’คว่ำบาตร’ รัสเซียฉุดเศรษฐกิจไทย น้ำมันพุ่งต้นทุนสูง

เคแบงก์ ชี้ผลกระทบวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนต่อประเทศไทยขึ้นกับความยืดเยื้อและรุนแรง โดยภาพรวมขณะนี้ทำน้ำมันพุ่ง ต้นทุนธุรกิจและราคาสินค้าเตรียมขยับ

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบกับภาคการส่งออกของประเทศไทยจากสถานการณ์กองทัพรัสเซียเข้าโจมตียูเครนขึ้นอยู่กับการขยายวงความรุนแรง และมาตรการตอบโต้โดยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (Economic Sanctions) จากนานาประเทศ สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทยในขณะนี้คือราคาน้ำมัน ยิ่งสถานการณ์มีความตึงเครียด ยิ่งส่งผลต่อต้นทุนพลังงาน ต้นทุนธุรกิจ ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นด้านที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ขณะที่ตลาดเงินตลาดทุนของไทยมีความผันผวนสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนอาจย้ายไปสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง 

สำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของธนาคารกสิกรไทยที่มีการค้าขายกับคู่ค้าในรัสเซียและยูเครน ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการเกษตร อุปกรณ์ก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ อย่างไรก็ตามมูลค่าการค้าขายกับคู่ค้าในรัสเซียและยูเครนมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าต่างประเทศทั้งหมด โดยธนาคารได้ติดตามสถานการณ์ระหว่างยูเครนและรัสเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้คำแนะนำกับลูกค้าให้ระมัดระวังเรื่องการทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศกับทั้ง 2 ประเทศในช่วงนี้ เนื่องจากสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอน กรณีมีการนำเข้า-ส่งออก หรือธุรกรรมโอนเงินกับทั้ง 2 ประเทศ อาจมีความเสี่ยงได้รับเงินล่าช้า ทั้งกรณีคู่ค้าที่อยู่ในประเทศไทย รัสเซีย ยูเครน

นายพัชร กล่าวต่อว่า สิ่งที่ต้องติดตามคือ สถานการณ์ดังกล่าวจะยกระดับความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหรือไม่ รวมถึงประเด็นสำคัญคือ มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (Economic Sanctions) จากประเทศต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้กับรัสเซีย ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและตลาดเงินของรัสเซีย และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานในยุโรป รวมถึงสถาบันการเงินและภาคธุรกิจของยุโรปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจในรัสเซีย ซึ่งอาจทำให้การค้าระหว่างไทย-รัสเซีย-ยูเครน มีอุปสรรคในการทำธุรกรรมทางการเงิน ทั้งการหาธนาคารรับรอง การเปิดบัญชีธุรกิจข้ามชาติ (แอล/ซี) การชำระเงิน การโอนเงินต่าง ๆ เป็นต้น และหากสถานการณ์พลิกผันไปสู่สงครามที่ขยายวงกว้าง เศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะหดตัว และเกิดภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงจากราคาพลังงานที่พุ่ง (Stagflation) แต่เชื่อว่า หลายฝ่ายมีความพยายามที่จะเจรจาให้มีข้อยุติโดยเร็ว โดยธนาคารกสิกรไทยจะเฝ้าระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของลูกค้า และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ ในปี 2564 ไทยส่งออกไปรัสเซียมีมูลค่าประมาณ 1,028 ล้านดอลลาร์ฯ เติบโตสูงถึง 42% โดยการส่งออกไปรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนราว 0.4% ของมูลค่าการส่งออกไทยไปตลาดโลก ขณะที่สินค้าส่งออกหลักของไทยไปตลาดรัสเซีย ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกล ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้หลายรายการเป็นการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ที่ไทยได้รับจากกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช หรือ CIS (Commonwealth of Independent States มีสมาชิก 12 ประเทศ รวมรัสเซีย) 

ส่วนยูเครนนั้น ในปี 2564 ไทยส่งออกไปเป็นมูลค่าประมาณ 135 ล้านดอลลาร์ฯ เติบโตสูง 35.7% เช่นกัน แต่สัดส่วนยังน้อยอยู่มาก โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เป็นต้น 

 

"กรณ์" วิเคราะห์สงครามรัสเซีย - ยูเครน แม้กระทบตลาดคริปโต แต่อนาคตจะโตขึ้น

28 ก.พ.2565 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงสถานการณ์สงครามรัสเซีย – ยูเครน ต่อบทบาทของคริปโต และผลกระทบต่อธุรกิจไทยว่า ระยะหลายวันที่ผ่านมาราคาเหรียญคริปโต #Crypto ทุกชนิดปรับลดลงหมด ทิศทางและพฤติกรรมไม่ต่างกับหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เกิดคำถามว่า นอกจากเหตุผลทางอารมณ์แล้วทำไมต้องเป็นเช่นนั้น คริปโตไปเกี่ยวอะไรกับเขาด้วย พอมานั่งคิดดู รัสเซียโดนโดดเดี่ยว และถูกตัดออกจากระบบ SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication) ซึ่งเป็นระบบการส่งข้อความระหว่างธนาคารเพื่อยืนยันการโอนเงินข้ามประเทศ มีธนาคารของรัสเซียอยู่ในระบบนี้ประมาณ 300 แห่ง ทำให้โอนเงินผ่านระบบธนาคารยากขึ้นมาก ซึ่งจะส่งผลอย่างแรงกับเศรษฐกิจของรัสเซีย (ผลต่อ GDP อย่างน้อย 5%) แต่ก็จะส่งผลกับเศรษฐกิจยุโรปและทั่วโลกด้วย อย่างเช่นเรื่องก๊าซ ซึ่ง 30-40% ของก๊าซของยุโรปมาจากรัสเซีย จากนี้จะซื้อ/ขายกันหรือไม่อย่างไร และจะมีผลต่อราคาก๊าซและราคานํ้ามันที่ไทยต้องซื้ออย่างไรด้วย ส่วนผู้ประกอบการไทยที่รอการชำระเงินจากคู่ค้ารัสเซีย ต้องรีบสะสางโดยเร็ว 

นายกรณ์ มองว่า นี่คือจังหวะของระบบการเงินแบบ DeFi (ระบบการเงินที่ไม่ต้องพึ่งพาคนกลางเช่นสถาบันการเงิน) ที่จะมาทำหน้าที่แทน จริงๆแล้วน่าจะส่งผลบวกต่อ Crypto อย่างเช่น Bitcoin ในเร็ววัน ขณะเดียวกัน ข่าวต่างประเทศก็ได้รายงานถึงการบริจาคเหรียญ Bitcoin ให้ชาวยูเครน ซึ่งนี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งว่าช่วงสงครามที่ระบบปกติเข้าถึงได้ยาก ระบบที่พึ่งพาเทคโนโลยีจะมาทดแทนทันที และ Crypto Exchange ของยูเครนรายงานว่าชาวยูเครนยอมเข้าซื้อ USD stable coin ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ส่วนหนึ่งเพราะทางรัฐบาลยูเครนได้มีคำสั่งจำกัดการถอนหรือโอนเงินในระบบธนาคารเพื่อป้องกันเงินไหลออกนอกประเทศ และเพื่อปกป้องระบบธนาคารในเวลาเดียวกัน ชาวรัสเซียอาจจะต้องขาย Bitcoin ในมือออกมาเพื่อแปลงเป็นเงินดอลลาร์บ้าง ส่วนนี้ก็อาจจะกดดันราคาไประยะหนึ่ง

“ ผมเชื่อว่า พอพ้นอาการ ‘ตกใจ’ ช่วงแรก เราจะได้เห็นคริปโตมีบทบาทมากขึ้น” อดีต รมว.คลัง กล