ก.ล.ต.เผยผลตอบแทนสินทรัพย์ดิจิทัลต้นปี65ร่วงแรง KUB ติดลบสูงสุด25%

ก.ล.ต.เผยผลตอบแทนสินทรัพย์ดิจิทัลต้นปี65ร่วงแรง KUB ติดลบสูงสุด25%

ก.ล.ต.เผยภาวะสินทรัพย์ดิจิทัลรายสัปดาห์ วอลุ่มซื้อขายแผ่วลง 3.07 พันล้านต่อวัน เหตุผลตอบแทนลดลงมากกว่าหุ้น-ทองคำ-น้ำมัน โดย Kub ผลตอบแทนติดลบมากที่สุด 25.23% วอลุ่มนักลงทุนรายย่อยในประเทศลดลงต่อเนื่องตั้งแต่พ.ย.64 -จำนวนบัญชีซื้อขาย Active มีไม่ถึง50%

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยภาวะตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลรายสัปดาห์ (15 เม.ย.)  ว่า ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกมีมูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 59.4 ล้านล้านบาท) โดยกว่า 41.44% มาจากบิตคอยน์ (Bitcoin) และมีมูลค่าการซื้อขายล่าสุด 93.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (ราว 3.07 พันล้านบาท) 

ก.ล.ต.เผยผลตอบแทนสินทรัพย์ดิจิทัลต้นปี65ร่วงแรง KUB ติดลบสูงสุด25% โดยสินทรัพย์ดิจิทัลให้ผลตอบแทนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้น ทองคำ และน้ำมัน แม้พบว่า ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนลดลงมากเมื่อเทียบกับราคาหุ้น

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2565 ผลตอบแทนสินทรัพย์ดิจิทัลยังอยู่ในแดนลบ โดย Kub ให้ผลตอบแทนติดลบมากที่สุด 25.23% ขณะที่ Bitcoin ติดลบ น้อยกว่าที่ 13.79%  ส่วนถ่านหิน (coal)  เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด 66.94%

ทั้งนี้ มูลค่าการซื้อขายสะสมแยกตามประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล พบว่าค่อนข้างกระจายตัว โดย เทเทอร์ (Tether) อยู่ที่ 5.45 แสนล้าน หรือ 12.73% รองลงมาบิตคอยน์(Bitcoin) อยู่ที่ 4.78แสนล้านบาท หรือ 11.15%  และกาล่า  (GALA)อยู่ที่3.53 แสนล้านบาท หรือ 11.42%

สำหรับมูลค่าการซื้อขายเริ่มกลับมาสูงขึ้นตามแนวโน้มราคาของตลาดคริปโตเคอเรนซี โดยพบว่าเหรียญสกุลบิตคอยน์และอีเธอเรียม ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าเหรียญสกุลอื่นๆ ดังนั้น จึงเริ่มมีการกระจาย ตัวของมูลค่าการซื้อขายของเหรียญต่างๆ มากขึ้น

ก.ล.ต.เผยผลตอบแทนสินทรัพย์ดิจิทัลต้นปี65ร่วงแรง KUB ติดลบสูงสุด25%

ทางด้านจำนวนบัญชีที่มีการซื้อขายของบุคคลธรรมดาในประเทศมีการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับทิศทางราคาตลาด โดยพบว่าหลังจากช่วงที่มีบัญชีที่มีการซื้อขายสูงสุดในเดือน พ.ย.ได้ปรับตัวลงต่อเนื่องตามภาวะของตลาด โดยมูลค่าซื้อขายส่วนใหญ่มาจากบุคคลธรรมดาในประเทศ 4.2หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดี นิติบุคคลต่างประเทศเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อบัญชีสูงที่สุด

โดยในเดือน พ.ย. 2564 บุคคลธรรมดาในประเทศกลับมามียอดซื้อสุทธินับตั้งแต่เดือน ก.ย.2564 ในขณะที่ผู้ซื้อขายประเภทอื่นมียอดขายสุทธิ อย่างไรก็ดี ในเดือน มี.ค.2565 บุคคลธรรมดาในประเทศมียอดขายสุทธิ ในขณะที่นิติบุคคลต่างประเทศมียอดซื้อสุทธิ

อีกทั้งจำนวนบัญชีซื้อขายที่ Active ในแต่ละเดือนมีทิศทางสอดคล้องกับราคาบิตคอยน์ ในขณะที่บัญชีซื้อขายทั้งหมดเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ พบว่า จำนวนบัญชีซื้อขายที่ Active ต่อเดือนมีไม่ถึงครึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนบัญชีซื้อขายทั้งหมด

มูลค่าซื้อขายของผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาค่อนข้างสอดคล้องกับราคาบิตคอยน์ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับมูลค่าซื้อขายของผู้ลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้น (SET) พบว่า ยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก

ในปี 2565 สัดส่วนการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลค่อนข้างกระจายตัวไปหลายประเภทอื่น ๆ(ณ11 เม.ย. 2565)