คาโอ ฟันธงสินค้าจำเป็นฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ห่วงวัตถุดิบแพง กระทบต้นทุนพุ่ง

คาโอ ฟันธงสินค้าจำเป็นฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ห่วงวัตถุดิบแพง กระทบต้นทุนพุ่ง

คาโอ ฯ รีแบรนด์ครั้งใหญ่ทั่วโลก ปรับโลโก้ ชูแนวคิด “คิเรอิ” สานแนวทางธุรกิจสู่ความยั่งยืน ขานรับเมกะเทรนด์ ผู้บริโภคตระหนักสินค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และโลก ลุ้นสัญญาณบวกหนุนสินค้าอุปโภคบริโภค 65 ฟื้นตัวครึ่งปีหลัง จากปี 64 หลายหมวดดีมานด์ดิ่งหนัก

“คาโอ” คือหนึ่งในแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของไทย ซึ่งทำตลาดอย่างยาวนานกว่า 58 ปี มีแบรนด์ดังในพอร์ตโฟลิโอจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผงซักฟอกแอทแทค บิโอเร มาจิคลีน ผ้าอนามัยลอรีเอะ แชมพูแฟซ่า เป็นต้น

เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา “มร.ยูจิ ชิมิซึ” ได้เข้ามานั่งเป็นแม่ทัพธุรกิจกับตำแหน่ง ประธานกรรมการ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเจ้าตัวเล่าว่า เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่ได้มากุมบังเหียนคาโอในประเทศไทย แต่ต่างกันตรงที่ คราวนี้มาต้องเผชิญกับวิกฤติโรคโควิด-19 กินเวลาอย่างยาวนาน ตลอดช่วงที่ขับเคลื่อนธุรกิจ จึงต้องทุ่มสรรพกำลังทั้งหมด บริการจัดการกับวิกฤติเฉพาะหน้า ปรับตัว ปรับกลยุทธ์ เพื่อให้คาโอ เติบโตได้

ทั้งนี้ สถานการณ์ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หมวดหมู่สินค้ามีทั้ง “ขาขึ้น-ขาลง” โดย มร.ยูจิ บอกว่า ตลาดที่เป็นขาขึ้น ความต้องการสูงมาก หนีไม่พ้นหมวดสินค้าเกี่ยวกับสุขอนามัย ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ ซึ่งเติบโตถึง 203%

คาโอ ฟันธงสินค้าจำเป็นฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ห่วงวัตถุดิบแพง กระทบต้นทุนพุ่ง ทว่า หมวดที่ขาลง เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ด้านความงาม ทั้งเครื่องสำอาง ครีมกันแดด และผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผม ซึ่งอย่างหลังสัมพันธ์กับร้านเสริมสวยที่ถูกปิดให้บริการในเวฟแรกที่เกิดโรคระบาดด้วย เมื่อผู้บริโภคต้องทำงานที่บ้าน อยู่บ้านมากขึ้น ทำให้สินค้าดังกล่าวหดตัว โดยปี 2563 ตลาดดิ่ง 79% และปี 2564 ตกต่อเนื่อง 81%

เข้าสู่ปี 2565 ปัจจัยลบยังคงรายล้อมธุรกิจ เนื่องจากการระบาดของสายพันธุ์ “โอมิครอน” ยังเป็นชนวนสำคัญต่อเศรษญกิจซบเซา ความเชื่อมั่นและอำนาจซื้อของผู้บริโภค แต่กระนั้น มร.ยูจิ ยังมั่นใจว่าแนวโน้มตลาดสินค้าอุปโภคจะฟื้นตัวกลับมาได้ในช่วงครึ่งปีหลัง

“เศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคซบเซาจนถึงตอนนี้ แต่คาดการณ์ครึ่งปีหลังจะเห็นการฟื้นตัวของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค 3-5% ปัจจัยบวกคือประชาชนได้ฉีดวัคซีนมากขึ้น ผู้คนต้องการกลับไปใช้ชีวิตนอกบ้านแม้ยังไม่ปกติก็ตาม”

นอกจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กำลังซื้อ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค สิ่งที่เป็นปัจจัยต้องเฝ้าระวังในขณะนี้เพิ่มเติม คือสถานการณ์ราคาวัตถุดิบในการผลิตสินค้าที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง มีผลกระทบต่อต้นทุน ทำให้บริษัทต้องวางแนวทางในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ 

ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการวงการสินค้าอุปโภคบริโภคให้ข้อมูลผงซักฟอกต้นทุนพุ่ง จากวัตถุดิบขาดแคลนและราคาแพงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสารลดแรงตึงผิว หรือ Surfactant เป็นต้น 

คาโอ ฟันธงสินค้าจำเป็นฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ห่วงวัตถุดิบแพง กระทบต้นทุนพุ่ง สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2565 คาโอ มีการปรับเปลี่ยนแนวทางหลายด้าน ตั้งแต่การรีแบรนด์ปรับโลโก้คาโอให้มีความทันสมัยเป็นสากลมากขึ้น รวมถึงชูแนวคิดใหม่ “Kirei-Making Life Beautiful” สร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อชีวิตที่สวยงาม มุ่งสร้างสรรค์สินค้าตอบโจทย์ด้านสุขภาพของผู้คนให้ดีขึ้น สร้างสังคมที่น่าอยู่ และโลกที่สดใส สานภารกิจการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน(ESG)

ทั้งนี้ การเดินหน้าสู่ความยั่งยืน บริษัทตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนคาร์บอนไดออกไซต์ภายในปี 2583 บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของคาโอจะนำไปรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2568 เป็นต้น

“คาโอทำตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยกว่า 58 ปี แต่ปีนี้เรามีการรีแบรนด์ เปลี่ยนแนวคิดภายใต้คิเรอิ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อชีวิตของผู้บริโภค รวมถึงสังคม และโลก แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาธุรกิจยั่งยืน ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เทรนด์ที่ผู้บริโภคตระหนักเมื่อมีการซื้อสินค้า”

คาโอ ฟันธงสินค้าจำเป็นฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ห่วงวัตถุดิบแพง กระทบต้นทุนพุ่ง อย่างไรก็ตาม ปี 2564 คาโอ สร้างรายได้ในประเทศไทย 13,307 ล้านบาท มีการเติบโต 1 หลัก ขณะที่ทั่วโลกมีรายได้ 425,000 ล้านบาท