนี้ หากเคลื่อนทัพธุรกิจตามแผน คาดว่าจะผลักดันรายได้ในปี 2570 แตะ 10,000 ล้านบาท และมีรายได้จากต่างประเทศราว 70% จากปัจจุบันไม่ถึง 10% ที่สำคัญคาดหวังสร้างมูลค่าบริษัทตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคปที่ 10,000 ล้านดอลลาร์ หรือไม่ต่ำกว่า 3.5 แสนล้านบาท 

สำหรับบัซซี่บีส์ นอกจากผู้ก่อตั้งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ราว 30% ยังมีพันธมิตรเข้าไปลงทุนเพิ่ม เช่น โออาร์ สิงห์เวนเจอร์ส ฯ