ดีมานด์โตรับเทรนด์ การเงินเพื่อความยั่งยืน

ดีมานด์โตรับเทรนด์  การเงินเพื่อความยั่งยืน

ข้อมูลจากของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KBANK) ระบุว่าการเงินเพื่อความยั่งยืนทั่วโลกมีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนในปี 2564มีมูลค่า 929,700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเติบโต 10 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะมูลค่าสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน

ในปี 2564มีมูลค่า 716,561ล้านดอลลาร์ หรือเติบโต 7 เท่าจากปี 2561ขณะที่ประเทศไทย ณ ไตรมาส 2 ปี 2565มีมูลค่าตราสารหนี้คงค้างด้านความยั่งยืน จำนวน 330,049 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็น Sustainability Bond ของรัฐบาล ลำดับถัดมาคือ Green Bond เพื่อใช้ในโครงการด้านพลังงาน

ในปี 2565จะมีการออกตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน 76,000 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน12.1% ตามมุมมองเศรษฐกิจที่ขยายตัว อย่างไรก็ดี ในระยะ 2 – 3 ปีข้างหน้า แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จะส่งให้ผลให้การออกตราสารหนี้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ในระยะยาวนโยบายด้านพลังงานทดแทนและการสนับสนุนของหน่วยงานกำกับภาคการเงินจะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้ตราสารหนี้ด้านความยั่งยืนได้รับความนิยมมากขึ้น

ทั้งนี้ในภาคการเงินเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่เป็นตัวกลางในการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยสาเหตุที่ทำให้การเงินยั่งยืนได้รับความนิยมอย่างมากมาจากการให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามองค์การสหประชาชาติ(SDGs) และการมีส่วนร่วมในข้อตกลงปารีส Paris Agreement เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ