ปิดฉาก 'พันธุ์ทิพย์ประตูน้ำ' AWC เปลี่ยนโฉมจาก 'ห้างไอที' สู่ 'ค้าส่งอาหาร'

ปิดฉาก 'พันธุ์ทิพย์ประตูน้ำ' AWC เปลี่ยนโฉมจาก 'ห้างไอที' สู่ 'ค้าส่งอาหาร'

ปิดตำนานเก่า 'พันธุ์ทิพย์' สู่ปฐมบทใหม่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป หรือ AWC ผุดศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค 'เออีซี โฮเซล ประตูน้ำ' เร่งแผนสู่ฮับในภูมิภาคอาเซียน มูลค่าโครงการรวม 1 หมื่นล้านบาท พร้อมเปิดปลายเดือน มิ.ย.นี้

จากตำนาน ห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ใจกลางเมืองที่อยู่ย่านประตูน้ำ ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2527 ต่อมาในปี 2530 ที่มี "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" อาณาจักร ทีซีซี กรุ๊ป ได้เข้ามาซื้อกิจการ พร้อมปรับโฉมครั้งใหม่สู่ห้างไอที ที่ใหญ่สุดในไทย และมีสินค้าแบบครบวงจรที่สุด 

แต่เมื่อเทรนด์ตลาดเปลี่ยนแปลงไป สินค้าไอทีสามารถเลือกซื้อได้จากหลายหลายช่องทาง ทำให้บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ในเครือ ทีทีซี กรุ๊ป ที่เข้ามาบริหาร ได้มีการแปลงโฉมไปสู่ "ศูนย์กลางการค้าส่งนานาชาติครบวงจรของภูมิภาค  “AEC Trade Center Pantip Pratunam” ในช่วงปี 2564 จึงเป็นการปิดตำนานของห้างไอที พันธุ์ทิพย์ ที่โด่งดังสุดในยุคนี้ ที่เปิดให้บริการมาร่วม 36 ปี 

 

 

ปิดฉาก \'พันธุ์ทิพย์ประตูน้ำ\' AWC เปลี่ยนโฉมจาก \'ห้างไอที\' สู่ \'ค้าส่งอาหาร\'

ต่อมาในปี 2566  บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ได้ประกาศแผนใหม่ที่มีการเปลี่ยนโฉมของ“AEC Trade Center Pantip Pratunam” ไปสู่ โครงการค้าปลีกแห่งใหม่ "เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ" (AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM) ที่มีขนาดใหญ่สุด และอยู่ใจกลางประตูน้ำ

วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า การเปิดโครงการค้าปลีกแห่งใหม่ "เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ" (AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM) ที่มีขนาดใหญ่สุด และอยู่ใจกลางประตูน้ำ เป็นไปตามแผนที่บริษัทจะทำศูนย์ค้าส่งในพื้นที่แห่งนี้อยู่แล้ว 

ทั้งนี้ได้วางรูปแบบเป็นศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค เชื่อมเครือข่ายค้าส่ง (WHOLESALE ECO-SYSTEM) และมีการพัฒนาแพลตฟอร์มค้าส่งที่เชื่อมโยงออนไลน์-ออฟไลน์ (ONLINE-OFFLINE INTEGRATION) อย่างครบวงจร เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีศูนย์ในรูปแบบนี้มาก่อน

 

 

"การเลือกเปิดที่ประตูน้ำ เนื่องจากเป็นพื้นที่ของบริษัทที่ได้ทำศูนย์ค้าส่ง AEC Trade Center Pantip Pratunam ไว้อยู่แล้ว จึงเป็นการเปลี่ยนชื่อใหม่สู่  เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM ที่วางรูปแบบและนำเสนอแผนขยายตลาดที่มีความชัดเจนที่สุด"

ขณะที่งบประมาณของการลงทุนในโครงการรวมประมาณ 6,500 ล้านบาท โดยเป็น งบประมาณรวมตั้งแต่การเข้าไปลงทุนซื้อพันธุ์ทิพย์ และมีการปรับรีโนเวทโครงการใหม่ ส่วนมูลค่าโครงการรวมอยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้มีแผนเปิดศูนย์ค้าส่งในช่วงปลายเดือน มิ.ย.นี้ คาดว่าจะมีภาคเอกชนเข้ามาอยู่ในพื้นที่รวม 600 ร้านค้า อาทิ อาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็นและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องปรุงและวัตถุดิบ ข้าว เครื่องดื่ม กาแฟและชา ขนมขบเคี้ยวและขนมหวาน และของใช้ในครัวเรือน 

ขณะเดียวกันได้วางรูปแบบที่เปิดให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถพบปะเจรจาธุรกิจกันผ่านออฟไลน์แพลตฟอร์มได้ตลอด 365 วัน และออนไลน์แพลตฟอร์มได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงเป็นการเชื่อมต่อผู้ซื้อผู้ขายข้ามทวีป และการดึงผู้ซื้อและผู้ขายเข้ามาทำธุรกิจ ทั้งจากไทยและในภูมิภาคอาเซียน พร้อมวางเป้าหมาย ระยะยาวจะผลักดันให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM มีขนาดพื้นที่กว่า 10 ไร่ มีพื้นที่อาคารรวม (Gross Floor Area) กว่า 6.70 หมื่นตร.ม. และเป็นพื้นที่ค้าปลีก 3 หมื่น ตร.ม.โดยศูนย์ค้าส่งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อในภูมิภาคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี กว่า 10 ประเทศสมาชิก

นางวัลลภา กล่าวต่อว่า แนวโน้มตลาดอาหารภูมิภาคอาเซียนมีการขยายตัวต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางค้าส่งในภูมิภาคนี้ และในประเทศไทยก็ยังไม่มีการจัดทำศูนย์กลางในรูปแบบนี้มาก่อน 

ทั้งนี้ตลาดอาหารในอาเซียนในปี 2566 จะมีมูลค่าประมาณ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 25 ล้านล้านบาท คาดว่าจะขยายตัว 6.9% และมีการประเมินว่าภายใน 5 ปีนับจากนี้ จะขยายตัว 30% หรือมีมูลค่าประมาณ 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดในไทย มีสัดส่วนประมาณ 10% ของภูมิภาคอาเซียน โดยมีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านบาท มีการขยายตัวที่ดีต่อเนื่อง

"ศูนย์แห่งนี้จะสนับสนุนไทยให้เป็นประตูเชื่อมของอุตสาหกรรมการค้าส่งในตลาด เออีซี ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงด้วยจำนวนประชากรรวมกว่า 700 ล้านคน โดยไทยยังมีศักยภาพในการเชื่อมต่อการค้าส่งไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างสะดวกผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาคได้ในอนาคต”

ปิดฉาก \'พันธุ์ทิพย์ประตูน้ำ\' AWC เปลี่ยนโฉมจาก \'ห้างไอที\' สู่ \'ค้าส่งอาหาร\' สำหรับโครงการนี้จะร่วมสนับสนุนประเทศไทยสู่ประตูเชื่อมการค้าส่งทั่วทุกมุมโลก ผ่าน 3 ด้านที่สำคัญได้แก่ 

  • INTEGRATED BUSINESS PLATFORM: แพลตฟอร์มการค้าส่งที่เชื่อมโยงทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ (O2O Integrated) ร่วมสนับสนุนอุตสาหกรรมค้าส่งให้ตอบทุกโจทย์ผู้ขายและผู้ซื้อ รวมผู้ผลิตจากทั่วโลกมาอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าส่งที่ครอบคลุม อาทิ คลังสินค้า พื้นที่ขนถ่ายสินค้า แพลตฟอร์ม Phenix Box สำหรับการทำธุรกรรมด้านสินค้าออนไลน์ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์ธุรกิจค้าส่ง
  • FULL ASSORTMENT: การมีผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ประกอบการทั้งในด้านคุณภาพ ราคา และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ส่งตรงจากผู้ผลิตจากทั้งในประเทศและแบรนด์ระดับโลก มีไลน์สินค้าให้เลือกถึง 8 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักจากพันธมิตรชั้นนำ การจัดทำศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการ (Solution Service Center: SSC) ที่ช่วยให้คำปรึกษาด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้า พร้อมสร้าง Eco-System ของธุรกิจค้าส่งอย่างต่อเนื่อง
  • NON-STOP OPPORTUNITY: เชื่อมเครือข่ายค้าส่ง (WHOLESALE ECO-SYSTEM) ตอบโจทย์กับโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลาย ผ่านการร่วมรวมพลังจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ หอการค้าจากประเทศต่างๆ และภาคเอกชน รวมถึง อี้อู (Yiwu) ผู้พัฒนาและบริหารตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากเมืองอี้อูสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้มีการลงนามความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับทาง AWC เมื่อเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา

ปิดฉาก \'พันธุ์ทิพย์ประตูน้ำ\' AWC เปลี่ยนโฉมจาก \'ห้างไอที\' สู่ \'ค้าส่งอาหาร\'
อย่างไรก็ตามการจัดทำโครงการนี้ได้มีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม อี้อู (Yiwu) และหอการค้าจากประเทศต่างๆ อาทิ สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย-จีน หอการค้าออสเตรเลีย-ไทย หอการค้าไทย-แคนาดา หอการค้าไทย-นิวซีแลนด์ หอการค้าสวิส-ไทย สมาคมหอการค้าไทย-สเปน

นอกจากนี้ยังมีภาคเอกชนผู้นำธุรกิจอาหารชั้นนำของไทย อาทิ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ โกล บอล ฟู้ด โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) บริษัท พี อาร์ จี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)