Sideways Up เก็งกำไร SICT SCB DTAC (4 เม.ย. 65)

Sideways Up เก็งกำไร SICT SCB DTAC (4 เม.ย. 65)

คาดดัชนีฯ Sideways Up แนวต้าน 1,707 จุด / 1,718 จุด แนวรับ 1,690 จุด / 1,685 จุด แนะนำ เก็งกำไร SICT SCB DTAC ทางเทคนิค ดัชนีฯ อยู่ในทิศทางขาขึ้นไปทดสอบแนวต้านเดิม 1,718 จุด

โดยจะมีสัญญณขายต่อเมื่อดัชนีฯ หลุดแนวรับเดิม 1,685 จุด ไฮไลท์วันนี้ จับตาการประชุมผู้ถือหุ้น DTAC และ TRUE เพื่ออนุมัติแผนควบรวมฯ ก่อนรออนุมัติจาก กสทช. สหรัฐฯ รายงานคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานเดือน ก.พ. และเยอรมนี รายงานดุลการค้าเดือน ก.พ.

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

      +KTZ Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH AJ DOD MC SGP TFG TWPC UTP XO SAT SMT (ซื้อเพิ่ม TPIPL) ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC BEC TCAP JMT CENTEL BH ADVANC AOT BBL EA DTAC COM7 KBANK MINT KTB PLANB BLA

      +/-ราคาน้ำมันดิบร่วง: +หุ้นอิงการบริโภคและต้นทุนน้ำมันสูง วัสดุก่อสร้าง โรงไฟฟ้า สายการบิน ค้าปลีก รับเหมาฯ SCC SCCC TASCO SCGP DCC GPSC BGRIM GULF AAV BA BJC CK STEC TU -Commodity Play PTTEP BANPU KSL TWPC PTT INOX; TOP ESSO IRPC BCP (Stock Gain)

 +ดอกเบี้ยขาขึ้น: +กลุ่มการเงิน BBL KBANK SCB BLA THREL

 +เงินบาทอ่อนค่า: +ส่งออก KCE HANA DELTA AH SAPPE TWPC ท่องเที่ยว CENTEL ERW MINT AOT SPA BAFS

 +1Q22E Earning Play: ลุ้นผลกำไร 1Q22E +BCH BH HANA DTAC PTTEP MAJOR KBANK BBL

 -XD Effect: สัปดาห์นี้ กระทบต่อดัชนีฯ -1.60 จุด นำโดย SCC SCGP BANPU BPP

 

ปัจจัยบวก

+Fund Flow: ตลาดหุ้นไทย / ตลาดอนุพันธ์ สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 10 +12,438 ล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +5,021.09 ล้านบาท) และกลับมาเปิด Long Set 50 Index Futures สูงถึง 43,227 สัญญา (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า Short -3,383 สัญญา)

+สถิติการลงทุนเดือน เม.ย.: SET Index Statistic ย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2017-21) พบว่ามีโอกาส 60% ที่ดัชนีฯ ปิดบวกเฉลี่ย +3.43% MoM และหากอิงสถิติย้อนหลัง 10 ปี (2012-21) พบว่ามีโอกาสถึง 70% ที่ดัชนีฯ ปิดบวกเฉลี่ย +2.61%MoM ทั้งนี้ เดือน เม.ย. เป็นเดือนที่มีสถิติที่ดีสุดเมื่อเทียบกับอีก 11 เดือน ด้วยสถิติการปรับลดลง รายเดือนต่ำสุดรอบสิบปี (Min -0.56% ปี 2017) ขณะที่อัตราผลตอบแทนเป็นบวกสูงสุด Max +15.61% ปี 2020

 

 

ปัจจัยลบ

        -FX Risks แต่เป็นบวกต่อกลุ่มส่งออกและท่องเที่ยว: แนวโน้มค่าเงินบาท/USD ระยะสั้น มีแนวโน้มอ่อนค่า หลังจากผลประชุมกนง. เมื่อวันที่ 30 มี.ค. มีมติไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ เพื่อเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ และปรับลดประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้เป็นขำดดุล -USD6bn.

 

ประเด็นสำคัญ
 

       - Opportunity Day วันนี้ UREKA ATP30 TKS NER
       - USA รายงาน Factory Orders เดือน ก.พ. คาด -0.6% MoM (Vs เดือน ม.ค. +1.4% MoM)
       - Germany รายงานดุลการค้าเดือน ก.พ. (Vs เดือน ม.ค. +EUR 3.5bn.)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยปิดบวก: ดัชนีฯ แกว่งตัวในกรอบแคบ 1,690.70-1,701.99 จุด ก่อนมาปิดใกล้ระดับสูงสุดของวันที่ 1,701.31 จุด +6.07 จุด วอลุ่มซื้อขายเบาบาง 6.89 หมื่นล้านบาท นำขึ้นโดยกลุ่มธนาคาร +1.44% เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร +1.32% สื่อและสิ่งพิมพ์ +0.83% การแพทย์ +0.71% หุ้นบวก >4% SCB SVOA TEAMG BYD ALPHAX SVT THG AKP PPM JTS BE8 A5 CGH PLANB หุ้นลบ >4% JUTHA BWG Q-CON ILM PPPM PPS THANA

+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ & ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก: DJIA +0.4% S&P500 +0.34% Nasdaq +0.29% นำขึ้นโดยกลุ่มอสังหาฯ +2.02% แต่กลุ่ม Industrials ร่วงลงมากสุด จากรายงานภาคการผลิตเดือน มี.ค. สูงสุดตั้งแต่เดือน ส.ค. 2021 เป็น 58.8 (Vs คำด 58.5 และเดือน ก.พ. 57.3) ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 431k อัตราว่างงาน 3.6% (Vs คาดจ้างงาน 490k อัตราว่างงาน 3.7%) และประธานเฟดชิคาโก อีแวนส์ ส่งสัญญาณเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด (คาดปรับขึ้น 7 ครั้ง แต่ครั้งละ 0.25%) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปกลับมาปิดบวก DAX +0.22% CAC40 +0.37% FTSE +0.30% นำขึ้นโดยกลุ่มธนาคาร และกลุ่มเหมืองแร่ รับข่าวรัสเซียยังคงไม่ยุติการส่งก๊าซจนกว่าจะใช้ระบบชำระเงินใหม่ปลายเดือน เม.ย.

 

- น้ำมันดิบและทองคำปิดร่วง: WTI -USD1.01 ปิดที่ USD99.27/บาร์เรล Brent -USD0.32 ปิดที่ USD104.39/บาร์เรล รับข่าวสหรัฐฯ ประกาศระบายน้ำมันดิบจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่สุด 180 ล้านบาร์เรล และประเทศสมาชิก IEA อื่น ๆ เช่น ยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เตรียมร่วมระบายน้ำมันฯเช่นกัน ช่วยคลายกังวลต่อการขาดแคลนอุปทานจากการแซงก์ชั่นน้ำมันรัสเซีย ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ส่วนทองคำปิดร่วงแรง -USD30.30 ปิดที่ USD1,923.70/ออนซ์ โดยถูกกดันจากการแข็งค่าของเงิน USD0.3% หลังเปิดเผยข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯ ดีขึ้น

 

ประเด็นสำคัญ

+ Regional /ตลาดหุ้นเอเชีย 6 ชาติ: สัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 28 มี.ค. - 1 เม.ย. 2022) ตลาดหุ้นไทยถูกซื้อต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 9 (เป็นสัปดาห์ที่ 14 ในรอบ 15 สัปดาห์) +USD371mn (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +USD150mn)  ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นเอเชีย 6 ชาติต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง หลังขายต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ จำนวน +USD774mn (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +USD 504mn) โดยขายตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และซื้อตลาดหุ้นอินเดีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และไทย

+ USA: รายงานจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 431k (ต่ำกว่าคาดที่ 490k และต่ำกว่าเดือน ก.พ. ที่ 750k) ท่ามกลางภาวะตลาดแรงงานที่ยังคงอยู่ในภาวะขาดแคลน เห็นได้จากอัตราว่างงานลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2020 เป็น 3.6% (Vs คาด 3.7% และเดือน ก.พ. 3.8%) โดยจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 736k เป็น 158.458 ล้านราย และค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงเดือน มี.ค. ยังคงปรับสูงขึ้น +0.4% MoM (สูงกว่าเดือน ก.พ. ที่ +0.1% MoM แต่เท่ากับคาดการณ์ที่ +0.4% MoM) เป็น USD31.73 โดยหากเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน เติบโต +5.6% YoY สูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 2020

+/- USA: รายงานภาคการผลิตเดือน มี.ค. โดย Markit Mfg PMI เดือน มี.ค. อยู่ที่ 58.8 (สูงกว่าเดือน ก.พ. ที่ 57.3 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นที่ 58.5) สูงสุดรอบ 6 เดือน และดีกว่าคาด เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก และปัญหาอุปทานคอขวดที่เริ่มดีขึ้น หลังย่ำแย่ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2021 ขณะที่ ISM Mfg PMI เดือน มี.ค. ลดลงเป็น 57.1 (ต่ำกว่าเดือน ก.พ. ที่ 58.6 และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 59) สะท้อนภาคการผลิตเติบโตน้อยสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2020 จากปัญหาอุปทานคอขวด ขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงาน

- EU: รายงานเงินเฟ้อเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ +2.5% MoM (Vs คาด +1.9% MoM และเดือน ก.พ.+0.9% MoM) +7.5% YoY (Vs คาด +6.6% YoY และเดือน ก.พ.+5.9% YoY) ขณะที่ Core Inflation Rate เดือน มี.ค. เติบโต 3% YoY (Vs คาด 3.1% YoY และเดือน ก.พ.+2.7% YoY) นำขึ้นโดยหมวดพลังงาน +44.7% YoY(Vs กพ.+32% YoY) อาหาร แอลกอฮอร์ ยาสูบ เพิ่มขึ้น 5% YoY (Vs กพ.+4.2% YoY)

- EU: รายงานภาคการผลิตเดือน มี.ค. ลดลงเป็น 56.5 (Vs คาด 57 และเดือน ก.พ. 58.2) โดยเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2021 เนื่องจากผลกระทบสงครามยูเครน และจีนประสบปัญหาติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่แย่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 2020

-USA: Inverted Yield Curve อาจเป็นผลลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ แต่อาจไม่เป็นลบต่อทิศทางตลาดหุ้นโลก สัญญาณเตือนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า มีโอกาสเกิดภาวะ Recession มีสูงขึ้นเป็นเฉลี่ย 22% หลังจากยิลด์พันธบัตรระยะสั้น 2 ปี สูงกว่า 10 ปี เป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี หากอิงสถิติในอดีต จะพบว่าตลาดหุ้นโลกส่วนใหญ่กลับมีทิศทางที่เป็นบวก โดยครั้งล่าสุดเมื่อปี 2020 พบว่า ในช่วง 3 เดือนหลังเกิดสัญญาณ ดัชนี S&P 500 Index และดัชนี MSCI EM ปรับขึ้นเฉลี่ย +8.8% และ +13.86% ตามลำดับ ขณะที่ธปท. ยืนยันว่าประเทศไทยจะไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย อิงสัญญาณการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องในปี 2022-23 E ที่ +3.2% และ+4.4% ตามลำดับ แม้เงินเฟ้อจะเร่งขึ้นชั่วคราวในปี 2022E เป็น 4.9% จากเดิม 1.7%

- China: Caixin รายงานภาคการผลิตเดือน มี.ค. ต่ำสุดรอบ 25 ปี ที่ 48.1 (Vs คาด 50 และเดือน ก.พ. 50.4) โดยเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่สองของรอบปีนี้ เนื่องจากผลกระทบของการล็อกดาวน์ เพื่อป้องกัน COVID-19 ของรัฐบาลจีน โดย Output , New Orders หดตัวสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.พ. 2020 และยอดขายเพื่อส่งออกต่ำสุดรอบ 22 เดือน การขนส่งใช้ระยะเวลานานสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2021

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: HANA SAPPE GULF

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: SICT SCB DTAC

Derivatives: ถือ Long S50M22 รอทำกำไรตามเป้า (ติดตามรายละเอียดเพิ่มใน KTZ-D Report)