อาจผันผวนบ้าง แต่อย่าตกใจกับท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ จนเกินไป

อาจผันผวนบ้าง แต่อย่าตกใจกับท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ จนเกินไป

ประธานเฟดส่งสัญญาณนโยบายการเงินตึงตัวอาจทำให้ตลาดผันผวน แต่ไม่ถึงขั้นน่ากังวล คืนที่ผ่านมาประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวสุนทรพจน์ต่อ national Association for Business Economics

ซึ่งการแสดงความเห็นที่มีการย้ำถึงเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมากเกินไป (Inflation is much too high) อยู่ถึง 3 ครั้ง และเน้นย้ำถึงเสถียรภาพด้านราคา (Price stability) ทำให้หลังการแสดงความเห็น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับลดลง จากความคาดการณ์ว่าเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ย รวมถึง อาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในระดับ 0.50% ในการปรชุมบางครั้ง ความเคลื่อนไหวดังกล่าว อาจทำให้ตลาดระยะสั้นผันผวนบ้าง แต่เรามองไม่ควรกังวลจนเกินไปจาก

1) ผลตอบแทนพันธบัตร 2 ปี ขยับขึ้นมาที่ 2.17% สะท้อนการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมที่เหลือทุกครั้งแล้ว (0.25% จำนวน 5 ครั้ง และ 0.5% จำนวน 1 ครั้ง)

2) เนื้อหาสำคัญในสุนทรพจน์พูดถึงความแข็งแกร่งของการจ้างงาน

3) การถดถอยทางเศรษฐกิจ (recession) ในสหรัฐฯ ไม่เคยเกิดในช่วงของการขึ้นดอกเบี้ย แต่เกิดหลังจากวัฎจักรของการขึ้นดอกเบี้ยยุติลงแล้วระยะหนึ่ง ขณะที่ประธานเฟดมีบทเรียนจากอดีตในการที่จะพยายามทำให้เศรษฐกิจชะลออย่างค่อยเป็นค่อยไป (soft landing) // ดังนั้นเรามองตลาดอาจผันผวน และไม่ได้ลงทุนง่ายเช่น 1-2 ปี ที่ผ่านมา แต่ตลาดหุ้นก็ยังไม่ได้อยู่ในจุดที่ต้องกังวลกับภาวะเศรษฐกิจจนเกินไป
 

ติดตามมาตการช่วยเหลือประชาชนจากการประชุมครม.วันนี้

เบื้องต้นคาดจะมีการออกมาตรการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากราคาพลังงานที่ปรับสุงขึ้น ได้แก่

1) เงินอุดหนุนก๊าซหุงต้ม 100 บาท/ครัวเรือน 3 เดือน (จาก 45 บาท)

2) เงินช่วยเหลือค่าน้ำมันสำหรับจักรยานยนต์รับจ้าง

3) มาตรการช่วยเหลือค่าปุ๋ย และต้นทุนวัตถุดิบสำหรับเกษตรกร

4) มาตรการลดต้นทุนอาหารสัตว์ อาทิ ลดภาษีกากถั่วเหลือ 2% ซึ่งภาพรวมมาตรการจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อและการบริโภค เป็นบวกกับกลุ่มค้าปลีก ขณะที่อาจเป็นปัจจัยบวกทางจิตวิทยาระยะสั้นกับกลุ่มผู้ผลิตเนื้อสัตว์

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP (เน้นโรงกลั่น)

2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW

3) กลุ่มบันเทิง งบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO

4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP SAP

5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, KSL

6) ค่าระวางเรือ PSL, TTA

7) น้ำมันลง SCC, PTTGC, BGRIM, GPSC, TASCO, AAV, EPG, SCGP, SFT

 

ภาพรวมกลยุทธ์

บรรยากาศเก็งกำไรโดยรวมยังเป็นบวก จากการเปิดประเทศรับการท่องเที่ยวและมาตรการดูแลค่าใช้จ่าย เป็นปัจจัยหนุนกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ความเสี่ยงยูเครน-รัสเซีย ระยะสั้นยังไม่มีปัจจัยยกระดับความขัดแย้งขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากการปรับประมาณการหลังงบไตรมาส 1/65 ในอีก 1-2 เดือน เป็นสิ่งที่ต้องจับตา //

หุ้นแนะนำ: TOP*, ICHI*, DTAC*, PMTA*

แนวรับ: 1,669-1,676 / แนวต้าน : 1,692-1,700 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

S&P ปรับลดเรตติ้งธนาคารไทย – โดยปรับลดเรตติ้ง SCB, KBANK, KTB, TMB ลง 1 ขั้น ขณะที่คงเรตติ้ง BBL และ BAY ทั้งนี้สอดคล้องกับมุมมองของเราเมื่อ 17 มี.ค. ที่ให้ระวังและแบ่งขายทำกำไรกลุ่มธนาคารบ้างในรอบนี้ โดยเราคาดผลกระทบของโอไมครอนและการสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ (โดยเฉพาะ SME) อาจเป็นลบต่องบกลุ่มธนาคารในช่วงไตรมาส 1 และ 2 นี้ โดยมี top pick คือ BBL

TOP – เตรียมเสนอผู้ถือหุ้นขาย GPSC สัดส่วน 10.78% ให้ ปตท. มูลค่ากว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างทางการเงินรองรับแผนขยายธุรกิจปิโตรเคมี ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นหลังเข้าลงทุน CAP ในอินโดนีเซีย

BTS – ศึกษาความเป็นไปได้ร่วมลงทุนโครงการระบบรถไฟฟ้ารางเบาในมาเลเซีย

BBIK – เปิดแผนรุกตลาดต่างประเทศ ริ่มจากอาเซียนต่อด้วยยุโรปและอเมริกา ชี้กระแสดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในภูมิภาคเอเซียนมาแรง พบดีมานด์ในการพัฒนาแอปเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์

Opportunity day- 22 มี.ค. ZIGA, MSC, TSR, SSP, WP, SAPPE, DUSIT / 23 มี.ค. THANA, AIMIRT, WINMED, SCN, KK, GRAMMY / 24 มี.ค. SHR, ZEN, MOONG, PAP, SISB, SELIC, CPF / 25 มี.ค. STECH, TPIPL, NNCL, HPT, ASK, DEMCO, TKT

 

ประเด็นติดตาม: 22 มี.ค. - ECB President Lagarde Speaks, Fed Chair Powell Speaks / 23 มี.ค. - TH Trade Balance เดือน ก.พ., US New Home Sales เดือน ก.พ.

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)