Sideways เก็งกำไร BEC WHA AS (18 ก.พ. 2565)

Sideways เก็งกำไร BEC WHA AS (18 ก.พ. 2565)

คาดดัชนีฯ Sideways แนวต้าน 1,718 / 1,730 จุด แนวรับ 1,702 / 1,690 จุด (EMA 10 วัน) แนะนำ เก็งกำไร BEC WHA AS ทางเทคนิคคาดดัชนีฯ วันนี้จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด

แม้ยังได้แรงหนุนจาก Fundflow ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนวานนี้ที่ปรับสูงขึ้น (รัสเซียขับไล่ทูตสหรัฐฯ) และมุมมองของประธานเฟดสาขาต่าง ๆ และผู้ว่าการเฟดในงาน Monetary Policy Forum ส่วนไฮไลท์สำหรับหุ้น รายตัว จับตารายงานผลกำไรบจ. นำโดย BGRIM CHG CPF HANA MINT RS

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

       +KTZ Portfolio: Small Cap แนะนำ DOD TACC TFG ZEN (ซื้อ SAPPE และ AMANAH) / Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC TCAP CENTEL SCB ADVANC BBL EA KBANK MINT KTB TRUE TTB BLA (ซื้อ BEC)

      +Earnings Play: เก็งกำไรงบ 4Q21E: IVL PTT ACE SYNEX / หลักทรัพย์ที่มีการปรับเพิ่มเป้าหมายสูงขึ้น WoW ได้แก่ THCOM HENG INSET III SCCC JWD MC

      +Dividend Play: คาดให้ยิลด์ปันผลปี 2021E >3.5% และมี %Upside ต่อราคา >10%: TPIPP SCCC MC SC LPH BANPU NYT SAT IRPC TASCO ASP ORI NER WHAUP HTC CHG

      +/-สงครามรัสเซีย-ยูเครน: +กลุ่มอิงน้ำมันดิบโลก PTTEP PTT TOP –กลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน รับเหมาฯ AOT AAV BA MINT SHR CENTEL ERW

      +กลุ่มเชื่อมโยงกับ EV Cars: EA NEX CHO GPSC AH SAT

 

ปัจจัยบวก

     - FED: รายงาน FED Minutes มีความ Hawkish น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยมีใจความสำคัญ คือ ยังคงมีความพร้อมที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยและลดขนาดงบดุลของเฟดเร็ว ๆ นี้ โดยจะพิจารณาในการประชุมแต่ละครั้ง ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวไม่ผิดจากตลาดคาด ทำให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับการตัดสินใจด้านนโยบายการเงินของเฟด

 

 

ปัจจัยลบ

       - Geopolitical Risk: ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนกลับมากระทบตลาด อีกครั้ง หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ระบุว่ามีทุกข้อบ่งชี้ว่ารัสเซียกำลังวางแผนรุกรานยูเครนในอีกไม่กี่วันข้างหน้า รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียได้ออกมาขับไล่ นาย Bart Gorman รองเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงมอสโก ออกจากประเทศ  

       - COVID-19: จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้โอกาสผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ของศบค. เลื่อนออกไป

       - FMS: ผลสำรวจผจก.กองทุนทั่วโลก ประจำเดือน ก.พ. โดย BofA บ่งชี้ว่ามีจำนวนผจก.กองทุน overweight การลงทุนในหุ้นน้อยลง และเพิ่มการถือครอง Cash เพราะมีมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มมากขึ้น

 

ประเด็นสำคัญ

        UK: ยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. โดย Consensus คาดขยายตัวทั้ง MoM และ YoY

        USA: ตัวเลขยอดขายบ้านมือ 2 เดือน ม.ค. โดย Consensus คาดชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ 6.1 ล้านหลัง

 

+/-Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยปิดบวกต่อเนื่อง: ดัชนีฯ พุ่งขึ้นทำนิวไฮรอบ 2 ปี 6 เดือน ที่ 1,718.53 จุด ก่อนจะอ่อนตัวมาปิดที่ 1,711.58 จุด +10.13 จุด วอลุ่มซื้อขาย 1.01 แสนล้านบาท นำบวกโดยกลุ่มวัสดุก่อสร้าง +2.27% กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสำร +1.53% ขนส่งและโลจิสติกส์ +0.90% พลังงานและสาธารณูปโภค +0.31% หุ้นบวก >4% UAC ECL SABUY OR FNS PSL TOG AIT JTS SYNEX SNNP NYT ETC PLANB UVAN SVI TCC หุ้นลบ >4% EVER TGPRO BWG WORK SHANG TFI

 

 

- หุ้นสหรัฐฯ และยุโรปปิดลบ: DJIA -1.78% S&P500 -2.12% NASDAQ -2.88% หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุว่ามีทุกข้อบ่งชี้ว่ารัสเซียกำลังวางแผนรุกรานยูเครนในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ในขณะที่นาย เจมส์ บัลลาร์ด ได้ออกมายืนยันจุดยืนสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยให้ถึง 1% ในเดือน ก.ค. 2022 และสนับสนุนการลด งบดุลในช่วง 2Q22 เพื่อสกัดเงินเฟ้อ เช่นเดียวกับกับตลาดหุ้นยุโรป CAC40 -0.26% DAX -0.67% FTSE -0.87% ซึ่งปิดลบจากความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน

+/- ราคาน้ำมันปิดลบ ส่วนทองคำปิดบวกแรง: WTI -USD1.90 ปิดที่ USD91.76/บาร์เรล Brent -USD1.84 ปิดที่ USD92.97/บาร์เรล หลังจากฝรั่งเศสและอิหร่าน เผยว่าฝ่ายต่าง ๆ ใกล้บรรลุข้อตกลงรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 ที่เตหะรานทำไว้กับบรรดาชาติมหาอำนาจแล้ว ส่วนราคาทองคำปิดพุ่งขึ้น +USD30.50 ปิดที่ USD1,902.00/ออนซ์ ได้แรงหนุนจากความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน ยังคงหนุนให้นักลงทุนหันถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ประเด็นสำคัญ

        - Russia: สำนักข่าว RIA ของทางการรัสเซีย รายงานว่ากองทัพยูเครนได้โจมตีกลุ่มกบฏในภูมิภาคดอนบาส ซึ่งถือเป็นเขตหยุดยิงตามข้อตกลงมินสก์ ส่งผลเพิ่มความตึงเครียดในวิกฤตการณ์ยูเครนมากขึ้น เพราะกังวลว่ารัสเซียอาจใช้เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกองกำลังยูเครนและกลุ่มกบฏฝักใฝ่รัสเซียในภูมิภาคดอนบาส เป็นข้ออ้างในการโจมตียูเครน

       - Japan: รัฐบาลญี่ปุ่นปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ในเดือน ก.พ. สะท้อนถึงความอ่อนแอของการบริโภคภาคเอกชน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่มสูงขึ้น

 

กลยุทธ์การลงทุน: แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: ADVANC PTTEP PSL

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: BEC WHA AS

Derivatives: ปิด Long S50H22 ล็อกกำไรทั้งหมด (ติดตามรายละเอียดเพิ่มใน KTZ-D Report)