ธปท. จ่อผสมผสานเครื่องมือ ดำเนินนโยบายการเงิน สะท้อนความเสี่ยงรับโลกใหม่

ธปท. จ่อผสมผสานเครื่องมือ ดำเนินนโยบายการเงิน สะท้อนความเสี่ยงรับโลกใหม่

ธปท.จ่อปรับกรอบการดำเนินนโยบายการเงิน เพิ่มเติมจากการยึดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ หวังสะท้อนความเสี่ยง รับโลกใหม่มากขึ้น พร้อมนำเทคโนโลยีมาช่วยกำกับตรวจสอบต้นปีหน้า

   นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แก่นของธนาคารกลาง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกโจทย์ประเทศไทยในอนาคตคงหนี้ไม่พ้น เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของโลกใหม่ ไม่ติดกับโลกเก่า อยากอยู่ในโลกใหม่อย่างสง่างาม และมีบทบาทสำคัญในโลกใหม่ 
      ประเด็นแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ future of growth คือเราจะทำแบบเดิมไม่ได้ โดยมี 3ประเด็นที่สำคัญ คือการพึ่งพา เงินลงทุนจากต่างชาติ หรือ FDI แบบเดิมๆ เครื่องยนต์นี้คงทำได้ยากมากขึ้น เพราะหากดูการนำเข้าส่งออกสินค้าปัจจุบัน โดยเฉพาะการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือการดึงดูการลงทุนจากต่างประเทศ ที่ปัจจุบันเวียดนามสูงกว่าไทยถึง 3 เท่า ดังนั้นหากหวังพึ่งเครื่องยนต์นี้เหมือนเดิม เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคตคงทำได้ยากขึ้น 
 

       ประเด็นที่สอง หากดูตัวเราเองทางเศรษฐกิจ เช่นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจที่อยู่ในโลกที่ไม่ใช่โลกใหม่ แต่เป็นธุรกิจที่อิงกับโลกเก่าอุตสาหกรรมเดิมๆ เช่นพลังงาน การเงิน ซึ่งต่างสิ้นเชิงกับต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ  ที่บริษัทใน 10อันดับแรก ให้น้ำหนักไปที่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์ต่าง สะท้อนให้เห็นชัดเจน จาก 5 อันดับแรกของที่มีน้ำหนักเท่ากับ 20% ของ S&P500 สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนให้นำหนักไปทางเทคโนโลยีที่เป็นโลกใหม่ 
      ประเด็นที่สาม เราจะโตแบบเดิมไม่ได้ โดยเฉพาะการโตจากการพึ่งพา “หนี้” ที่ผ่านมา การลงทุนในประเทศไม่ฟื้นตัวมากนักทำให้มาเน้นการบริโภคเพื่อหนุนการเติบโตเป็นหลัก แต่รายได้คนไม่ได้เติบโต คนทางเดียว คือการก่อหนี้ ทำให้ปัจจุบัน หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นมาเกือบแตะ 90% จาก 10ปีก่อนที่อยู่เพียง 45% ดังนั้นการพึ่งพาด้านนี้ในการเติบโตในอนาคคคงเป็นไปได้ลำบาก

       ดังนั้นถามว่า เราต้องทำอะไร หรือแก้ไขอะไรเพื่อปิดแก็ป ปิดจุดอ่อนของเศรษฐกิจไทย โดยการเพิ่มทักษะของคนใหม่มีทักษะในรองรองรับโลกใหม่ โลกที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนการทำวิจัยพัฒนา R&D รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมที่ปัจจุบันยังมีรูมอีกมากในการเข้าไปทำสิ่งเหล่านี้ 
    หากมาดูบทบาทของภาคการเงิน บทบาทของธนาคารกลาง ในการสนับสนุนประเทศไทยไปข้างหน้าต้องทำอะไรบ้าง?

      อนาคคคงหนี้ไม่พ้นสองเรื่อง คือกระแสของเทคโนโลยีดิจิทั และกระแสของความยั่งยืน ที่จะมาอย่างต่อเนื่อง และมาอย่างรวดเร็วและแรงและอยู่กับเราไปอีกนาน 

 ออกภูมิทัศน์เพื่อกำหนดภาคการเงินในอนาคต

     บทบาทภาคการเงิน คือทำอย่างไรให้สามารถช่วยให้การเปลี่ยนผ่านของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงไปสู่โลกใหม่ ที่เน้นความยั่งยืน และเน้นดิจิทัลได้มากขึ้น จึงเป็นที่มาของธปท.ในการออก รายงานภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อกำหนดทิศทางภาคการเงินไทย โดยอิงกับสองหลักการคือ การรักษาเรื่องสมดุล ระหว่างนวัตกรรมทางการเงิน กับการดูแลความเสี่ยงกับเสถียรภาพ 
    “นวัตกรรมบางอย่าง อาจไม่ได้ส่งประโยชนต่อส่วนรวม สร้างความเสี่ยง ก็ต้องดูแลแลตรงนี้ให้สามดุล สมเหตุสมผลเทียบกับความเสี่ยง ที่ต้องหาจุดสมดุล และการดูแลความเสี่ยงของเรา คือการยืดหยุ่นมากขึ้น โดยอาศัย แนวทางของ การกำกับความเสี่ยงหรือ Risk-Based Approach อะไรที่เสียงมากก็กำกับเข้ม อะไรที่เสียงน้อยดูไม่ออก ก็ใช้หลักการ guardrail หรือราวกั้น เพื่อดูแลความเสี่ยง ทางกลับกันหากเวลผ่านไปความเสี่ยงมากขึ้น เราก็จำให้ราวกันเข้มขึ้น แต่ทั้งหมดเน้นความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อทำให้นวัตกรรมเกิดขึ้น โดยเฉพาะนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์กับส่วนรวม”
     อย่างไรก็ตาม จากการเปลี่ยนแปลงที่จะเจอข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้การกำหนดทิศทางข้างหน้าทำได้ลำบากมากขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ธปท.ยึดเหนียวคือ การมี guiding principle หรือเกณฑ์กำกับดูแล ที่ต้องทำให้เกิดการแยกชัดจเน ว่าอะไรเป็น “แก่น” อะไรเป็น “กระแส” การเป็นธนาคารกลาง จะทำตามกระแส หรือสีสันอาจไม่เหมาะสม ดังนั้นเราต้องทำให้เราเดินไปข้างหน้าได้ คือต้องแยกให้ชัดเจนว่า อะไรคือกระแส อะไรคือแก่น
 

ธปท.จ่อเปลี่ยนกรอบการดำเนินนโยบายการเงิน          
     ขอย้ำว่า เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า ธปท.ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะที่ผ่านมาเราเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด สารพัดมิติ โดยเฉพาะนโยบายการเงินที่เปลี่ยนแปลงจากอดีต จากการดำเนินนโยบายการเงินด้วยอิงกับเงินบาทลอยตัวหรือ (Flexible Exchange Rate)ปรับเปลี่ยนมาสู่ เป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting)”
       โดยหลังจากนี้ หากมองไปข้างหน้า กรอบการดำเนินนโยบายการเงิน คงมีการเปลี่ยนแปลง จากปัจจุบันที่มีการยึดการดำเนินนโยบายตามกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อยืดหยุ่น

    โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆเข้ามาพิจารณาในการดำเนินนโยบายการเงินมากขั้น เช่นการคำนึงถึงด้านเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability)ที่อาจมีการใช้เครื่องมือให้ครบถ้วน บูรณาการมากกว่าเดิม 
      หรือมีการพูดถึง เครื่องมือในด้านอัตราแลกเปลี่ยน หรือการดูแลเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน (macroprudential) ในการดูแลนโยบายการเงินให้ครบถ้วนมากขึ้น ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินคงมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จากนวัตกรรมต่างๆที่เปลี่ยนไปในอนาคต
      การกำกับดูแลสถาบันการเงินก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันเราใช้ microprudential ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินรายธนาคาร แต่บนโลกปัจจุบัน อาจไม่เพียงพอ ดังนั้นต้องใช้ macroprudential เพื่อดูแลความเสี่ยงเชิงระบบแบบองค์รวมเข้ามาด้วย เพื่อวัดเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน 
       อดีต หากดูความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินรายแบงก์หากพบว่ามั่นคง ก็อาจสะท้อนไปถึงระบบโดยรวมว่ามั่นคง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ธปท.เห็นว่า การตรวจสอบต่างๆอาจไม่เพียงพอ ต้องเสริม โดยการใช้ macroprudential เพราะบางครั้ง อาจมีความเสี่ยงที่แฝงอยู่ และอาจนำไปสู่วิกฤติเหมือนต่างประเทศได้ดังนั้น การตรวจสอบอย่างเดียวไม่พอ ต้องดู macroprudential ต้องดูภาคการเงินเป็นองค์รวมด้วย

เตรียมดึงเทคโนโลยีช่วยกำกับตรวจแบงก์ต้นปีหน้า 

    นอกจากนี้ ในด้านการตรวจสอบและกำกับสถาบันการเงิน จะเห็นมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในการกำกับดูแล หรือ SupTech (Regulatory Technology for supervisors or regulators)และ RegTech (Regulation Technology) ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการกำกับสถาบันการเงินในระยะข้างหน้า เพื่อให้ทันกาล สะดวก ลดภาระกับสถาบันการเงินในการตรวจสอบมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาได้ในต้นปีหน้า 
       นอกจากนี้ในภาคการเงิน ยังมีที่เกี่ยวกับระบบชำระเงิน ที่จะเห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนา Retail CBDC (Central Bank Digital Currency) กับภาคประชาชนในวงจำกัด ที่จะเปิดทดสอบในไตรมาส 4ปีนี้ เพื่อวางรากฐานโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน ให้เกิดการต่อยอดสร้างนวัตกรรมบน CBDC ได้  
     อีกด้านที่มีการเปลี่ยนแปลง ของธนาคารกลาง คือการสื่อสารที่จะมีมากขึ้น จากอดีตที่ธนาคารกลางไม่ค่อยสื่อสาร แต่ปัจจุบัน อย่างธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด มีการสื่อสารมากขึ้น โดยล่าสุดมีการออกมาประกาศเรื่องแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย
     เช่นเดียวกันการดำเนินนโยบายการเงินของไทย ที่มีการประกาศล่วงหน้า ถึงการประชุม มีการออกรายงานฉบับย่อ เพื่อสื่อสารมากขึ้นเพื่อให้ทราบถึงมุมมองของคณะกรรมกนง.

    ซึ่งต่างกันสิ้นเชิงกับอดีต โดยปัจจุบัน มีการสื่อสารมากขึ้น ให้เข้าใจง่าย และใช้กราฟฟิกเข้ามาอธิบายให้ภาพง่ายขึ้น ซี่งยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสื่อสารที่ดี ต้องทูเวย์ คือการสื่อสารและฟังด้วย สะท้อนให้เห็นว่าธนาคารมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง 
     ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สิ่งที่ไม่เปลี่ยนเลย คือ “แก่น” ของบทบทหน้าที่ของธนาคารกลาง การมีระบบชำระเงินที่รวมศูนย์ มีภาครัฐเป็นผู้รักษาดูแลมูลค่าของเงิน ดูแลเสถียรภาพของระบบการเงิน 
     ในอดีตมีการพูดถึง เรื่อง สกุลเงินที่เป็นของตัวเอง หรือ currency ว่าทำไมไม่ให้เอกชนทำ อดีตเราจะเห็นได้ว่าหลายธนาคารกลาง มีการออก currency เป็นของตัวเอง สุดท้ายสิ่งที่ตามมา คือ เงินที่ออกมา มูลค่าลดลง ไม่ค่อยมีเสถียร สถาบันการเงินก็มีการล้ม  หลังจากนั้นภาครัฐจึงตั้งธนาคารกลางขึ้นมา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ตอบโจทย์ของ 
     ดังนั้น หากระบบชำระเงิน ที่มีการรวมศูนย์ หรือ decentralize จะมีอะไรตามมา ประเทศไทยเราเปิดรับนักท่องเที่ยวเยอะมาก หากปล่อยให้มีหลายสกุลเงิน เหล่านี้อาจเกิดปัญหาตามมาได้ ทั้งการรับชำระ การรับเงินต่างๆ การแลกเงินต่างๆที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายตามมา 
      ในส่วนของคริปโทเคอเรนซี่ ถือเป็นนวัตกรรมการเงินอย่างหนึ่ง ที่อยู่ในกระแส ที่ไม่ได้ตอบโจทย์ชัดในด้านการชำระค่าสินค้าและบริการ เหล่านี้หากจะมาแทนที่ของการเป็นแก่นต้องทำอะไรที่ดีกว่าเดิม ไม่งั้นก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพ

     อีกทั้งยังมีความผันผวนสูง เหล่านี้คือตัวอย่างของกระแส ที่คิดว่าจะมาแทนแก่น  ดังนั้นต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ดีกว่าแก่น หรือดีกว่าของเดิม
      “ไม่ได้บอกว่าธปท.ยึดติดหรืออนุรักษ์นิยม เพราะอะไรที่ดีกว่าเดิม ธปท.ก็พร้อมแปลี่ยน และบนโลกดิจิทัล มีหลายอย่างที่เราเตรียมจะทำ ที่มองว่าเป็นประโยชน์กับรายย่อย และธุรกิจ เช่นเรื่อง CBDC ที่เป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานที่มีประโยชน์ ให้คนมาต่อยอดนวัตกรรมได้ ไม่ใช่เป็นเพียงการออกโปรดักท์เท่านั้น”