เปิด 7 ขั้นตอน ช่วยแก้ปัญหารถซดน้ำมันได้จริง?

เปิด 7 ขั้นตอน ช่วยแก้ปัญหารถซดน้ำมันได้จริง?

แม้ช่วงสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันดิบจะลดลงบ้าง ภายหลังปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา และยิ่งปรับสูงขึ้นต่อเนื่องภายหลังรัสเซียเปิดฉากบุกยูเครนอย่างหนักกระทบราคาน้ำมันทั่วโลก

สำหรับมาตรการของภาครัฐในประเทศไทยในการช่วยเหลือผู้ใช้น้ำมันดีเซลกว่า 65% คือ การตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร เพราะดีเซลเป็นน้ำมันต้นทุนสำคัญในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่ผาจส่งผลกระทบถึงราคาสินค้าที่ทะยอยปรับราคาขึ้นตามๆ กัน

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตั้งแต่แรกเริ่มเกิดการระบาดโควิด-19 ปี 2563 ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกลดลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประเทศที่ผลิตน้ำมันประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันลง จาก 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันเหลือ 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความต้องการในการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นแต่กลุ่มประเทศผู้ผลิตยังคงกำลังผลิตเพิ่มแค่ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน

ทั้งนี้ จากความต้องการในการใช้น้ำมันจึงมากขึ้นตั้งแต่สิงหาคม 2564 ราคาน้ำมันดิบขยับจาก 60-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดมาตรการจากราคาน้ำมันดิบจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงปรับสูตร B7 ลงมาเหลือ B5 จนปัจจุบันปัญหารัสเซีย-ยูเครน ได้เริ่มโจมตีวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นและมีความผันผวนจนถึงปัจจุบัน

“เพื่อให้ราคาดีเซลอยู่ที่ 29.94 จากราคาจริงที่สูงขึ้น มาตรการที่รัฐช่วยสนับสนุนมาโดยตลอดคือ การใช้เงินจาก กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าอุดหนุนปัจจุบันราว 8 บาท/ลิตร ที่ใช้เงินกองทุนสนับสนุนกว่า 30,000 ล้านบาท พร้อมกระทรวงการคลังลดภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากน้ำมันดีเซล 3 บาท เป็นเวลา 3 เดือน”

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2565 รัฐบาลจะช่วยพยุงราคาดีเซลในรูปแบบคนละครึ่ง อาทิ หากน้ำมันราคาดีเซลระดับ 115-135 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาจริงอยู่ที่ 38 บาทต่อลิตร กองทุนจะช่วยครึ่งหนึ่งทำให้ราคาขายหน้าปั๊มอยู่ที่ 34 บาท เป็นต้น

ดังนั้น แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามหามาตรการช่วยเหลือเพื่อพยุงราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นเวลานานและใช้เงินในจำนวนที่สูง จึงถึงเวลาแล้วที่ประชาชนหรือผู้ใช้น้ำมันเองก็ควรจะหันมาช่วยตัวเองในเบื้องต้นโดยเฉพาะการกระหยัดพลังงานด้วยตนเอง

บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้อธิบายขั้นตอนวิธีเซฟเงินในกระเป๋า โดยการแก้ปัญหารถซดน้ำมัน ผ่าน 7 สาเหตุหลัก คือ

1. ไส้กรองอากาศ อย่าปล่อยให้สกปรกและอุดตัน เพราะทำให้อากาศไหลผ่านเข้าไปในเครื่องยนต์ได้น้อย การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงในห้องเครื่องจะไม่สมบูรณ์ เกิดควันสีดำหรือกลิ่นน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาที่ปลายท่อไอเสียนั่น และกินน้ำมัน

2. หัวเทียน หากเสื่อมสภาพจะทำให้การจุดระเบิดเผาไหม้ น้ำมันเชื้อเพลิงหรือแก๊สไม่สมบูรณ์ ทำให้รถยนต์มีกำลังไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลถึงอัตราเร่งและความแรงลดลง จึงต้องเหยียบคันเร่งจนเกิดการเผาผลาญน้ำมันเพิ่ม

 3. หัวฉีด สำหรับรถเครื่อยนต์เบนเซินถ้าหัวฉีดมีการอุดตันจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาไม่เป็นฝอยละออง ส่งผลให้การเผาไหม้ไม่หมดจด ทำให้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและแก๊สมากกว่าปกติ ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลดูได้ง่าย ๆ ว่าจะเกิดควันดำจากท่อไอเสีย เกิดมลพิษและเผาพลาญน้ำมันอีกด้วย

 4. คอยล์จุดระเบิด (เฉพาะเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ติดแก๊ส) หากเสื่อมสภาพจะทำให้เครื่องยนต์เดินเบา สั่น รถสตาร์ทติดยาก ทำให้เมื่อเร่งความเร็วแล้วเครื่องสะดุด หัวเทียนเสื่อมเร็วก่อนกำหนด และเกิดการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือแก๊สไม่หมดจดด้วย 

5. ลมยาง เช็กลมยางก่อนเดินทาง จะช่วยประหยัดน้ำมัน เพราะลมยางที่อ่อนเกินไปจะทำให้ต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้น ส่งผลให้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น แต่หากลมยางแข็งเกินไปจะทำให้ความสามารถในการเกาะถนนลดลงและเกิดอันตรายได้

 6. สายพานหน้าเครื่อง ทำหน้าที่ในการถ่ายกำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ โดยจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นๆ เช่น ปั๊มเพาเวอร์ ไดชาร์จ คอมเพรสเซอร์แอร์ หากหย่อนเกินไปอาจส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานได้ไม่ดี แต่ถ้าตึงเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานมากขึ้นและลูกปืนต่างๆ เกิดความเสียหายได้

 7. การระบายความร้อนด้วยน้ำยาหล่อเย็นเครื่องยนต์ สาเหตุนี้ต้องเช็กที่หม้อน้ำ หากน้ำยาหล่อเย็นเสื่อมสภาพ หรือเป็นสีสนิมจะส่งผลให้เครื่องร้อนมากขึ้น และทำให้เครื่องเผาไหม้เร็วเกินไป ส่งผลให้รถกินน้ำมันมากขึ้นอีกด้วยคร้าบ ที่สำคัญอย่าใช้น้ำเปล่าอย่างเดียวกับหม้อน้ำรถเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดสนิม หม้อน้ำรั่วได้ 

พร้อมเปิดบริการตรวจเช็คเครื่องยนต์ฟรีรวม 35 รายการ ผ่านศูนย์บริการ FIT Auto เพื่อปรับระบบการใช้รถยนต์ให้สามารถช่วยประหยัดน้ำมันผ่าน 75 สาขาทั่วประเทศถึงสิ้นเดือนเม.ย.2565 ประกอบด้วย 1. ระยะดึงเบรกมือ 2. ระยะฟรีแป้นเหยียบเบรก 3. ความเร็วรอบเดินเบา 4. ไส้กรองแอร์ 5. ใบปัดน้ำฝน และน้ำยาฉีดกระจก 6. แอร์ 7. ตรวจสอบแอร์รถยนต์ด้วยกล้องไมโครแคม 8. หม้อน้ำและฝาหม้อน้ำ 9. ท่อยางหม้อน้ำและระบบหล่อเย็น

10. สายพานหน้าเครื่องยนต์ 11. น้ำมันเครื่อง 12. ไส้กรองอากาศ 13. น้ำมันเบรก 14. แบตเตอรี่และน้ำกลั่น 15. น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ 16. หัวเทียน 17. พัดลมระบายอากาศ 18. สายหัวเทียน/คอยล์จุดระเบิด 19. น้ำยาแอร์ 20 ไดชาร์จ 21. น้ำมันเกียร์ 22. การสึกหรอของหน้ายาง 23. ร่องรอยการถูกเบียด รอยกระแทก รอยบาด รูรั่วซึม 24. ความลึกร่องดอกยาง

25. ระบบส่องสว่างและไฟสัญญาณ 26. ยางอะไหล่ 27. น้ำมันเฟืองท้าย 28. ยางหุ้มเพลาขับ หน้า-หลัง 29. ลูกหมากต่างๆ 30. ลูกปืนล้อ 31. โช้คอัพและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง 32. บู๊ชและลูกยางช่วงล่างทั้งหมด 33. สายอ่อนเบรก 34. จานเบรก และ 35. ผ้าเบรก และคาลิปเปอร์