'คนไทย' หนุนแบรนด์รักษ์โลก แต่การส่งเสริมความภูมิใจของชาติ ต่ำสุดเอเชีย

'คนไทย' หนุนแบรนด์รักษ์โลก แต่การส่งเสริมความภูมิใจของชาติ ต่ำสุดเอเชีย

แบรนด์ที่มีจุดมุ่งหมายหรือ Brand Purpose ในประเด็นต่างๆของสังคม ไม่เพียงมีพลังเปลี่ยนสังคม แต่การครองใจผู้บริโภค ทำให้ธุรกิจเติบโตเร็ว ทว่า ผลสำรวจ “Brand Purpose in Asia” จากบีบีดีโอ เอเชีย พบคนไทยหนุนแบรนด์รักษ์โลก แต่การส่งเสริมความภาคภูมิใจของชาติ ต่ำสุดในเอเชีย

บีบีดีโอ เอเชีย(BBDO Asia) เอเยนซีชั้นนำ ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเอเชียภายใต้หัวข้อ “Brand Purpose in Asia” ผ่านกลุ่มตัวอย่างใน 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย จำนวนทั้งสิ้น 1,800 คน พบอินไซต์ที่น่าสนใจ ผู้คนชาวเอเชียรวมถึงผู้บริโภคชาวไทยที่มองหาแบรนด์ที่มีบทบาทสนับสนุนประเด็นทางสังคมอย่างต่อเนื่อง

นับวันภาพของจุดมุ่งหมายของแบรนด์ที่ยืนหยัดเพื่อสิ่งต่างๆหรือ Brand Purpose มีความสำคัญมากขึ้น และเชื่อมโยงกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ในการสนับสนุน หรือตัดสินใจซื้อสินค้า โดย Purpose ของแบรนด์ปัจจุบันต่างจากในอดีต เพราะมีปมปัญหาสังคม มีบทบาทมากขึ้น ทั้งเรื่องของรักษ์โลก รักสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำ ความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น

ขณะที่ผลการศึกษาด้าน “Brand Purpose in Asia” กลุ่มตัวอย่างใน 6 ประเทศ ต่างตระหนักเรื่องการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนนำโด่งเป็นอันดับ 1 อัตรา 34% ตามด้วย การใช้วัตถุดิบที่ทำมาจากธรรมชาติ หรือออแกนิค 23% และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ราคาเข้าถึงได้สำหรับทุกคน 21% ที่เหลือเป็นประเด็นสินค้าส่งเสริมสุขภาพกายและใจ แบรนด์มีการใช้วัตถุดิบ หรือวัสดุจากท้องถิ่น ปกป้องแหล่งน้ำให้สะอาด การส่งเสริมผู้หญิงให้มีบาทบาท เป็นต้น

\'คนไทย\' หนุนแบรนด์รักษ์โลก แต่การส่งเสริมความภูมิใจของชาติ ต่ำสุดเอเชีย เมื่อเจาะลึกรายประเทศ แม้รักษ์โลก แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญ แต่ “ญี่ปุ่น” กลับให้ประเด็นดังกล่าวอยู่อันดับ 5 โดยเพื่อนหญิงพลังหญิงหรือ Empowering women และความเท่าเทียมกลับนำมาเป็นอันดับ 1 อัตรา 25% ตามด้วยการส่งเสริมสินค้าที่ดีต่อสุขภาพกาย-ใจ ทำสินค้าที่ราคาทุกคนเข้าถึงได้ และส่งเสริมความภูมิใจของชาติ ซึ่งสวนทางกับ “ไทย” ที่ผู้บริโภคต้องการให้แบรนด์ “ส่งเสริมความภาคภูมิใจของชาติ” หรือ Promoting national pride ต่ำสุดในเอเชีย จากทั้ง 6 ประเทศที่อัตรา 3% จากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11%

เจาะลึกประเทศไทย ยังติดท็อป 3 จาก 6 ประเทศในเอเชีย เรื่องการให้คุณค่าในแบรนด์ที่มีให้ความสำคัญในการพัฒนาสังคม และอินไซต์ที่ผู้บริโภคชาวไทยต้องการให้แบรนด์ต่าง ๆ ให้ความสำคัญมากที่สุดคือการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 39% ตามมาด้วย การใช้วัตถุดิบที่ทำมาจากธรรมชาติ หรือออแกนิค 27% และผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเข้าถึงได้กับทุกคน 25%

\'คนไทย\' หนุนแบรนด์รักษ์โลก แต่การส่งเสริมความภูมิใจของชาติ ต่ำสุดเอเชีย นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ให้การยอมรับเรื่องของ LGBTQ ในระดับสูงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อีกทั้งยังต้องการให้แบรนด์ต่าง ๆ ออกมาให้การสนับสนุนในเรื่องนี้มากขึ้นอีกด้วย

“ผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่กำลังมองหาแบรนด์ที่ไม่เพียงแต่ให้คุณค่าที่สอดคล้องไปกับความเชื่อของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังยืนหยัดเพื่อความยุติธรรมทางสังคม และสร้างการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย จึงเป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์ต่าง ๆ ที่จะเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ โดยปรับตัวให้สอดคล้องกับค่านิยมของผู้บริโภคชาวไทย และสนับสนุนประเด็นสำคัญ ๆ เช่น สิทธิของ LGBTQ และความไม่เท่าเทียมในสังคม” แม่ทัพครีเอทีฟ บีบีดีโอ กรุงเทพ ทสร บุณยเนตร Chief Creative Officer บีบีดีโอ กรุงเทพ กล่าว

ตัวอย่างแคมเปญ “The Other Mother's Day” ของ จอห์นสัน เบบี้ มีจุดมุ่งหมายของแบรนด์ที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคมได้ โดยที่เชื่อมโยงกับผู้ชมด้วยการฉีกกรอบคำจำกัดความเดิม ๆ ของความเป็นแม่ และแสดงให้เห็นว่าทุกคนสามารถเป็นแม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเพศ รูปร่างหน้าตา และรายได้

“แบรนด์ต่าง ๆ สามารถมีบทบาทสำคัญในการกำหนดบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมใหม่ และสร้างสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้น"

\'คนไทย\' หนุนแบรนด์รักษ์โลก แต่การส่งเสริมความภูมิใจของชาติ ต่ำสุดเอเชีย ทสร บุณยเนตร

ประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ มีประชากรเกือบ 70 ล้านคน เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้แบรนด์ต่าง ๆ ได้ลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีให้กับสังคม ตอบแทนชุมชนไปพร้อมกับการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ

ทั้งนี้ การให้ความสำคัญกับ Brand Purpose และใช้ทรัพยากรของแบรนด์เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม จะช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงจิตใจผู้บริโภคชาวไทย ได้รับ Brand Loyalty และกลายมาเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงในการแสวงหาความก้าวหน้าและการพัฒนาให้กับสังคม

อย่างไรก็ตาม ทวีปเอเชียถือเป็นบ้านหลังใหญ่ของประชากรมากกว่า “ครึ่งหนึ่ง” ของโลก เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู กลายเป็นความหวังใหม่ จนได้รับขนานนามเป็นปาฏิหาริย์แห่งเอเชีย หรือ “Asian Miracle” ท่ามกลางหลายประเทศที่ยังเผชิญกับความท้าทายที่ในการก้าวสู่ตลาดที่รุ่งโรจน์ หรือติดหล่ม กับการเป็นเหยื่อของภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา รวมถึงความไม่สงบในสังคม และขาดเสถียรภาพทางการเมือง แต่การมีคัมภีร์ด้านแบรนด์ จะช่วยนำทางเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ตรงความต้องการมากขึ้น

\'คนไทย\' หนุนแบรนด์รักษ์โลก แต่การส่งเสริมความภูมิใจของชาติ ต่ำสุดเอเชีย

Hans Lopez-Vito

นักการตลาดควรให้ความสำคัญกับทัศนคติของผู้บริโภค และตามกระแสให้ทัน เพื่อต่อยอด Brand Purpose การสื่อสารแคมเปญการตลาดต้องชัดเจน และสะท้อนถึงความเป็นไปของโลกที่ผู้คนอาศัยอยู่ได้

“อดีตเราเคยเห็นแบรนด์ที่มี Purpose สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้อย่างชัดเจนในขณะที่ยังสามารถสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี สร้างการเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าแบรนด์ที่ไม่มี Purpose สร้างผลกระทบเชิงบวกในตลาด อย่างแคมเปญ Election Edition ในตะวันออกกลาง สะท้อนภาพ Brand Purpose มีพลังมากพอที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกได้อย่างแท้จริง" Hans Lopez-Vito – Chief Operating Officer บีบีดีโอ เอเชีย กล่าว