อาจผันผวนหลังสถานการณ์ยูเครนยืดเยื้อ

อาจผันผวนหลังสถานการณ์ยูเครนยืดเยื้อ

ติดตามการหารือระหว่างรัสเซียและยูเครน ภาพรวมการลงทุนระยะสั้นเป็นลบ หลังสถานการณ์ในยูเครนมีความยืดเยื้อ และรัสเซียไม่สามารถบุกยึดยูเครนได้ในเวลาสั้น

การลุกขึ้นสู้ของภาคประชาชน และแรงกดดันจากประชาชนยุโรปในหลายประเทศ ทำให้ประเทศในยุโรปจำเป็นต้องส่งความช่วยเหลือยูเครนทั้งในรูปของเงิน และอาวุธ จะทำให้สถานการณ์ในยูเครนมีความซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงอาจมีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากทางรัสเซียเองจำเป็นต้องเร่งเข้ายึดเมืองขนาดใหญ่ หรือจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อชิงความได้เปรียบในการเจรจา โดย CNN รายงานตัวแทนยูเครนและรัสเซีย มีกำหนดการเจรจาเช้าวันนี้ที่เบลารุส 

โภคภัณฑ์และสินทรัพย์เสี่ยงผันผวนจากการแบนรัสเซียจากระบบ SWIFT การตัดสินใจตัดธนาคารรัสเซียออกจากระบบชำระและโอนเงินระหว่างประเทศ (SWIFT) ที่มีสมาชิกเป็นธนาคารกว่า 11,000 แห่งทั่วโลก จะทำให้การชำระราคาสินค้าและบริการดำเนินการได้ลำบากขึ้น และธนาคารในรัสเซียอาจต้องดำเนินการผ่านระบบการชำระราคาแบบดั้งเดิม หรือผ่านระบบการชำระเงินอื่นซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่า ซึ่งยังประเมินผลกระทบได้จาก เบื้องต้นผลที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ 1) ราคาสินค้าพลังงานระยะสั้นอาจสูงขึ้น 2) การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานอาจทำให้สถานการณ์เงินเฟื้อยืดเยื้อ และเพิ่มความเสี่ยงของเศรษฐกิจชะงักงัน (stagflation) 3) ค่าเงินรูเบิลรัสเซียอ่อนค่าลง ทำให้กำลังซื้อ และกำลังการบริโภคของรัสเซียชะลอ
 

ตลาดหุ้นเอเชียและไทย คาดผันผวนน้อยกว่ายุโรป ปริมาณการค้าระหว่างรัสเซียกับเอเชียและไทยต่ำกว่ายุโรป รวมทั้งไม่ได้อยู่ในภูมิภาคที่เกิดความขัดแย้งทำให้ผลกระทบโดยรวมน่าจะต่ำกว่า โดยรัสเซียและยูเครนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 30 และ 63 ของไทย โดยมีมูลค่า 88,167 ล้านบาท (คิดเป็น 5.2-5.7% ของการค้าไทยปี 64) และ12,428 ล้านบาท (คิดเป็น 0.7-0.8% ของการค้าไทยปี 64) โดยสินค้าออกไทยที่ส่งออกไปยังประเทศทั้งสอง ที่มากที่สุดได้แก่ รถยนต์ และผลิตภัณฑ์ยาง ตามลำดับ // ด้วยผลกระทบจากความขัดแย้งในระดับที่จำกัดกว่ายุโรป เราประเมินไทยและอาเซียน ยังเป็นแหล่งพักเงินและเป็นตลาดที่ปลอดภัยกว่าการลงทุนในภาพรวม

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง การเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ บวกต่อ CK, STEC, ITD, UNIQ 2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 3) กลุ่มบันเทิง ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากงบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO 4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ SFT, WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP 5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, TWPC, KSL
 

ภาพรวมกลยุทธ์: ภาพรวมการลงทุนอาจหลับมาผันผวนหลังสถานการณ์ในยูเครนมีแนวโน้มยืดเยื้อและซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังประเมินผลกระทบต่อไทยและอาเซียนต่ำกว่าในยุโรป ทำให้ยังมีโอกาสเลือกเก็งกำไรรายตัวโดยเลือกหุ้นที่ยังมีความน่าสนใจในเชิงของ valuation และมีทิศทางการเติบโตของกำไรเป็นบวก //หุ้นแนะนำ: ILINK*, ASW*, MAKRO*, TOP*

แนวรับ: 1,650-1,660 / แนวต้าน : 1,685-1,700 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

 

ประเด็นการลงทุน

DOD - จ่อปั๊มรายได้ปีนี้ขยายตัว 20% เล็งออกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารครบวงจร เตรียมส่งมอบผลิตภัณฑ์กัญชงให้ลูกค้าล็อตแรกต้นปีนี้

BGRIM - โฟกัสลดต้นทุนก๊าซ วางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพพร้อมลดต้นทุนค่าใช้จ่าย คาดประหยัดไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ปีนี้เดินหน้าขยายไฟฟ้ากวาด PPA ไม่ต่ำกว่า 1,000 เมกะวัตต์ เร่งวาง 6 รากฐานปูทางอนาคน เพิ่มกรอบหุ้นกู้แสนล้านบาท ประกาศปันผลอีก 0.27 บาท

IRPC - วางเป้ายอดขายปีนี้โตรับดีมานด์ฟื้นตัว ชี้ราคาน้ำมันทรงตัวสูงหนุนกำไรจากสต๊อกน้ำมัน-สเปรดปิโตรเคมีดีขึ้น ขณะที่ทุ่มงบลงทุนปีนี้ 2 หมื่นล้านบาท ลงทุนโครงการ UCF พร้อมเตรียมงบซื้อกิจการอีก 8.9 พันล้านบาท

 

ประเด็นติดตาม: 28 ก.พ. – ตัวเลขส่งออกไทย/4 มี.ค. – TH CPI เดือน ก.พ., US Employment Report

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)