คิบบุตช์-โมชาฟ นิคมการเกษตรที่เติบโตด้วย Innovation ในประเทศอิสราเอล(จบ)

คิบบุตช์-โมชาฟ นิคมการเกษตรที่เติบโตด้วย Innovation ในประเทศอิสราเอล(จบ)

การทำการเกษตรแบบเดิมที่เกษตรกรไม่พัฒนาความรู้ ขาดการรวมตัว ถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มทุน เกษตรกรเต็มไปด้วยหนี้สินล้นพ้นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) เป็นต้นแบบของการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบของสหกรณ์ที่น่าสนใจเช่นเดียวกับสหกรณ์การเกษตรหุบกระพง รูปแแบบของการรวมตัวของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรีและนครปฐม ที่อาศัยในพื้นที่ดอน

เลี้ยงวัวไว้ใช้ในการไถนา กระจายกันอยู่ในพื้นที่อำเภอโพธาราม และพื้นที่ติดต่ออำเภอเมืองนครปฐม ไม่ได้พักอาศัยในนิคมเหมือนเกษตรกรในสหกรณ์การเษตรหุบกระพง ทางราชการได้สนับสนุนให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงโคนมในหลายหมู่บ้าน

ในระยะแรกของการรวมกลุ่มก็ประสบปัญหาในการจำหน่ายน้ำนมดิบ ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก กลุ่มเกษตรกรจึงได้จัดตั้งสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมที่ตำบลหนองโพ

ในปี พศ 2514 เป็นสหกรณ์ประเภทบริการชื่อสหกรณ์โคนมราชบุรี มีสมาชิกแรกตั้ง 185 คน ต่อมาในปี พศ 2516 ได้ยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเป็นสหกรณ์ประเภทการเกษตรวัตถุประสงค์สำคัญคือการช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันและช่วยตัวเองในการประกอบอาชีพ มีรายได้ที่แน่นอน มีมาตรฐานการครองชีพที่สูงกว่าเดิม เน้นการผลิตที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐาน ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการบริโภคนมที่เป็นประโยชน์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง ก่อสร้างโรงงานนมผง ณ ตำบลหนองโพ โดยดำเนินการในรูปบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่า บริษัท ผลิตภัณฑ์นมผงหนองโพ จำกัด ซึ่งมีต้นแบบจากโรงนมผงสวนดุสิต ในปี พ.ศ. 2515 และในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการจัดสร้างโรงงานใหม่ ติดตั้งเครื่องจักรและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อรองรับปริมาณนมดิบที่เพิ่มมากขึ้น

ด้วยพระวิจารณญาณอันกว้างไกลที่ทรงดำริให้สร้างโรงงาน เพื่อให้เกษตรกรผู้ผลิตนมเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์และจำหน่ายเอง ทำให้ปัญหาเรื่องนมล้นตลาดหายไป สมาชิกส่วนใหญ่มีรายได้ดีขึ้นกว่าเดิม ลูกหลานของสมาชิกร้อยละ 80 ยังทำงานในโรงงานด้วย ทรงรับสั่งว่า พยายามใช้กลไกมากกว่าคนใช้ 

เมื่อคนมีความผูกพัน มีการรวมกันย่อมมีความภักดีต่อองค์กร องค์กรย่อมเจริญรุดหน้า เช่นเดียวกับสหกรณ์โคนมหนองโพ ซึ่งกลายเป็นแรงจูงใจที่สำคัญยิ่งที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นต้นแบบของสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ

รูปแบบของคิบบุตซ์-โมชาฟ ที่นำมาปรับใช้ในสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง ในด้านการพัฒนาระบบชลประทาน และเทคนิคการเกษตรให้ดีขึ้น นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยและอิสารเอลมีการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงปฏิบัติการ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติ

ที่เป็นเลิศ มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายทศวรรษ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และความมั่นคงของเกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนวัตกรรม ใช้ประโยชน์จากกลไกความร่วมมือของสองประเทศ อาศัยจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาเกื้อกูลกัน

อิสราเอลได้จัดสรรงบประมาณด้านการการวิจัยและพัฒนาขีดความสามารถทางนวัตกรรม 5.4% ของ GDP เป็นประเทศที่มีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ในปี พศ 2562-2563 ในขณะที่ไทยจัดสรรงบประมาณส่วนนี้เพียง 2% จนถึงปี พศ 2570

ภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร จะต้องจับมือกันเป็นหุ้นส่วน พัฒนาผลผลิตและองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ทันสมัย สถาบันการศึกษาจะต้องสร้างยุวเกษตรกร หรือเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young smart farmer) ให้เป็นผู้นำการเกษตรสมัยใหม่ มีความรู้ด้านการเษตรพื้นฐาน และความรู้ความสามารถด้านเท็คโนโลยี่ ผลักดันให้เกิดแนวคิดการเกษตรสร้างสรรค์ การกำหนดกรอบกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อรองรับเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่

การทำการเกษตรแบบเดิมที่เกษตรกรไม่พัฒนาความรู้ ขาดการรวมตัว ถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มทุน เกษตรกรเต็มไปด้วยหนี้สินล้นพ้นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน…