เปิดสถิติ แบงก์ -นอนแบงก์ ผิดเกณฑ์ "มาร์เก็ตคอนดักท์"

เปิดสถิติ แบงก์ -นอนแบงก์ ผิดเกณฑ์ "มาร์เก็ตคอนดักท์"

เปิดสถิติผู้ให้บริการทางการเงินผิดเกณฑ์มาร์เก็ตคอนดักท์ หรือการให้บริการไม่เป็นธรรม เข้าข่ายถูกบังคับขาย การคิดดอกเบี้ยแพงเกินกฏหมาย ปัจจุบันถูกกล่าวโทษ นำไปสู่การถูกเทียบปรับแล้ว 7 ราย


     รู้หรือไม่ว่า การใช้บริการทางการเงินก็ได้รับการ "คุ้มครอง" หากถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้บริการทางการเงิน ทั้งการถูกขายพ่วง บังคับขาย การให้บริการที่ไม่เป็นธรรม การคิดดอกเบี้ยเกิน การไม่แจ้งข้อมูลให้ลูกค้าทราบที่ชัดเจน
         เหล่านี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลดูแล เรื่องการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (มาร์เก็ตคอนดักท์) ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือมาที่มีการประกาศใช้เกณฑ์มาตั้งแต่ปี 2561 เพื่อให้ผู้ใช้บริการทางการเงินได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรมในการใช้บริการ

       โดยเกณฑ์นี้ครอบคลุมทั้งสถาบันการเงิน บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ธนาคารแห่งรัฐ รวมไปถึง บริษัทบริหารสินทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (นาโนไฟแนนช์) ด้วย
       ดังนั้นหากได้รับความไม่เป็นธรรมจากการให้บริการทางการเงินไม่ว่ากรณีใด ก็สามารถร้องเรียนไปที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง.)  1213 ได้ 

เปิดสถิติ แบงก์ -นอนแบงก์ ผิดเกณฑ์ \"มาร์เก็ตคอนดักท์\"      ปัจจุบัน หากดูข้อมูลการให้บริการลูกค้า ที่ผิดเกณฑ์ "มาร์เก็ตคอนดักท์" พบว่ามีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ที่ยังไม่มีเกณฑ์กำกับดูแล แม้กระทั่งมีเกณฑ์กำกับดูแลแล้วก็ตาม ก็ยังมีผู้ให้บริการทางการเงินถูกร้องเรียนอย่างให้เห็นต่อเนื่อง
       ล่าสุดมี 2รายที่ถูกกล่าวโทษเมื่อเร็วๆนี้จากธปท. หลังมีการการร้องเรียนของประชาชน ซึ่งพบว่า มีผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้าน Market conduct 
         เกี่ยวกับการให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเพียงพอและการดูแลข้อมูลลูกค้า อันทำให้มีความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้ 
    คือ บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน) ที่ ไม่ออกใบแจ้งหนี้ (เอกสารแสดงรายการใช้ผลิตภัณฑ์ที่จะต้องชำระหรือจะมีการเรียกเก็บ) ซึ่งจะต้องจัดส่งให้ลูกค้าก่อนถึงวันครบกำหนดชำระ 
           งฃรวมทั้งไม่ได้มอบหลักฐานการชำระเงินให้แก่ลูกค้า ซึ่งศาลอาญามีนบุรีมีคำพิพากษาว่าบริษัทแมคคาเล กรุ๊พ และกรรมการผู้มีอำนาจ มีความผิดตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องข้างต้น และให้ปรับบริษัทแมคคาเล กรุ๊พ 284,500 บาท และกรรมการผู้มีอำนาจ 284,500 บาท โดยประมาณ
         อีกบริษัทคือ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)ที่ ไม่ดูแลข้อมูลลูกค้ารวมทั้งไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานและการให้บริการอย่างถูกต้องและเป็นธรรม ทำให้มีการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าให้บุคคลอื่นเพื่อเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 
          โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า อีกทั้งเมื่อลูกค้าแจ้งไม่รับการติดต่อเพื่อเสนอให้บริการอื่น บริษัทอิออนก็ไม่ได้ดำเนินการโดยเร็ว ทำให้ยังมีการติดต่อและรบกวนลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการดำเนินคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวน 
      ซึ่งปัจจุบันธปท.ได้สั่งการให้ทั้ง 2 บริษัทปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องแล้ว
        อย่างไรก็ตาม หากดูสถิติของของผู้ให้บริการทางการเงิน ทั้งแบงก์ นอนแบงก์ ที่ผิดเกณฑ์มาร์เก็ตคอนดักท์ และถูกลงโทษ รวมถึงถูกเทียบปรับจากธปท.มีทั้งสิ้นจนถึงปัจจุบัน 7 ผู้ให้บริการทางการเงิน 
        รายแรกคือ  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)SCB ที่ถูกกล่าวโทษและเทียบปรับตั้งแต่ปี 2561 กรณีที่มีการ มีการบังคับให้ลูกค้าทำประกันอัคคีภัยสำหรับหลักประกันของสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับบริษัทประกันภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง 
       โดยลูกค้าไม่มีสิทธิที่จะเลือกทำประกันภัยกับบริษัทอื่นตามความสมัครใจ เคสนี้ ถูกเปรียบเทียบปรับทั้งสิ้น 3,210,000 บาท 
       ถัดมาคือ  ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)(KTB) ที่ถูกกล่าวโทษ กรณีมีการบังคับให้ลูกค้าทำประกันอัคคีภัยสำหรับหลักประกันของสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับบริษัทประกันภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง

       โดยลูกค้าไม่มีสิทธิที่จะเลือกทำประกันภัยกับบริษัทอื่นตามความสมัครใจ โดยถูกกล่าวโทษเมื่อปี 2561ทำให้ถูกเทียบปรับทั้งสิ้น 3,540,000 บาท    
        เช่นเดียวกับ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) LH BANK  ที่มีการเปิดบัญชีเงินฝาก โดยไม่ตรวจสอบการแสดงต้นของลูกค้า จนถึงกล่าวโทษเมื่อปี 2562 ทำให้ถูกเทียบปรับ  246,250 บาท  และลงโทษทางวินัยของพนักงาน                                                                                     
     ถัดมาคือ บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)ที่ได้ถูกกล่าวโทษ 2 ครั้ง เมื่อปี 2562-2563 กรณีมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าบริการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อ เกินกว่าเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามที่บริษัทประกาศไว้ ซึ่งกรณีนี้ถูกเทียบปรับทั้งสิ้น 1,655,000 บาท
          และอีกครั้ง ถูกกล่าวโทษกรณีเรียกเก็บค่าประเมินราคาหลักประกันสูงเกินสมควรและผันแปรตามวงเงินสินเชื่อ โดยไม่ได้พิจารณาถึงต้นทุนที่แท้จริง ทำให้ถูกเทียบปรับ 3,155,000 บาท