ติดอาวุธ SOFT ให้แบรนด์ ตอบอินไซต์ ผู้บริโภค คลั่งซอฟต์พาวเวอร์

ติดอาวุธ SOFT ให้แบรนด์  ตอบอินไซต์ ผู้บริโภค คลั่งซอฟต์พาวเวอร์

นอกจากมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจ ทหาร(Hard Power) ระยะหลัง อำนาจละมุน(Soft Power)ถูกพูดถึงในระดับโลก เพราะเป็นอีกหนึ่งที่สะท้อนความยิ่งใหญ่ของประเทศด้านสังคม วัฒนธรรม อาหารการกิน ละคร ซีรีย์ ภาพยนตร์ การท่องเที่ยว ฯ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตมั่งคั่ง

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู จึงทำการสำรวจมุมมองคนไทยในการใช้ “ซอฟต์พาวเวอร์” ผ่านกลุ่มตัวอย่างกว่า 1,000 คน ทั้งชายและหญิง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ครอบคลุมเจนเนอเรชั่นซี(Z) เจนวาย เอ็กซ์ และเบบี้บูม

ทั้งนี้ ผลสำรวจมีประเด็นที่น่าสนใจ ไม่เพียงมิติการตลาด ที่แบรนด์นำไปต่อยอดได้ แต่สะท้อนให้ภาครัฐเห็นทิศทางของผู้บริโภคชาวไทยด้วย

กีรติ ศิริมงคล นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) หัวหน้าทีมวิจัย เท้าความ “ซอฟต์พาวเวอร์” ในโลกมีมายาวนานนับร้อยปี หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญคือการเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ 5 ทำความเข้าใจกับชาติที่คุกคามประเทศไทย การแก้ปัญหาความขัดแย้ง แสวงหาชาติพันธมิตร เพื่อช่วยส่งเสริม และสร้าง “ความมั่นคงของประเทศชาติ”

แม้แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังนิยามซอฟต์พาวเวอร์ เป็นสิ่งที่ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกับใคร เป็นลักษณะการทูตที่สมดุล แม้เกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมือง วัฒนธรรฒ ประเพณี กีฬา อาหาร ฯ ตลอดจนสิ่งที่ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทำ โดยเฉพาะการ Live ผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ปรุงแต่งตัดต่อ เป็นต้น

เมื่อ “ซอฟต์พาวเวอร์” สำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้คนคล้อยตาม แทรกซึมเข้าถึงทุกคนโดยไม่รู้ตัว ขณะที่ยุคปัจจุบันสิ่งที่ทรงพลังมาก ต้องยกให้ “สื่อและอุตสาหกรรมบันเทิง” ซึ่งหลายประเทศทั่วโลก กำลังขับเคี่ยวแข่งขันแย่งเม็ดเงินจากผู้บริโภค

ติดอาวุธ SOFT ให้แบรนด์  ตอบอินไซต์ ผู้บริโภค คลั่งซอฟต์พาวเวอร์ เจาะลึกประเทศที่ทรงพลังสุดในโลกด้านซอฟต์พาวเวอร์ ในสายตาผู้บริโภคชาวไทย พี่เบิ้ม “สหรัฐ” นำโด่ง 45% ตามด้วยจีน 27% เกาหลีใต้ 13% ญี่ปุ่น 8% อังกฤษ 6% ปัจจัยหนุนความทรงพลัง มาจากเศรษฐกิจ สื่อและความบันเทิง การเมือง เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวไทย ยังมองซอฟต์พาวเวอร์ที่ทรงพลังต่างกัน เช่น ด้านวัฒนธรรมยกให้เกาหลีใต้มาที่ 1 ตามด้วย จีน และญี่ปุ่น ด้านศิลปะและวรรณกรรม ต้องญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ตัวแม่ไลฟ์สไตล์และแฟชั่น เกาหลีใต้ สหรัฐ และญี่ปุ่น เป็นต้น

เมื่อเจาะซอฟต์พาวเวอร์ด้านเพลง ผู้บริโภคยุคเบบี้บูม ฟังแล้ว ต้องการซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับศิลปิน ส่วนคนรุ่นใหม่ เจนเอ็กซ์ วาย ซี อยากเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม

ในมิติการตลาด เมื่อเห็นอินไซต์ดังกล่าว แบรนด์นำมาต่อยอดได้ เช่น แจ็คสัน หวัง ที่มีค่ายเพลง ทีมหวัง ดีไซน์ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมาย

การดูหนัง ซีรีย์ เป็นอีกเทรนด์มาแรง โดยคอนเทนท์จากเกาหลีใต้ สหรัฐ และจีนครองใจคนไทย อินไซต์หลังเสพรายการโปรด เจนซี และเบบี้บูม ขอเดินรอยตามการท่องเที่ยว ส่วนเจนเอ็กซ์ วาย ขอทานอาหารตามซีรีย์ เป็นต้น

ติดอาวุธ SOFT ให้แบรนด์  ตอบอินไซต์ ผู้บริโภค คลั่งซอฟต์พาวเวอร์ นอกจากซอฟต์พาวเวอร์ ต่างประเทศ ผู้บริโภคยังเชื่อในศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ที่อยากอวดสุด ยกให้อาหาร บริการดี ยิ้มแย้ม และการใส่รัดเกล้าของ “ลิซ่า แบล็กพิงก์” ในมิวสิควิดีโอ LALISA

เมื่อซอฟต์พาวเวอร์ทรงพลังมากในโลกการตลาด กลยุทธ์ซอฟต์ (SOFT Strategies)ช่วยติดอาวุธให้แบรนด์สินค้าแทรกซึมเข้าไปอย่างแนบเนียนในกลุ่มผู้บริโภค ดังนี้ 1.Absorb แบรนด์แทรกซึมเข้าไปอยู่ใกล้ตัวผู้บริโภคแบบเนียนๆ ให้เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบของผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความรู้สึกยึดโยงกับแบรนด์ ตัวอย่าง ของท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ ใช้บุคคลิกการเป็นคนทำงาน ทำงาน ทำงาน ค่อยๆ แทรกซึม และสร้างความน่าเชื่อถือ จนทำให้คนกรุงเทพ เชื่อมั่นและเลือกให้ท่านเป็นผู้ว่าฯกทม.คนใหม่

ติดอาวุธ SOFT ให้แบรนด์  ตอบอินไซต์ ผู้บริโภค คลั่งซอฟต์พาวเวอร์ 2.Extraordinary ทำความธรรมดาให้พิเศษ สร้างสรรค์เนื้อหาให้น่าสนใจ จนครองใจลูกค้า ตัวอย่างแบรนด์น้ำพริกแม่ประนอม ดึงแข็งของแบรนด์เก่าแก่กว่า 63 ปี แต่ทำตลาดได้ใจเจนซี 3.Fast การตลาดของแบรนด์จะต้องทันกระแสและสถานการณ์เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับการรับรู้ของผู้บริโภค และปรับตัวให้ทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว กรณีศึกษา ฟู้ดแลนด์ นำ ข้าวผัดอเมริกัน และซุปข้าวโพด มาจัดเซ็ทจำหน่าย หลัง “แจ็คสัน หวัง” ชื่นชอบพูดออกรายการ

4.Consistencyการสื่อสารของแบรนด์ต้องทำอย่างต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกๆ ช่องทาง เพื่อให้เกิดความกลมกลืน ซึมซับจนนำไปสู่การสร้างภาพจำของแบรนด์ต่อไป เช่น ตัน ภาสกรนที ปั้น “อิชิตัน ภายใน 1 ปี ขึ้นเบอร์ 2 ตลาดชาพร้อมดื่ม