เปิดเบื้องหลัง "บรรจุภัณฑ์" ทำเพื่อโลก ตอบโจทย์ Net Zero สู่ "สังคมคาร์บอนต่ำ"

เปิดเบื้องหลัง "บรรจุภัณฑ์" ทำเพื่อโลก ตอบโจทย์ Net Zero สู่ "สังคมคาร์บอนต่ำ"

เบื้องหลัง "บรรจุภัณฑ์" คิดมาแล้วเพื่อโลก ตอบโจทย์ Net Zero สู่ "สังคมคาร์บอนต่ำ" ถอดสูตรคิด "Dow" ทุ่มพัฒนานวัตกรรมรักษ์โลก สนับสนุนคู่ค้า ชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ สนองความต้องการผู้บริโภค

ในยุคที่แนวคิดรักษ์โลกไม่ได้เป็นแค่เทรนด์ แต่เป็นคอนเซ็ปต์หลักในการทำธุรกิจ เรื่องของ "บรรจุภัณฑ์" ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ปกป้องสินค้าให้ดูดี สวยงามอีกต่อไป แต่ยังต้องคิดเพื่อโลก ตอบรับความต้องการผู้บริโภคที่ยอมควักเงินจ่ายเพื่อให้ได้ใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้หลายอุตสาหกรรมเร่งปรับตัวขนานใหญ่

ยกตัวอย่าง "ถุงข้าวสาร" ที่ผู้บริโภคทั่วๆ ไปอาจไม่ทราบว่า ในบางยี่ห้อ ผ่านการผลิตที่คิดมาแล้วเพื่อโลกโดยสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งแต่เดิมนั้น ถุงข้าวสารปกติผลิตจากโพลิเมอร์ 2 ชนิด มีความหนา 110 ไมครอน ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ แต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมมือกับ บริษัท CPI บริษัท เอสซีจี แพ็กเกจจิง (SCGP) และ บริษัท พรีแพค ประเทศไทย จำกัด พัฒนา "ถุงข้าวตราฉัตร" ขึ้นมา เรียกว่า "all PE recycle rice bag" โดยนำเทคโนโลยี INNATETM ที่ Dow พัฒนาขึ้นมา ช่วยให้ถุงข้าวมีคุณสมบัติบางลง แต่ยังคงมีความแข็งแรงใกล้เคียงเดิม 

เปิดเบื้องหลัง \"บรรจุภัณฑ์\" ทำเพื่อโลก ตอบโจทย์ Net Zero สู่ \"สังคมคาร์บอนต่ำ\"

นับเป็นหนึ่งความสำเร็จที่สามารถยกมาตรฐานถุงข้าวสารให้เป็น "ถุงข้าวรักษ์โลก" สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ 100% ลดการใช้พลาสติก ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เปิดเบื้องหลัง \"บรรจุภัณฑ์\" ทำเพื่อโลก ตอบโจทย์ Net Zero สู่ \"สังคมคาร์บอนต่ำ\"

สอดรับกับเป้าการทำงานด้านความยั่งยืนของ Dow ผู้นำด้านวัสดุศาสตร์ (Materials Science) ระดับโลก ที่มุ่งมั่นแก้ปัญหาโลกร้อน และลดขยะพลาสติก หนึ่งในนั้นคือ "ธุรกิจบรรจุภัณฑ์" ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นความยั่งยืน 2 ส่วนคือ ทำอย่างไรให้เกิดการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ซ้ำ อีกส่วนคือ ภาวะโลกร้อน ที่โลกกำลังให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดก๊าซเรือนกระจก

ชมพูนุช จันทร์บัว Marketing Development Manager กล่าวถึงเทรนด์เเพ็กเกจจิงรักษ์โลกที่กำลังมาแรง เนื่องจากลูกค้าหันมาสนใจเรื่องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์แบบยั่งยืนเกือบ 99% ว่า การผลิตบรรจุภัณฑ์ในยุคนี้ ไม่ใด้มองแค่เรื่องความทนทานและความสวยงามเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญ สำหรับบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ที่จะต้องร่วมกันพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยกันสร้างบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก 

ดังนั้น Dow จึงให้ความสำคัญของการคิดค้นนวัตกรรม เพื่อมาพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคต โดยมีนักวิจัยที่ทำหน้าที่ค้นคว้าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากถึง 7,000 คนทั่วโลก

ปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ของเม็ดพลาสติกมากมาย เพื่อเป็นโซลูชันให้เจ้าของแบรนด์สินค้า และโรงงานแปรรูปพลาสติก เลือกนำไปใช้พัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% นอกจากนั้น ยังมีนวัตกรรมเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนชนิดพิเศษ ที่คิดค้นและพัฒนาจนมีความแข็งแรง เหนียว และทนทานกว่าเม็ดพลาสติกทั่วๆ ไป สามารถช่วยลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกลง สามารถรีไซเคิลได้ และนำไปใช้พัฒนาเป็นถุงบรรจุภัณฑ์หลากหลายชนิด "ถุงข้าวรักษ์โลก" ก็เป็นหนึ่งในนั้น

ทั้งนี้ Dow ยังร่วมมือกับลูกค้า พัฒนา "ฟิล์มหดรัดสินค้า" จากนวัตกรรมเม็ดพลาสติก PCR เพื่อใช้ในการแพ็กสินค้าส่งไปยังร้านค้าและผู้บริโภคที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ นับเป็นครั้งแรกของเอเชีย แปซิฟิก และประเทศไทยที่มีการผลิต "ฟิล์มหดรัดสินค้า" ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ 

รังสรรค์ เชาว์สุวรรณกิจ Technical Service Manager กล่าวว่า ผู้ผลิตหลายรายเริ่มให้ความสนใจที่จะนำ PCR หรือ post-consumer recycled Resin ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกสูตรพิเศษ ผสมพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วมาผลิตเป็นฟิล์มหดรัดสินค้า ที่ยังคงคุณสมบัติเทียบเท่ากับฟิล์มที่ทำมาจากเม็ดพลาสติกใหม่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และประหยัดพลังงานได้ เป็นวิธีที่จะช่วยจัดการกับพลาสติกใช้แล้ว เพื่อไม่ให้กลายเป็นขยะ

ที่ผ่านมา Dow ยังได้ดำเนินหลายๆ โครงการที่สำคัญร่วมกับทั้งภาครัฐภาคเอกชน และชุมชน โดยนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน อาทิ

  • โครงการถนนพลาสติก โดยนำพลาสติกใช้แล้วมาผสมกับยางมะตอย เพื่อเพิ่มความคงทนของถนน
  • การทำพาเลทไม้เทียมจากพลาสติกใช้แล้ว ด้วยการนำถุงบรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลไม่ได้ มาผลิตพาเลท ซึ่งได้เริ่มใช้งานจริงในโรงงานและคลังสินค้าของ Dow โดยมีแผนต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป
  • การนำขยะพลาสติกในทะเลมาผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งราคาไม่ต่างจากวัสดุทั่วไปและมีความคงทนเทียบเท่าของเดิม แต่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน

การดำเนินงานดังกล่าว ทำให้ต้นปีที่ผ่านมา สามารถรวมเก็บพลาสติกใช้แล้วกลับไปรีไซเคิลได้กว่า 6.2 ตัน ได้รับการรับรอง Low Emission Support Scheme (LESS) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เทียบเท่า 147 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์ 

นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จสู่เป้าหมายความยั่งยืน Net Zero ของประเทศไทยที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 และการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ท้าทายในยุคที่หลายธุรกิจต้องเผชิญโจทย์ใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อม

หากใครต้องการชิงความได้เปรียบทางธุรกิจด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน หาคำตอบสู่ทางลัดได้ในงานสัมมนา "Fast Track to the Net Zero" จัดโดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้ในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคมนี้ ตั้งแต่บ่ายโมงเป็นต้นไป ลงทะเบียนภายในวันที่ 4 มีนาคม 2565 ได้ที่ https://bit.ly/36ucGuS เพื่อรับลิงค์ชมการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-338-3000 กด 1