ผู้ถือหน่วยรายย่อย JASIF ร้อง ก.ล.ต. คุ้มครอง-ถอดวาระ 1.3-1.4 แก้ไขสัญญาเช่า

ผู้ถือหน่วยรายย่อย JASIF ร้อง ก.ล.ต. คุ้มครอง-ถอดวาระ 1.3-1.4 แก้ไขสัญญาเช่า

"รังสรรค์ บำบัดสรรพโรค"  ผู้ถือหน่วยรายย่อย JASIF ยื่นหนังสือถึงก.ล.ต. ขอให้คุ้มครองผู้ถือหน่วยลงทุน -พิจารณาถอดถอนวาระการประชุมผู้ถือในวาระที่ 1.3 และวาระ 1.4 "แก้ไขสัญญาเช่า -ยกเลือกประกันรายได้ค่าเช่า" ในการประชุมวันที่ 23 ก.ย.65

     นายรังสรรค์ บำบัดสรรพโรค  ผู้ถือหน่วยรายย่อยของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) กล่าวว่า ส่วนตัวและกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวน 11ราย ถือหน่วยJASIF ประมาณ 7-8 ล้านหน่วย  ได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอให้คุ้มครองผู้ถือหน่วยลงทุนJASIF โดยพิจารณาถอดถอนวาระที่ 1.3 และว ะ 1.4 ของการประชุมวิสามัญผู้ถือหน่วยลงทุนครั้งที่ 1/2565

      ทั้งนี้จากหนังสือของบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.)บัวหลวง ที่ 1351/2565 ลงวันที่ 4 ส.ค. 2565 ถึงกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แจ้งกำหนดการประชุมวิสามัญผู้ถือหน่วยลงทุนครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 23 ก.ย. 2565 และกำหนดให้วันที่  19 ส.ค. 2565 เป็นวันที่กำหนดรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิ์ในการประชุม

โดยมี วาระในการประชุม วาระที่1.1, 1.2, 1.3 และ 1.4 เพื่อพิจารณาอนุมัติผ่อนผัน และ/หรือ แก้ไขรายละเอียดบางประการในสัญญาจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และยกเลิกสัญญาบางฉบับที่เกี่ยวข้อง และแก้ไข โครงการจัดการกองทุนรวม(ตามรายละเอียดหนังสือที่1351/2565 ลงวันที่4 ส.ค. 2565 

นายรังสรรค์ กล่าวว่า  ผมในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อยJASIF เห็นว่า วาระดังกล่าวมีบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ไม่เป็น ประโยชน์และจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อผู้ถือหน่วยลงทุนJASIFและกองทุนJASIF ดังนี้  

     1. วาระที่1.3 การขออนุมัติผ่อนผัน และ/หรือแก้ไขรายละเอียดบางประการที่เกี่ยวข้องกับการเช่า และค่าเช่าเส้นใยแก้วนำแสง(OPCs) และยกเลิกสัญญาประกันรายได้ค่าเช่า และสัญญาให้บริการจัดหาผู้เช่าทรัพย์สิน การขออนุมัติยกเลิกสัญญาประกันรายได้ค่าเช่า ที่เพิ่งได้รับการต่อสัญญาไปอีก 3 ปี เมื่อวันที่23 พ.ค.2565จากเดิมจะครบกำหนดวันที่ 20 พ.ย.2565 เป็นครบกำหนดวันที่ 20 พ.ย.2568

      โดยกองทุนJASIF มีรายได้ค่าเช่าจากสัญญานี้ปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท รวมระยะเวลา 3 ปี เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท ซึ่งจะเกิดความเสียหายต่อผู้ถือหน่วยJASIFและกองทุนJASIF เป็นอย่างมากหากมีการอนุมัติวาระนี้ 

         2. ช่วงก่อนและหลังการเกิดข่าวดีลจะซื้อจะขายโดยมีเงื่อนไขขอยกเลิกสัญญาประกันรายได้และขอลดค่าเช่าช่วง วันที่16 มิ.ย.2565 ถึง 5 ส.ค. 2565 หุ้นJASIF เกิดPANIC มีปริมาณการซื้อขายกว่า 1,500 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้น ลดลงจากหุ้นละ 10.80 บาท คงเหลือต่ำสุดที่8.60 บาท ลดลงกว่า 20%  ซึ่งในส่วนนี้คาดว่ามีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่แน่นอน

         3. จากข้อมูลการประชุมลงมติของผู้ถือหน่วยJASIF ที่ผ่านมาล่าสุด มีผู้ถือหน่วยลงทุนเข้าร่วมประชุมประมาณ 50% ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งสิ้น 8,000 ล้านหุ้น คือเท่ากับประมาณ 4,000 ล้านหุ้น ซึ่งถ้าหักหุ้นในส่วนของJAS 19% ออกจำนวน 1,520 ล้านหุ้น จะคงเหลือ 2,480 ล้านหุ้น 

      ถ้าต้องโหวตผ่านโดยใช้มติ3ใน4 คือ 1,860 ล้านหุ้น ซึ่งจัดว่าไม่มาก หากเปรียบเทียบกับจำนวนเงินที่จะได้หรือจะเสียประโยชน์จ านวน 9,000 ล้านบาท และตามข้อมูลในข้อ2. ช่วงเดียว ก็มีการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นถึงกว่า 1,500 ล้านหุ้น ทำให้มีโอกาสและความเป็นไปได้สูง ซึ่งหากมีการวางแผนและเตรียมการล่วงหน้า อาจมีผลโหวตอนุมัติวาระที่ 1.3 จะทำให้กองทุนJASIFและผู้ถือหน่วยJASIF กว่า 46,000 คน จะได้รับความเสียหายในส่วนนี้ทันทีเป็นจำนวน เงิน 9,000 ล้านบาท(รายได้ค่าเช่าจากสัญญาปีละ 3,000 ล้านบาท) 

ในส่วนนี้ผู้กำหนดวาระในการประชุมจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุนJASIF ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่จะ เกิดขึ้นนี้ 

4. การที่ บลจ.บัวหลวง เรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ตามข้อ12.1.6 ของหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ กองทุน ตามที่JAS ร้องขอมานั้น บลจ.บัวหลวง ควรจะต้องบริหารจัดการกองทุนตามหนังสือชีช้วนข้อมูลกองทุน รวมตามรายละเอียดโครงสร้างจัดการกองทุนรวมJASIF ควบคู่กันไปด้วย คือ ต้องบริหารและจัดการกองทุน

รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของกองทุน ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อ ประโยชน์ของผู้ถอืหน่วยลงทุนด้วย การนำเอาวาระที่1.3 เข้าเป็นวาระในการขออนุมัติถือว่าเป็นการไม่ถูกต้อง ขาดความระมัดระวัง อาจทำให้เกิด ความเสียหายต่อผู้ถือหน่วยของJASIFอีกกว่า 46,000 ราย และผลเสียต่อผลประกอบการและราคาหุ้นJASIF ได้

 5. ด้วยดีลการซื้อขายที่เกิดขึ้น JASในฐานะผู้สนับสนุนกองทุนและเป็นผู้จะขายก็ได้ประโยชน์ ผู้จะซื้อก็ได้ประโยชน์และทั้งงสองฝ่ายได้รับทราบเงื่อนไขที่JAS และTTTBB ต้องปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขกับJASIFอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการซื้อขายควรเป็นไปอย่างยุติธรรมมีความ   เป็น บรรษัทภิบาล มีความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายการซื้อขายควรเป็นไปตามปกติต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ควรเปล่ียนแปลงแต่เฉพาะตัวผู้สนับสนุน ส่วนเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามสัญญาและเงื่อนไขเดิม

 6. ขอให้บลจ.บัวหลวง เพิ่มเติมข้อความท้ายวาระที่1.1และ 1.2 ว่า “ ข้อตกลงจะไม่โอนหน่วยลงทุนที่อันจะส่งผลให้สัดส่วนการถือหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้สนับสนุนต่ำกว่ากำาหนดในข้อตกลงดำเนินการ(Look-up Undertaking) จะยัง ดำรงอยู่ต่อไป” 

7. ไม่ควรนำสิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว มากำหนดเป็นข้อต่อรองในการขอยกเลิกสัญญาเช่า และขอแก้ไขรายละเอียด เกี่ยวกับสัญญาเช่าและอื่นๆ ตามวาระที่1.3และวาระที่1.4 ด้วยเหตุผลดังนี้

  7.1 ไม่ว่าดีลนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม เมื่อสัญญาหลักครบกำหนดในปี2575(ครบ 10ปี) นักวิเคราะห์ทั่วไปได้คาดการณ์กันอยู่แล้วว่า จะมีการต่ออายุสัญญาออกไปโดยขอลดค่าเช่าลงบางส่วน เพราะฉะนั้นการ ต่ออายุสัญญาจะเกิดขึ้นแน่นอน 

7.2 การขายทรัพย์สินเข้ากองทุนJASIF ในกรณีที่ดีลเกิดขึ้นโดยผู้จะซื้อไม่ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกสัญญาประกันรายได้และลดค่าเช่าก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการขายทรัพย์สินเข้ากองJASIFจะเกิดขึ้น เพราะการขายทรัพย์สินเข้ากองเดิมคือJASIF สะดวกและรวดเร็ว เพียงเรียกประชุมผู้ถือหุ้นก็จบแล้ว ต่างกันกับการตั้งกองใหม่ซึ่งไม่คุ้ม เสียเวลาต้องFilingใช้เวลานาน 

รวมถึงการขายทรัพย์สินเข้ากองเดิม มีข้อดี อีกมากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าTRUE ก็ขายทรัพย์สินเข้ากองDIF มาแล้ว 2 ครั้ง จากเหตุผลและข้อมูลดังกล่าวข้างต้น

 ทั้งนี้ผมในฐานะผู้ ถือหน่วยลงทุนJASIF ขอความเป็นธรรมจากท่าน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โปรดให้ความคุ้มครองแก่ผู้ถือหน่วยลุงทุนของJASIF โดยถอดถอน วาระที่ 1.3และ 1.4 ออกจากการประชุมวิสามัญผู้ถือหน่วยลงทุนJASIF ครั้งที่1/2565 ในวันที่23 ก.ย.2565และกรุณาตรวจสอบการทำหน้าที่และความรับผิดชอบของ บลจ.บัวหลวง ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของ JASIF ว่าได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหนังสือชี้ชวนข้อมูลกองทุนรวมตามรายละเอียดโครงสร้างจัดการกองทุนรวมJASIF ที่ กำหนดไว้หรือไม่