ยางพารา"ฝ่าผลสงคราม เทรนด์ราคายังโตต่อ

ยางพารา"ฝ่าผลสงคราม     เทรนด์ราคายังโตต่อ

การแพร่ระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 ในประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะประเทศจีน ตลอดจนการเกิดปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่อค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น คือปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเสถียรภาพและราคายาง

ณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ปริมาณยางเข้าสู่ลาดน้อย เนื่องจากเข้าสู่ช่วงปิดกรีด และผู้ประกอบการยังคงมีความต้องการยางในการส่งมอบตลาดยังได้รับแรงหนุนหลังจีน จะใช้นโยบายกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในจีนลดลง ส่งผลให้มีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์เพื่อให้โรงงานต่างๆเริ่มกลับมา ดำเนินการได้อีกครั้ง

ยางพารา\"ฝ่าผลสงคราม     เทรนด์ราคายังโตต่อ

ประกอบกับยอดขายรถยนต์ของจีนในเดือนก.พ. 2565 พุ่งขึ้น 18.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แตะ 1.74 ล้านคัน โดยยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วที่เพิ่มขึ้นครั้งแรก หลังจากลดลง 8 เดือนติดต่อกัน

 

 

ยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV)ซึ่งรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด และรถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน พุ่งขึ้น 197.5% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี แตะระดับ 3.68 แสนคัน

ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบและค่าระวางเรือยังคงอยู่ในระดับสูง สต็อกยางโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจึงคาดว่าราคายางในเดือนเม.ย. 2565จะย่อลงมาในแนวโน้มขาขึ้นเพื่อปรับฐานจากการเทขาย เพื่อเก็งกำไร โดยมีปัจจัยพื้นฐานมาจากผลกระทบของสงคราม แต่ยังคงมองว่าราคาสามารถไต่ระดับปรับตัวขึ้นต่อได้ในเดือนเม.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม กยท. ยังคงสนับสนุนการลดพื้นที่ปลูก ซึ่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพราคาในประเทศไทย โดยเป้าหมายการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกแทน ปี 2565 ของ กยท. มีพื้นที่รวม2 แสนไร่ โดยได้ดำเนินการปลูกแทนไปแล้ว จำนวน 150,641.15 ไร่ หรือ 75.32% เป็นการตัดยางเก่าเป้าหมายปีละ1แสนไร่โดยปลูกยางใหม่ทดแทนด้วย ยางพันธุ์ดี สามารถดำเนินการคืบหน้าได้แล้ว83,645.10 ไร่

นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ ยังสนับสนุนโครงการจัดตั้งพื้นที่บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ (Rubber Valley) เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป้าหมายที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2565

 

ยางพารา\"ฝ่าผลสงคราม     เทรนด์ราคายังโตต่อ

รวมทั้ง การเก็บข้อมูลผลผลิตยางพารา และรายได้เฉลี่ยต่อไร่ของเกษตรกรผู้ปลูกยางในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดด้านผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยาง ตามแผนวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย ระยะ 7 ปี (พ.ศ.2564-พ.ศ.2570) เพื่อยกระดับการเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรให้สูงขึ้น

สำหรับราคายาง เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2565  ประเภทยางแผ่นรมควันปรับตัวตามความต้องการของผู้ซื้อภายในประเทศ ราคากลางเปิดตลาด อยู่ที่ 56.65 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) โดยปิดตลาดสูงสุด ณ ตลาดกลางสุราษฎร์ธานีราคาอยู่ที่ 56.20 บาทต่อกก. ส่วนตลาดกลางนครศรีธรรมราชและตลาดกลางสงขลาราคาอยู่ที่ 56.00 บาทต่อกก. และราคาอยู่ที่ 55.70 บาทต่อกก.