สถานการณ์ยูเครนเพิ่มความซับซ้อน และความเสี่ยงต่อการใช้กำลังทางทหาร

สถานการณ์ยูเครนเพิ่มความซับซ้อน และความเสี่ยงต่อการใช้กำลังทางทหาร

จับตาการตอบโต้ของ NATO และยุโรปต่อรัสเซีย หลังประธานาธิบดีปูติน ลงนามรับรองการประกาศเป็นเขตปกครองอิสระของ เมือง Donetsk และ Luhansk ในพื้นที่ Donbas ทางยูเครนตะวันออก (ซึ่งในเมืองทั้งสองมีประชาชนรัสเซียและมีความฝักใฝ่ในรัสเซียสูง)

ซึ่งจะเปิดทางให้รัสเซียส่งกำลังทหารไปคุ้มครองพื้นที่ดังกล่าว แต่ก็อาจถือเป็นการละเมิดข้อตกลงสันติภาพมินสค์ และทำให้กลุ่ม NATO ที่นำโดยสหรัฐฯ และยุโรป อาจมีการประกาศมาตรการตอบโต้และคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ซึ่งผลกระทบเบื้องต้นได้แก่ 1) จะเป็นความเสี่ยงซ้ำเติมต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง โดยเฉพาะต่อยุโรปที่พึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียในระดับสูง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเช้านี้ปรับตัวขึ้นทันที 3-4% 2) นักลงทุนจะเพื่มความเสี่ยงต่อการเกิดเศรษฐกิจถดถอย (recession) และภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ (stagflation) จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจชะลอลง ขณะที่เงินเห้ออาจสูงยาวกว่าคาดจากราคาน้ำมัน 3) ความเสี่ยงจากปัญหายูเครน จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ เพิ่มความระมัดระวังต่อการขึ้นดอกเบี้ย และทำให้โอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% ในรอบการประชุม 15-16 มี.ค. น่าจะมีความเป็นไปได้ต่ำลงอย่างมาก เป็นเป็นปัจจัยบวก
 

ปรับหุ้นตามดัชนี FTSE รอบนี้ไม่มีหุ้นขนาดใหญ่ มีเพียงหุ้นขนาดเล็ก (TIP, JTS, และ SINGER) และเล็กมาก (จำนวน 35 ตัว) ที่ถูกนำเข้าคำนวณ อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าสนใจคือการปรับน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยและหุ้นรายตัว โดยหุ้นไทยถูกลดน้ำหนักลงเล็กน้อยเหลือ 0.6546% (จาก 0.6604%) โดยหุ้นที่ถูกปรับลดน้ำหนัก ได้แก่ BBL, PTT, SCC, SCB, AOT, ADVANC, KBANK, GULF, BDMS, PTTEP ขณะที่หุ้นที่ถูกเพิ่มน้ำหนักอยู่ในกลุ่มซีพี ได้แก้ CPALL, CPF, MAKRO ทำให้หุ้นในกลุ่มนี้มีโอกาสเคลื่อนไหวได้ดีกว่าตลาดในระยะสั้น โดยการปรับพอร์ต จะมีผล 18 มี.ค.65

 

 

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง การเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ บวกต่อ CK, STEC, ITD, UNIQ 2) กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ตลาดเก็งกำไรการเข้าสู่ธุรกิจใหม่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอล และผลประกอบการปี 2564 ที่น่าจะเห็นการจ่ายปันผลในระดับที่ดี อย่างไรก็ตามยังมีความไม่ชัดเจนของภาพรายได้ปี 2565 อีกมาก การเก็งกำไรจึงควรกำหนจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง KGI, ASP, CGH, FSS 3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 4) กลุ่มบันเทิง ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากงบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO 5) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ SFT, WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL

ภาพรวมกลยุทธ์: ความซับซ้อนของสถานการณ์ยูเครน กดดันให้เกิดแรงขายและลดน้ำหนักการเก็งกำไร ต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดย SET Index หลุดแนวรับ 1,700 และอาจลงทดสอบ 1,670-1,682 จุด เน้นเก็งกำไรสลับรายกลุ่มโดยเลือกหุ้นที่ยังมีความน่าสนใจในเชิงของ valuation และมีทิศทางการเติบโตของกำไรเป็นบวก //หุ้นแนะนำ: TOP*, OR*, MAKRO*, IVL*

แนวรับ: 1,670-1,683 / แนวต้าน : 1,700 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

 

 

ประเด็นการลงทุน

สธ.ยกระดับเตือนภัยโควิดเป็นระดับ 4 โดยขอความร่วมมืองดเข้าสถานที่เสี่ยง, เลี้ยงการรวมกลุ่ม, ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ และทำงานที่บ้าน โดยคาดการณ์ภายใน 1-2 สัปดาห์ ตัวเลขการติดเชื้อจะยังทรงตัวในระดับสูง 

สินเชื่อระบบแบงก์พาณิชย์ปี 64 ขยายตัว 6.5% - ธปท. เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2564 ว่า ระบบมีความเข้มแข็ง มีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยคุณภาพสินเชื่อในภาพรวมค่อนข้างทรงตัวจากปีก่อน ขณะที่ผลประกอบการปรับดีขึ้นจากปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19

สภาพัฒน์รายงาน GDP ไตรมาส 4/64 – ที่ 1.9% ทำให้ทั้งปี 2564 ขยายตัว 1.6% ดีกว่าที่คาดการณ์เดิมที่ 1.2% ขณะที่คงคาดการณ์ GDP ปี 2565 ที่ 3.5-4.5%

 

ประเด็นติดตาม: 22 ก.พ. – US Consumer Confidence เดือน ก.พ. / 23 ก.พ. – TH ส่งออก

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)