OSP – CBG แก้เกมต้นทุนพุ่ง ขยับราคาขายดันกัญชา-กัญชงออกตลาด

OSP – CBG แก้เกมต้นทุนพุ่ง  ขยับราคาขายดันกัญชา-กัญชงออกตลาด

เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของไทยที่อุณหภูมิปรับตัวขึ้นไปถึง 40 องศาเรียกได้ว่าร้อนระอุกันเลยทีเดียวซึ่งเป็นปัจจัยบวกให้กับหุ้นกลุ่มเครื่องดื่ม แต่เครื่องดื่มชูกำลังกลับเจอปัจจัยกดดันเหมือนกับธุรกิจอื่นคือต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เฉพาะเครื่องดื่มชูกำลังถือว่ายืนหยัดราคาที่ 10 บาทมาอย่างยาวนานมากกว่า 30 ปี เนื่องจากเป็นตลาดที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงและมีรายใหม่ที่ทุนใหญ่ เข้ามาร่วมชิงตลาดที่มีมูลค่าสูงถึง 30,000 ล้านบาท มีแบนรด์หลักยึดตลาด  “M-150”  “คาราบาว” และ”กระทิงแดง“

ด้วย ปี 2565 ธุรกิจต่างเผชิญแรงกดดันจากราคาพลังงานปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งข้อมูลโดยสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือนสื้นปี 2564  พบว่าสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องที่มีแอลกฮอล์59.44%  ซึ่งค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 23.23% รองลงมา เป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน 22.66% และ ค่าแพทย์ ค่ายาและค่าบริการส่วนบุคคล 5.61% เป็นต้น

เบอร์ 1 ในตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง บริษัท บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP   มีเครื่องดื่มเรือธง “เอ็ม 150”  และยังมีสินค้าที่ได้รับความนิยมในช่วงการระบาดโควิด-19 อย่างหนัก  สินค้า C-Vitt  ร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่น บริษัท เฮ้าส์ ฟู้ดส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 

โดยสิ้นปี 2564 มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1  อยู่ที่ 54.70 % แบ่งเป็นตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังเพิ่มขึ้น 0.1% จากปีก่อนอยู่ที่  54.6% ส่วนแบ่งในตลาดเครื่องดื่ม Functional Drinks อยู่ที่ 38.3 % เพิ่มขึ้น 1.0% จากปีก่อน อยู่ที่ 37.3% ใน

นอกจากนี้ OSP รายงานรายได้จากการขายปี2564 สูงสุดที่ 26,762 ล้านบาท เติบโต 4.6% จากปีก่อน และมีกำไรสุทธิที่ 3,255 ล้านบาท ลดลง 7.1% จากปีก่อนผลกระทบของมาตรการล็อกดาวน์   ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้น 

 

อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนก.พ. ที่ผ่านมา OSP เป็นรายแรกที่ปรับราคาสินค้าก่อนใคร ด้วยการเลี่ยงมาเปิดตัวเครื่องดื่ม M-150 สูตรเพิ่มปริมาณวิตามินบี 12 สองเท่าแต่น้ำตาลน้อย พร้อมปรับโฉมเป็นขวดทรงกลมขนาด 150 มิลลิลิตร ในราคา 12 บาท เท่ากับเอ็ม-150 สูตรกระชายดำ 150 มิลลิลิตรที่ออกสู่ตลาดเมื่อปี 2562 และคงสูตรดั้งเดิมได้ที่ 10 บาท

ขณะที่เบอร์ 2 ในอุตสาหกรรมยังไม่มีการปรับราคาขายแต่มีสัญญาณเห็นราคาใหม่เร็วๆนี้ ไม่ต่ำกว่า 3-5 %  บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG  มีเครื่องดื่มชูกำลังแบรนด์ ‘คาราบาว’  โดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่  20.7 %  ในขณะที่ตลาดเครื่องดื่มเครื่องดื่มเฮลท์ตี้ ช็อต  “Woody C+Lock  ”  ร่วมกับพิธีกรชื่อดัง ‘วู้ด ดี้’  เปิดตัวไปเมื่อปลายเดือนมี.ค.  2564 อยู่อันดับที่ 2 หรือคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 8.7  % 

รายได้ในปี 2564 จำนวน 17,364 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.8%  รายได้จากการขายในประเทศจำนวน 5,697 ล้านบาท ลดลง 4.8% เกิดจากการลดลงของเครื่องดื่มคาราบาวแดงเป็นหลัก  ส่วนรายได้จากการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศจำนวน 6,925 ล้านบาท ลดลง 14.5% โดยยอดส่งออกไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้น 89.7% ในขณะที่ประเทศหลักอื่นๆ ปรับตัวลดลง

ขณะที่กำไรสุทธิจำนวน 2,881 ล้านบาท ลดลง 18.3% สาเหตุหลักเกิดจากการลดลงของรายได้ จากการขายผลิตภัณฑ์ที่บริษัทดำเนินการผลิตด้วยตนเองซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบและหีบห่อตลอดจนค่าใช้จ่ายบริหารที่ปรับตัวสูงขึ้นตามที่กล่าวข้างต้น

ด้านแนวโน้มธุรกิจภายใต้การแข่งขันและต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นกลับมีปัจจัยบวกในหุ้นเครื่องดื่มชูกำลัง  บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ว่า OSP มีแผนธุรกิจหลักในปีนี้คือโครงการลดต้นทุน (Fast Forward 10x)

โดยตั้งเป้าลดต้นทุนให้ได้ 5 พันล้านบาท ภายใน 5-7 ปี เน้นการประหยัดต้นทุนและเพิ่ม Margin และจากสถานการณ์ปัจจุบันที่วัตถุดิบอย่างก๊าซธรรมชาติและอลูมิเนียมมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ทาง OSP มีแผนล็อกราคาวัตถุดิบหลักอย่างน้อยครึ่งปี เช่น ตัวกระป๋องและฝาอลูมิเนียม, เศษแก้ว, Soda Ash และปรับราคาขายส่งขึ้น 2-3%

รวมถึงปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ใช้พลังงานน้อยลง   อีกทั้งเปลี่ยนขวดแก้ว Energy Drink ให้มีน้ำหนักเบา ช่วยลดต้นทุนได้ประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยลดผลกระทบของต้นทุนที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

OSP – CBG แก้เกมต้นทุนพุ่ง  ขยับราคาขายดันกัญชา-กัญชงออกตลาด

ทั้งนี้ OSP วางแผนเพิ่มยอดขายเครื่องดื่มในประเทศ เน้นสินค้าเพื่อสุขภาพและ Product Innovation  รวมไปถึงฟื้นฟูยอดขายกลุ่ม Personal Care โดยเพิ่มสินค้าใหม่ ๆ ที่มี Innovation มากขึ้น ในกลุ่ม Babi Mild และ Twelve Plus และขายผ่านออนไลน์มากขึ้น รวมทั้งมีแผนวางขายเครื่องดื่ม Functional Drink ผสม CBD จากกัญชงภายใน Q2/65 อีกด้วย

ขณะที่ทาง CBG  เตรียมรับมือต้นทุนสูงขึ้นเพื่อรักษาอัตรากำไรจากต้นทุน  ด้วยการปรับราคาขายส่งเพิ่มขึ้นในประเทศเฉลี่ย 1-2% และส่งออก 3-5%   มีการลดอัตราการให้ส่วนลดในการทำการตลาด กับ distributor  และ พิจารณาการทำป้องกันความเสี่ยง (hedging)

ส่วนการขยายการลงทุนปีนี้ยังไม่มีเนื่องจากไลน์ผลิตการบรรจุยังสามารถรองรับได้ 2-3 ปี แต่ในปีหน้าอาจจะมีการขยายไลน์ผลิตกระป๋องและเตาหลอมขวดรองรับสินค้าใหม่เพิ่มขึ้น   พร้อมเตรียมออกสินค้าใหม่กัญชง คาดปีนี้ 2-3 รายการ เป็น soft drink หรือ functional drink ปัจจุบันอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา คาดสินค้าออกไม่เกิน ไตรมาส 2ปี 2565