สอท.เตรียมชงแผนสร้างนิคมอุตสหกรรมซัพพลายเชน แก้ปัญหาวัตถุดิบ

สอท.เตรียมชงแผนสร้างนิคมอุตสหกรรมซัพพลายเชน แก้ปัญหาวัตถุดิบ

สอท .ชี้หากสงครามรัสเซีย-ยูเคน ไม่จบ 3 เดือน อาจเกิดครามเศรษฐกิจตามมา กังวลราคาพลังงาน วัตถุดิบ ดันต้นทุนสินค้าเพิ่ม แนะใช้ BCG พลิกวิกฤตเป็นโอกาสเศรษฐกิจไทย

นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.)และ ประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย กล่าว THE BIG ISSUE 2022 ฝ่าไฟสงคราม รับมือวิกฤตเศรษฐกิจ ทางออก ทางรอดธุรกิจไทยหลังไฟสงคราม  ที่จัดโดยน.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ และฐานเศรษฐกิจ ว่า  สงครามรัสเซีย-ยูเครน เป็นความท้าทายที่เข้ามาอีกครั้ง ซึ่งภาคธุรกิจได้ผ่านความท้าทายมาหลายระดับ  ทั้งดิสรัปชั่น  โดยหลายอุตสาหกรรมได้ปรับตัวเพื่อรับกับกระแสดิสรัปชั่น ทั้งการให้ความรู้ การใช้เทคโนโลยี เพราะไทยยังเป็นอุตสาหกรรม2-2.5ไม่ใช่อุตสาหกรรม4.0

แต่ยังไม่ทันรัยก็มาเจอกับความท้าทายที่ 2 คือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก โดยทั้ง 2 ประเทศเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย ซึ่งไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารของจีน บางกลุ่มอุตสาหกรรมได้รับผลดี บางกลุ่มก็ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ต่อมาก็เผชิญความท้าทายจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด -19  เศรษฐกิจได้รับผลกระทบทั้งโลกทั้งการค้าขาย การท่องเที่ยวที่หยุดลง แต่เครื่องยนต์ที่ยังผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ยังเดินหน้าอยู่ท่ามกลางวิกฤตครั้งนี้คือภาคอุตสาหกรรม ยังขับเคลื่อนได้ ดูได้จากตัวเลขการส่งออกในปี 64 ที่ขยายตัวถึง17.1 %

“ปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน มองว่า ยืดเยื้อและน่าจะไม่เกิน  3เดือน  เพราะถ้าไม่จบใน3เดือน เชื่อว่าจะเกิดสงครามเศรษฐกิจตามมาอย่างแน่นอน ที่จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะยาวไปไปทั่วโลก”

ต่อมาก็เจอกับปัญหาสงครามรัสเซียและยูเครน สิ่งที่กังวลคือราคาพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซ ที่มีราคาผันผวน โดยเฉพาะราคาน้ำมันพุ่งกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า แม้ว่าการส่งออกไทยกับรัสเซียจะมีสัดส่วนน้อยเพียง 0.38 % หรือมูลค่า 33,00 ล้านบาท ซึ่งไม่มาก แต่ผลกระทบทางอ้อมมีมากกว่า คือ ราคาพลังงาน  วัตถุดิบ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียมราคาพุ่งกระฉูด  โดยราคาเหล็กเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบอกขึ้นมาถึง200ดอลลาร์ต่อตัน และมีโอกาสเพิ่มถึง1,100-1,200ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตได้รับผลกระทบอย่างหลีกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง

นอกจากนี้มาตราแซงชั่นจากสหรัฐและพันธมิตรเกิดการขาดซัพพลายเชน ทั้งปุ๋ยเคมี ที่รัสเซีย ยูเครน เบรารุส เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่โลก แม้ประเทศไทยจะไม่ได้นำเข้าโดยตรงแต่เมื่อปุ๋ยหายไปจากตลาดโลกราคาก็ปรับขึ้น ซึ่งจะกระทบกับภาคเกษตรและอาหารของไทย

”ปัญหาซัพลายเชน ทำให้เอกชนศึกษาแผนซัพพลายเชน รีเคียวรีตี้  (Supply Chain Security )เพราะหลายอุตสาหกรรมมีการนำเข้าชิ้นส่วน โดยเฉพาะประเทศจีนประมาณ 30 %ในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งจากการศึกษาพบว่า หลายอุตสาหกรรมสามารถเป็นซัพพลายเชนในประเทศได้แต่จะมีปัญหาด้านราคา  ซึ่งทางสอท.ขอให้นิคมอุตสาหรรมเสนอต่ออีอีซี ขอให้มีนิคมอุตสาหกรรมด้านซัพพลายเชนในแต่ละอุตสาหกรรม โดยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการลงทุนจากบีโอไอ ซึ่งรัฐบาลต้องให้การสนับสนุน เพราะในอนาคตโลกจะไม่เหมือนเดิมจะต้องมีความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน  ”

นายเกรียงไกร    กล่าวว่า ขณะที่นโยบาย BCGที่เป็นวาระแห่งชาติทางสภาอุตฯให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากเช่นกัน เพราะตัว B ไบโอพลาสติกเรามีความได้เปรียบเพราะมีความหลากหลาย ควรนำมาเป็นจุดแข็งในการพัฒนาสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างอุตสาหกรรมด้านยา อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ เป็นต้น ซึ่งถึงเวลาที่ไทยต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เห็นด้วยกับการตรึงอัตราดอกเบี้ยเพราะจะช่วยให้ต้นทุนของผู้ผลิตไม่เพิ่มขึ้น