แก้ “game changer” ด้วยการสร้าง “Strong Why”

แก้ “game changer” ด้วยการสร้าง “Strong Why”

แก้ “game changer” ด้วยการสร้าง “Strong Why” ..เหตุผลที่องค์กรยุคใหม่หันมาเน้นเรื่อง “Purpose” และการเปลี่ยนพฤติกรรมคนเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์อย่างยั่งยืน

สรุปข้อคิดและมุมมองในเรื่อง “คน” ของคุณปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการบริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด - องค์กรที่สร้าง "นวัตกรรมไร้ขีดจำกัด” จาก “อากาศ" จากงานสัมมนาของ “แพคริม” ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผู้นำและการสร้าง “Breakthrough Results” จากการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนจำนวนมากในองค์กร (Collective Behavior Change) เมื่อเร็ว ๆ นี้

บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส หรือ BIG เป็นผู้นำนวัตกรรมก๊าซและ “climate technology” ครบวงจรของประเทศไทย ซึ่งอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของอุตสาหกรรมจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงกลั่นน้ำมัน เคมีภัณฑ์ แก้วและกระจก เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ พลังงานทางเลือก ฯลฯ  ที่มาของนวัตกรรมและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ BIG ซึ่งมีรายได้เติบโตมากกว่า 10% ต่อปีตลอดช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19  มาจากการให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาคนและวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นในเรื่องของการสร้างความไว้วางใจ (Trust) และการให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างและสื่อสารเป้าประสงค์ (Purpose) และการเชื่อมต่อเป้าประสงค์ขององค์กรเข้ากับเป้าประสงค์ของทีมงานแต่ละคน

แก้ “game changer” ด้วยการสร้าง “Strong Why”

คุณปิยบุตรบอกว่าทุกองค์กรย่อมต้องการกำไรเพื่อมาตอบแทนผู้ถือหุ้น พนักงานและสังคม แต่กำไรไม่ควรจะเป็นเป้าหมายแรกที่มุ่งไป การจัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็น หากองค์กรต้องการสร้างธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยสิ่งที่ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรกคือ "เป้าประสงค์" หรือเหตุผลของการดำรงอยู่ขององค์กร แล้วจึงตามมาทำเรื่องคนให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ สุดท้ายจึงค่อยมาดูเรื่องกำไร ซึ่งจะเข้ามาเอง หากองค์กรมีคนเก่งและดี 

เพราะองค์กรอาจจะไม่สามารถดึงดูดและรักษาคนเก่งและดีไว้ได้ ถ้าไม่มีเป้าประสงค์ที่แข็งแกร่งพอ 

“เราต้องเจียรนัย กำหนดว่า Purpose คืออะไรก่อน เพื่อนำ Purpose ที่ได้ไปออกแบบคนเก่งและดีให้สอดคล้องกัน แล้วถ้าเราได้คนเก่งและดีมาสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน มันก็จะตอบโจทย์กำไร” 

แก้ “game changer” ด้วยการสร้าง “Strong Why”

ด้านคุณพรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทแพคริมกล่าวว่า เป้าประสงค์ทำให้ฝ่าย HR มีบทบาทสำคัญยิ่งในการทำงานร่วมกับซีอีโอและผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อกำหนดเป้าประสงค์และสร้างความเชื่อมโยงกันในระหว่างองค์กรและพนักงานให้เกิดขึ้น เพราะเป้าประสงค์นับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้าง Resilience หรือความสามารถในการล้มแล้วลุกที่จำเป็นอย่างยิ่งในโลกยุคนี้

“คนหรือองค์กรที่มี  Compelling Purpose จะ Resilience และปรับตัวได้ดีกว่า เพราะมี Strong Why ที่จะเอาชนะทุกอุปสรรคและความท้าทายได้” 

คุณปิยบุตรกล่าวว่าเหตุผลสำคัญที่ทำให้องค์กรชั้นนำหันมาสนใจเรื่องเป้าประสงค์ ก็เพราะโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วทำให้เกิดความท้าทายหรือ “Game Change” ในธุรกิจที่บางครั้งอาจต้องเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลง KPIs เป้าหมายหรือตัวชี้วัดต่าง ๆ กันบ่อย ๆ จึงจำเป็นต้องมีอะไรที่นิ่งพอ เพื่อยึดถือหรือเปรียบเสมือนเป็นเข็มทิศให้องค์กรและทีมงานทุกคนสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงสู่จุดหมาย

แก้ “game changer” ด้วยการสร้าง “Strong Why”

“จากความท้าทายทั้งหมดที่เกิดขึ้น เราต้องคิดถึงคำนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ คือ Game Change คือธุรกิจมันเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือแล้ว มันเหมือน Paradox คือทุกสิ่งมันเปลี่ยน แต่มันก็ต้องมีความยั่งยืน  และนั่นคือสิ่งที่ทำให้วันนี้หลาย ๆ องค์กรเลยหันมาเน้น Purpose แทน” 

ดังนั้นหนึ่งในความท้าทายสำคัญของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือ HR ในปี 2566 หรือต่อจากนี้ไป คือการเชื่อมโยงเป้าประสงค์ขององค์กรให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของทีมงานแต่ละคนในองค์กร เพื่อปลดปล่อยศักยภาพของทีมงานและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ คุณปิยบุตรกล่าวในงานสัมมนาสดออนไลน์ “The Pressing Needs & Opportunities of HR in 2023: HR กับการสร้างผลลัพธ์ใหม่ผ่านมุมมอง CEO” จัดโดย PacRim เมื่อเร็ว ๆ นี้

แก้ “game changer” ด้วยการสร้าง “Strong Why”

นอกจากการขับเคลื่อนด้วย Purpose เป็นตัวนำแล้ว ซีอีโอทั้งสองท่านรวมทั้งคุณวาณี พิชเยนทรโยธิน ที่ปรึกษาอาวุโส แพคริม ได้เสนอแนะถึงสิ่งสำคัญที่ HR ควรต้องทำในปี 2666 ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

  • พิจารณาความแตกต่างของพนักงาน แทนที่จะทำทุกอย่างแบบ “One-Size-Fits-All”
  • มอบหมายความรับผิดชอบ ไว้วางใจ ทำงานร่วมกับหัวหน้างานทุกระดับ โดยสร้างแนวทางปฏิบัติ (Guidelines)
  • เขียนแผนงานระยะยาว (Roadmap) รายปี (Annual Plan) หลังจากพูดคุยกับผู้บริหารและเข้าใจกลยุทธ์
  • บริหารจัดการ Workforce “Ecosystem” ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • รู้จักหาพาร์ตเนอร์ เลือกใช้บริการผู้เชี่ยวชาญภายนอกอย่างเหมาะสม
  • พัฒนาผู้นำอย่างต่อเนื่องล่วงหน้า เลือกการพัฒนาที่สร้าง “Behavior Change” ที่วัดผลได้
  • เน้นผลลัพธ์ที่ประสบการณ์ของพนักงาน (Employee Experience)
  • ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและการมีส่วนร่วม (Diversity & Inclusion) 

เมื่อโลกเปลี่ยน คงไม่มีใครสามารถอยู่นิ่งเฉยหรือทำแบบเดิม ๆ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือ HR ก็เช่นกัน ความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสให้ HR ได้แสดงบทบาทมากขึ้นในฐานะเพื่อนคู่คิดเชิงกลยุทธ์หรือ Strategic Partner ของซีอีโอที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ยั่งยืนด้วย Purpose ที่ชัดเจน พร้อมทีมงานที่แข็งแกร่งด้วย Purpose, Mindset อุปนิสัย พฤติกรรม และทักษะที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบ