ส่อง “เงินออม-ลงทุน” คนไทยอยู่ที่ไหน  

ส่อง “เงินออม-ลงทุน” คนไทยอยู่ที่ไหน  

AIMC เผยสถติ "เงินออม-ลงทุน" คนไทย ในช่วง 5  ปีก่อนโควิด เงินสำรองประกันภัย- กองทุนส่วนบุคคล- เงินลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ โตต่อเนื่อง และทรงตัวได้ช่วงปีโควิด "เงินสำรองประกันภัย"มีสัดส่วนแตะ13.4% ในปี 62 และปีโควิดทรงตัวที่ 12.8-13% บิ๊กบอสประกันชีวิตชี้โอกาสทอง 3-5ปี

สมาคมบริษัทจัดการลงทุน ( AIMC) รายงานข้อมูล "การออมและการลงทุนภาคครัวเรือน" ณ มิ.ย. 2564 ผ่านเว็บไซต์ AIMC พบว่า เงินสำรองประกันภัยประมาณ  2.7 ล้านล้านบาท กองทุนส่วนบุคคล ประมาณ 1 ล้านล้านบาท  เงินลงทุนเพื่อการเลี้ยงชี ประมาณ 4 ล้านล้านบาท กองทุนรวมประมาณ 5.4 ล้านล้านบาท และเงินฝาก ประมาณ 7.8-8 ล้านบาท 

แต่ที่น่าสนใจคือ การเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนเงินออมและการลงทุนของคนไทย ในช่วง 5  ปีก่อนโควิด (ปี 58-62)  พบว่า เงินสำรองประกันภัย  มีสัดส่วน 11.8% ในปี 58  เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 13.4% ในปี 62  เช่นเดียวกับ กองทุนส่วนบุคคล  มีสัดส่วน 3.7% ในปี 58 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 5.4% ในปี 62  และกองทุนนสำรองเลี้ยงชีพ มีสัดส่วน 17.5% ในปี58  เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 19.1% ในปี 62 

ขณะที่กองทุนรวมและเงินฝาก  มีสัดส่วนลดลงต่อเนื่อง โดยกองทุนรวม มีสัดส่วน 24.3% ลดลงต่อเนื่อง มาอยู่ที่ 21.1% ในปี 62 และเงินฝาก มีสัดส่วน 42.8% ลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 37.9% ในปี 62 

     
หรือแม้แต่ในช่วงปีโควิด ( ปี 63- มิ.ย.64)  ที่คนไทยมีความจำเป็นต้องดึงเงินออมและเงินลงทุนมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือประคับประคองธุรกิจ  ก็ยังพบว่า เงินสำรองประกันภัย กองทุนส่วนบุคคล และเงินลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพยังรักษาสัดส่วนไว้ได้  โดยเงินสำรองประกันภัย ปี 63 มีสัดส่วน 13% ลดลงเล็กน้อย ณ มิ.ย.64อยู่ที่ 12.8%   กองทุนส่วนบุคคลทรงตัวที่สัดส่วน 8.8% และเงินลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ปี 63 มีสัดส่วน  18.4 %  ณ มิ.ย.64  เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่  18.7%     

ขณะที่ กองทุนรวม  มีสัดส่วนปี 63 อยู่ที่ 20.8%  เพิ่มขึ้น ณ  มิ.ย. 64 อยู่ที่  21.1%  แต่เงินฝาก  มีสัดส่วน   39.0% ลดลง ณ มิ.ย. 64 อยู่ที่ 38.6 %  

ส่อง “เงินออม-ลงทุน” คนไทยอยู่ที่ไหน  
 

บิ๊กบอส "ประกันชีวิต" ชี้ 3-5 ปีข้างหน้า "โอกาสทอง" 

กระแส "เฮลธ์-เวลธ์" แรงดูด"เงินออม-ลงทุน" คนไทย   

 

 "เงินสำรองประกันภัย"  ที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนปีโควิด และยังรักษาระดับไว้ในช่วงโควิด2 ปีที่ผ่านมานี้  หลักๆ มาจาก"ธุรกิจประกันชีวิต" ปรับภาพลักษณ์ และการยอมรับของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นต่อธุรกิจประกันชีวิตอย่างต่อเนื่องนั่นเอง  และในอีก 3-5 ปีข้างหน้านับว่าเป็น "โอกาสทอง" ของ "ธุรกิจประกันชีวิต" เลยกว่าได้ 

2 กระแสแรงมาแรง จากแนวโน้ม "การรักษาสุขภาพของคนไทย" แบบครบวรจรพร้อมกับการบริหารค่าใช้จ่าย และแนวโน้ม "ความต้องการผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ พร้อมกับการสร้างความคุ้มครองยังยั่งยืนในชีวิค" ที่เพิ่มขึ้นในช่วงโควิด ทำให้หลังจากนี้  เงินออมเงิน-ลงทุนของคนไทยไหลเข้าในธุรกิจประกันชีวิตแน่นอน 

"กรุงเทพประกันชีวิต"  ประกาศตัวสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน 

“โชน โสภณพนิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  หรือ BLA  "ผู้บริหารคลื่นลูกใหม่ประกันชีวิต” เจนเนอเรชั่นที่ 3 ของตระกูลโสภณพนิช ฉายภาพว่า โอกาสของธุรกิจประกันชีวิตหลังจากนี้  มาจาก 1. "ความต้องการสุขภาพที่เพิ่มขึ้น จากแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง การรับข้อมูลการเจ็บป่วยและความยุ่งยากในการเข้ารับการรักษาโควิด-19 จากสวัสดิการพื้นฐานและความกังวลเกี่ยวกับโรคร้ายแรงต่างๆ 

"บริษัทมีประกันสุขภาพ เติบโต 9.28% และสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง เติบโต 6.53% ณ สิ้นไตรมาส 3 /64" 

2."การหันมาขายประกันชีวิตของธุรกิจประเภทอื่นๆ ที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ทำให้เกิดช่องทางการขายใหม่ๆ ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านโทรคมนาคม ธุรกิจออนไลน์และอื่นๆ ที่มีฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินด้านอื่นๆ ต้องการผลิตภัณฑ์การเงินแบบครบวงจร การลงทุน การออมและการประภันภัยประกันชีวิต  

 

"กรุงเทพประกันชีวิต" เปิด5 มิติหลักของยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน นั้น 2 มิติลำดับแรก คือ "เฮลธ์" บริการด้านสุขภาพที่เป็นเลิศและ "เวลธ์"  ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่เข้าใจง่ายสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม

"เฮลธ์" แผนความคุ้มครองสุขภาพ ครอบคลุม ทุกเพศทุกวัย ทุกความต้องการ  ตั้งแต่คุ้มครองทุนประกันสูงพิเศษ และความคุ้มครองด้านสุขภาพเดินทางต่างประเทส ความคุ้มครองที่ครอบคลุมห้องพักเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล และคุ้มครองสูงสุด 5 ล้านบาทต่อการรักษา และสิ่งใหม่ "ความคุ้มครองเพิ่มจากสวัสดิการที่มีอยู่และความคุ้มครองหรับเด็ก" 

"เวลธ์"  ที่มีกระแสตอบรับดี  "ประกันชีวิตชนิดเงินปันผล"  โอกาสรับเงินปันผล ระบุชัดเจน ด้วยรับเงินประกันผลตอยแทนขั้นต่ำและโอกาสรับเงินปันผลเเพิ่มเติม คิดเป็นสัดส่วนจัดสรร 80% ของผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนหลังค่าใช้จาย  เป็นจุดแตกต่างจากในตลาด  และ"ประกันชีวืตควบการลงทุน"  ตอบโจทย์วางแผยเป้าหมายต่างๆ ครบ จบในกรมธรรม์เดียว

 "เมืองไทยประกันชีวิต"  สยายปีก  “MTL Next To You”

"สาระ ล่ำซำ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL  "ตัวพ่อแห่งวงการประกันชีวิต"  ขยับตัวทรานฟอร์มหน้า กลยุทธ์ “MTL Next To You” ที่มุ่งเน้นการพัฒนารอบด้านเพื่อตอบโจทย์ทุกมิติเฉพาะตัวแบบEnd to End อย่างยั่งยืนและมีจุดยืนในการเป็นผู้นำตลาดด้านความคุ้มครองสุขภาพ และการบริหารความมั่งคั่ง รวมทั้ง ยกระดับองค์กรสู่ความเป็นสากลเพื่อสามารถรับมือกับโลกยุคดิจิทัลเต็มตัว

โฟกัส "เฮลธ์-เวลธ์"  สำหรับ "เฮลธ์"  เน้นเจาะตลาดสินค้าประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health & CI) โดยพยายามเข้าถึงลูกค้า 3 กลุ่ม ได้แก่  1. Un-insure สินค้าที่มีความกะทัดรัด เบี้ยต่ำกว่า 100 บาทต่อปี  2. Un-insurable เช่น กลุ่มสูงวัย ที่จะมีการขยายอายุรับประกัน 80 ปี และต่ออายุได้จนถึง 99 ปี ซึ่งจะวางขายสินค้าภายในปีนี้   3.Un-interested กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจประกัน โดยจะใช้บิ๊กดาต้ามาจับหาไลฟ์สไตล์ลูกค้าเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งแบบไม่ขายประกันโดยตรง

ขณะที่ "เวลธ์" น้นเจาะตลาดลูกค้ามั่งคั่ง เพิ่มเริ่มต้นดูแลตั้งแต่การคุ้มครองชีวิต และปกป้องความมั่งคั่งให้ลูกค้าจากสินค้าควบการลงทุน โดยมีการจัดพอร์ตดูแลให้มีความยั่งยืน รวมไปถึงการวางแผนทางการเงินให้ตอบโจทย์ทุกช่วงชีวิต ตั้งแต่วัยเริ่มต้นทำงาน กำลังสร้างตัว ไปจนถึงการวางแผนเกษียณอายุ และการวางแผนมรดก

พร้อมทิ้งท้ายว่า "เราเป็นเจ้าแรก ๆ ที่ขายสินค้ายูนิตลิงก์แบบจัดพอร์ต (asset allocation) และทำมาแล้วกว่า 5 ปี โดยพอร์ตแนะนำเป็นบวกทุกปี” 

" อาเคเนย์ประกันชีวิต"  สร้าง"สุขภาพชีวิตของคนไทย"ที่ดีขึ้น

ลองมาดูฝีไม้ลายมือ "ผู้บริหารหญิงเก่ง" แห่งวงการประกันชีวิตที่มีไม่กี่คน หนึ่งในนั้นคือ "ภฤตยา สัจจศิลา" กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  แม้อยู่ในช่วงมรสุมธุรกิจประกันภัยในเครือTGH   แต่ยังเดินหน้าฉายภาพ 3 ปีข้างหน้า มุ่งส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนชีวิตในทุกด้าน ด้วยการสร้างนวัตตกรมการประกันชีวิตเพื่อ "สุขภาพชีวิตของคนไทย" ที่ดี  "เฮลธ์และเวลธ์" ต้องมาด้วยกัน

"เฮลธ์  ต้องทำให้การประกันชีวิต อยู่กับชีวิตคนไทย สามารถเกิดทรานเซ็กชั่นได้ ที่เรียกว่า “living benefits”  ดยประกันชีวิตเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้และอยู่บนระบบออนไลน์ เช่น ทุกสิ้นเดือนหรือเมื่อเกษียณอายุจะมีเงินจากประกันชีวิต เข้ามาเพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตและดูแลสุขภาพ และจุดแตกต่างในตลาดคือ การสร้างบริการอย่างจริงจัง "ประกันสุขภาพ" คือ living benefits ที่แท้จริง ตอนนี้ เริ่มเห็นคนไทยมองหาประกันสุขภาพเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวแล้ว

"เวลธ์"  การวางแผนทางการเงินสำหรับอนาคต และการวางแผนเกษียณอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมดูแลลูกค้าให้ได้รับความคุ้มครองทุกกรมธรรม์ที่ทำไว้อย่างต่อเนื่องตลอดสัญญากรมธรรม์ในทุกสถานการณ์ของชีวิต