เตือนโฆษณา อย่ายึดติดความปัง! งานสร้างสรรค์ต้องมีจรรยาบรรณ สื่อสารตรงปก

เตือนโฆษณา อย่ายึดติดความปัง! งานสร้างสรรค์ต้องมีจรรยาบรรณ สื่อสารตรงปก

ใดๆในโลกล้วน “โฆษณา” เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของงานสร้างสรรค์ การสื่อสารตลาดมีผลต่อ “ผู้บริโภค” อย่างมาก เพราะสินค้าไม่เพียงมุ่งสร้างการรับรู้แบรนด์(Brand Awareness) แต่ต้องกระตุ้น “ยอดขาย” ได้ด้วย

กว่า 2 ปีของวิกฤติโควิด-19 ระบาด กระเทือนการสร้างสรรค์และผลิตงานโฆษณาไม่น้อย ทว่า หลังสถานการณ์คลี่คลาย กูรูในวงการมองบวกตลาดฟื้น พร้อมเดินหน้าจัดงานใหญ่ “วันความคิดสร้างสรรค์แห่งชาติ หรือ Adman Awards & Symposium 2022” ภายใต้ธีม Shift Happens ซึ่งคนแวดวงโฆษณา นักการตลาด เหล่าครีเอทีฟหลากหลายวงการร่วมแชร์แนวโน้มในอนาคต

รติ พันธุ์ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย เล่าว่า แต่ละปีมีการสร้างสรรค์งานโฆษณาสู่ตลาดนับ “หมื่นชิ้น” อดีตการผลิตที่เคยใช้เงิน 8-10 ล้านบาท ปัจจุบันลดเหลือหลัก 5 ล้านบาท และต่ำกว่านั้นจนถึงหลักแสน และงานโฆษณาที่เคยอยู่บนสื่อนานนับปี กลับสั้นลงเหลือ 6 เดือน เป็นสัปดาห์ยังมี

สัญญาณต่างฟื้นตัว จึงให้ “นิยาม” อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปี 2565 กลับมาคึกคักแล้ว ส่วนปี 2566 เชื่อมั่นจะเป็นปีที่ดี โดยแง่ของเม็ดเงินโฆษณาจะช่วงเวลาที่แบรนด์ต่างๆจะเก็บเกี่ยวโอกาสทำเงิน รอให้ทุกอย่างลงตัวมากขึ้น โดยเฉพาะจากแรงหนุน “ภาคการท่องเที่ยว” ที่จะฟื้นตัวโตต่อเนื่อง

ขณะที่การขับเคลื่อนผลงานโฆษณา “ไอเดียสร้างสรรค์” ยังเป็น “แกนกลาง” หรือหัวใจสำคัญของทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้า การตลาด การสื่อสาร ฯ ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ เศรษฐกิจได้

เตือนโฆษณา อย่ายึดติดความปัง! งานสร้างสรรค์ต้องมีจรรยาบรรณ สื่อสารตรงปก ทว่า ความเปลี่ยนแปลงหลังโควิด แบรนด์ไม่สามารถทำสิ่งเดิม เพื่อหวัง “ผลลัพธ์ใหม่” ได้อีกต่อไป นักครีเอทีฟต้องมีองค์ความรู้ เทคโนโลยี เสริมแกร่งให้การทำงานมากยิ่งขึ้น

อีกมิตินักครีเอทีฟ ผู้สร้างสรรค์คอนเทนท์ สื่อ ต้องอย่าให้คำว่า “ปัง!” มีอิทธิพลกับชีวิต การทำงานมากเกินไป เพราะหลายเหตุการณ์ให้ “บทเรียน” จากการโฆษณาเกินจริง ไม่ตรงปก เข้าข่ายหลอกหลวง ทำให้สังคมเริ่มปรับตัวแก้ไข และเกิดการ “คว่ำบาตร” ยิ่งกว่านั้นงานสร้างสรรค์รูปแบบดังกล่าวได้ “ทำลายแบรนด์” และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

“ท่ามกลางการแข่งขันรุนแรงเคร่งเครียด ทุกคนอยากมีมีแสง จนลืมจรรยาบรรรณ ซึ่งเราประณามงานครีเอทีฟที่ไร้รสนิยมและจรรยาบรรณ ทุกคนมีสิทธิขายสินค้า สื่อสาร แต่ต้องระวัง เพราะผู้บริโภคคือลูกหลานเราเอง และอย่าให้คำว่าปัง มีอิทธิพลต่อชีวิตมากไป”

เตือนโฆษณา อย่ายึดติดความปัง! งานสร้างสรรค์ต้องมีจรรยาบรรณ สื่อสารตรงปก

ธราภุช จารุวัฒนะ 

ธราภุช จารุวัฒนะ นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย(MAAT) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทย มองอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปี 2565 ฟื้นตัวใกล้เคียงก่อนเผชิญโควิด-19 ระบาด แม้ภาพรวมการฟื้นตัวจะกินเวลาราว 2 ปี เป็น “ครั้งแรก” จากปกติหลังเกิด “วิกฤติ” เพียง 1 ปี อุตสาหกรรมจะเข้าสู่ภาวะปกติ

เม็ดเงินโฆษณามีมูลค่า 1.2-1.3 แสนล้านบาท(ไม่รวมงานโปรดักชั่น) ปีนี้ยืนยันเติบโต แต่จะอยู่ในรูปแบบ K-Shape หมวดอุตสาหกรรมที่ยังเทงบสื่อสารการตลาด สามารถคว้าโอกาสเติบโต โกยยอดขายได้ ตัวอย่าง ช่วงวิกฤติค้าปลีก อีคอมเมิร์ซ สถาบันการเงิน ฯ จะ “ชะลอ” ใช้เงิน แต่ปีนี้กลับรุกหนัก ส่วนกลุ่มที่ยังเตะเบรก เพราะห่วง “ต้นทุน” อาจหายไปจากตลาด

ปี 2566 “ต้นทุนพุ่ง” ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงให้แบรนด์ “ประหยัด” งบโฆษณา แต่อาจเกิดขึ้นช่วงแรก เพราะสุดท้ายปลายปีต้องโหมใช้จ่ายกระตุ้นยอดขาย

“การใช้งบตลาดมีทั้งขึ้นและลง ถ้าตัดงบต้นปี ปลายปีจะกลับมาใช้จ่าย”

เตือนโฆษณา อย่ายึดติดความปัง! งานสร้างสรรค์ต้องมีจรรยาบรรณ สื่อสารตรงปก เวลานี้ “ฟุตบอลโลก 2022” กำลังขับเคี่ยวเข้าโค้งสุดท้ายรอบน็อคเอาท์ และหาคู่ชิง เป็นอีกตัวแปรสร้างความคึกคักให้อุตสาหกรรมโฆษณา เรทติ้ง “ทีวีดิจิทัล” ขยับขึ้น ผู้ชมแฮปปี้ แต่อีกด้านขาดแคมเปญสร้างสีสัน เพราะการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดค่อนข้างกระชั้นชิด รวมถึงมีภาคเอกชน “ลงขัน” ทำให้สปอนเซอร์ได้เอ็กซ์คลูสีฟทำกิจกรรม สื่อสารการตลาด

“ฟุตบอลโลก 2022 กระแสดี ทั้งเรทติ้ง คนดู แต่แคมเปญต่างๆของแบรนด์อาจเตรียมการไม่ทัน ไม่กว้าง ถ้ามีเวลาล่วงหน้าอาจสนุกกว่านี้ เพราะปกติทั้งสื่อ กองบรรณาธิการ จะมีการซื้อพื้นที่ข่าวกีฬารอ รอบนี้อาจไม่สะใจเหมือนทุกครั้ง”