กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 7-11 กุมภาพันธ์: ทรงตัว ทางขึ้นดูมีจำกัดแล้วในช่วงสั้น

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 7-11 กุมภาพันธ์: ทรงตัว ทางขึ้นดูมีจำกัดแล้วในช่วงสั้น

ในสัปดาห์ที่แล้ว (31 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์) ดัชนี SET ฟื้นตัวได้ดีเกินคาด เนื่องจากทั้งดัชนี US dollar และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐย่อลงจากการที่ตลาดการเงินสะท้อนท่าที hawkish ของ Fed ไปมากแล้ว

โดยในขณะที่ CME Fed Fund Futures สะท้อนความคาดหมายว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 5-6 ครั้งในปีนี้ ค่าเงินดอลลาร์ฯ กลับอ่อนลงในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสะท้อนถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แผ่วลง และท่าที hawkish เหนือความคาดหมายของ ECB ทั้งนี้ ในการประชุม ECB วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ประธาน ECB มองว่าเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงด้าน upside อีก และไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ที่ยุโรปอาจจะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ออก ในขณะเดียวกัน หุ้นขนาดใหญ่ (large-cap) ยังคง outperform ดัชนี SET จากราคาหุ้นที่ยังสมเหตุสมผล และ ความเชื่อมโยงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดน้ำมันดิบที่แข็งแกร่ง

 

ในสัปดาห์นี้ (7-11 กุมภาพันธ์) เราคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะขยับแบบ sideways เรามองว่าราคาน้ำมันดิบที่ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นอาจจะช่วยหนุนหุ้นกลุ่มที่มีน้ำหนักมากอย่างเช่น พลังงาน และธนาคารในช่วงต้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดัชนี SET ฟื้นตัวมาระดับหนึ่งแล้วอาจจะทำให้มีแรงขายกลับเข้ามาในตลาดอีกได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันศุกร์ที่แล้ว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวิ่งขึ้นมาอีกครั้งจากตัวเลขการจ้างงานเดือนมกราคมที่ออกมาแข็งแกร่งเกินคาดอย่างมากและเรามองว่าอาจจะขึ้นต่อได้อีกในสัปดาห์นี้ ในขณะเดียวกัน เรามองว่าดัชนี CPI เดือนมกราคมของสหรัฐ และยอดผู้ติดเชื้อ Omicron ในประเทศจะเป็นสองปัจจัยที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้

 

 

 

ควรติดตามดัชนี CPI เดือนมกราคมของสหรัฐ และกระแสข่าว Omicron ในประเทศไทย

(0) ดัชนี CPI เดือนมกราคมของสหรัฐที่จะประกาศออกมาในวันพฤหัสบดี สหรัฐมีกำหนดจะประกาศดัชนี CPI เดือนมกราคมออกมาในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ โดยคาดว่า core CPI จะเร่งตัวขึ้นเป็น 5.9%YoY จาก 5.5% YoY ในเดือนธันวาคม แต่อย่างไรก็ตาม เรามองคล้ายกับนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐน่าจะถึงจุดสูงสุดในเร็ว ๆ นี้ และจะแผ่วลงหลังจากนั้น

(0) สถานการณ์ Omicron ในประเทศไทย ในช่วงหลายวันมานี้ ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันในประเทศไทยกลับมาเร่วตัวขึ้นอีกครั้ง และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สองสามคนเชื่อว่ากำลังจะเกิดการระบาดระลอกใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการกระจายวัคซีนอย่างต่อเนื่อง และอาการของ Omicron ไม่รุนแรง เราจึงคาดว่ารัฐบาลไทยไม่น่าจะกลับมาใช้มาตรการทางสังคมที่เข้มงวดขึ้นในช่วงนี้

 

หุ้นตัวใหญ่ยังดูน่าสนใจมากกว่า

ดังที่เราได้ระบุไว้ในบทวิเคราะห์กลยุทธ์เดือนกุมภาพันธ์ ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น และความผันผวนของภาวะความเสี่ยงในตลาดจะส่งผลกระทบกับหุ้นขนาดกลางถึงเล็ก โดยเฉพาะกลุ่มที่ราคาแพงแล้ว ดังนั้น เราจึงเชื่อว่าหุ้นใหญ่ (large-cap) น่าจะปลอดภัยมากกว่า โดยภาวะเศรษฐกิจยังคงดีขึ้น ส่วนราคาน้ำมันดิบขยับขึ้นไปอยู่ระดับสูงสุดในรอบเจ็ดปี ในขณะที่ประเทศไทยยังเดินหน้าเปิดประเทศอย่างต่อเนื่องแม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อ Omicron จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเรามองว่าเป็นบวกกับหุ้นหลักในกลุ่มธนาคาร (BBL*, KBANK*), พลังงาน (PTT*), commerce (CPALL*, CRC*), และท่องเที่ยว (MINT*,AOT*)