ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด

ประธานเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็นไปตามที่เราและตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อแสดงความจริงจังต่อการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

แต่มีแนวโน้มจะผ่อนระดับความตึงลงในจังหวะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก เผชิญกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนจากความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ราคาโภคภัณฑ์และสินทรัพย์เสี่ยงเผชิญความผันผวน ในระดับที่สูงมาก โดยล่าสุด น้ำมันดิบ WTI 113 (+6.5%), ถ่านหิน Newcastle coal 440 (+40.6%) ซึ่งราคาพลังงานล่าสุดเป็นอัพไซด์ต่อประมาณการของหุ้น PTTEP, BANPU, TOP // อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานที่สูงขึ้นส่งผลกระทบทางต้นทุนต่อหุ้นทั้ง SCGP, SCC, PTTGC และกลุ่มแปรรูปอาหารที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติ (ใช้ค่าเฉลี่ยน้ำมัน 6 เดือน) ที่จะสูงไปจนไตรมาส 3/65 จะเป็นแรงกดดันต่อ BGRIM, GPSC 
 

ปัญหาธนาคารรัสเซียเสี่ยงล้มจะไม่ลุกลาม

มีรายงานว่าธนาคารใหญ่สุดในรัสเซีย Sberbank มีความเสี่ยงใกล้ล้มละลาย หลังประชาชนแห่ถอนเงินจนทำให้หุ้นธนาคารที่ซื้อขายที่ตลาดหุ้นลอนดอน ปรับลดลงจาก15.33 ดอลลาร์ฯ เหลือเพียง 0.04 ดอลลาร์ฯ ทั้งนี้สถานการณ์ดังกล่าวเป็นวิกฤติความเชื่อมั่น รวมถึงการแสดงออกของประชาชนในยุโรปที่แสดงความไม่เห็นด้วยต่อรัสเซีย ซึ่งการเร่งถอนเงินจะทำให้ธนาคารขาดสถาพคล่อง ขณะที่ลูกหนี้ของธนาคารที่เป็นธุรกิจในรัสเซีย อาจด้อยค่า หรือมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงจากผลของมาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวที่จะไม่ลุกลามไปยังภาพรวมของหุ้นธนาคาร ขณะที่การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังยืนยันการขึ้นดอกเบี้ยและดูแลตลาดทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้น ซึ่งจะช่วยให้บรรยากาศซื้อขายของหุ้นธนาคารและกลุ่มที่เป็น yield sensitive มีโอกาสฟื้นตัว

 

 

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง การเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ บวกต่อ CK, STEC, ITD, UNIQ

2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW

3) กลุ่มบันเทิง งบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO

4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ SFT, WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP

5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, TWPC, KSL

6) ค่าระวางเรือ PSL, TTA

 

ภาพรวมกลยุทธ์

แกว่งตัวในกรอบ 1,680-1,700 โดยเชื่อว่าบรรยากาศลงทุน จะทยอยปรับดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานและโภคภัณฑ์ที่ เกี่ยวกับพลังงาน อย่างปาล์ม กลยุทธ์ยังเน้นเลือกเก็งกำไรรายตัวโดยเลือกหุ้นที่ยังมีความน่าสนใจในเชิงของ valuation และมีทิศทางการเติบโตของกำไรเป็นบวก //หุ้นแนะนำ: BANPU*, TOP*, CPI*, TRUE*

แนวรับ: 1,680 / แนวต้าน : 1,700-1,720 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

ประเด็นการลงทุน

โอเปคยังไม่เร่งปรับเพิ่มกำลังการผลิต - กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) และชาติพันธมิตร หรือโอเปคพลัส ยังยึดมั่นตามข้อตกลงเดิม โดยจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพียง 400,000 บาร์เรล/วันสำหรับเดือนเม.ย.

ส่งออกม.ค.65 โต 8% – รมว.พาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน ม.ค.65 พบว่า การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 8% มีมูลค่า 21,258.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการนำเข้าขยายตัว 20.5% มีมูลค่า 23,785 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้า ขาดดุล 2,526.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การส่งออกในเดือน ก.พ.65 ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน โดยยังคงเป้าส่งออกปีนี้ไว้ที่ 3-4% เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบโดยตรง เนื่องจากตลาดรัสเซียเป็นตลาดที่มีสัดส่วนราว 0.38% ของไทย

กกร.ขยับกรอบ GDP ปีนี้ 2.5-4.5% จากเดิม 3.0-4.5% – กกร.ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 65 มาอยู่ที่ 2.5- 4.5% จากครั้งก่อนที่คาดว่า GDP จะขยายตัว 3.0-4.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ขยับมาที่ 2.0-3.0% จากเดิม 1.5-2.5% ส่วนส่งออก คาดว่ายังมีแนวโน้มขยายตัว 3.0-5.0% ตามเดิม

Opportunity day –3 มี.ค. CPALL, BCPG, LEO, BRI, TFM, TU, AS, SNP, NOBLE, PR9, WICE, BCP, BEM, NRF // 4 มี.ค. BAM, JUBILE, WHAUP, WHA, FORTH, NSL, AGE, HFT, CENTEL, BA, SKN, PTT, SONIC, SUTHA

 

ประเด็นติดตาม: 3 มี.ค. – OPEC Meeting /4 มี.ค. – TH CPI เดือน ก.พ., US Employment Report

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)