สหรัฐยังครองแชมป์ไทยใช้สิทธิ GSP สูงสุด แม้ไทยถูกตัดสิทธิไปเมื่อปี 63

สหรัฐยังครองแชมป์ไทยใช้สิทธิ GSP สูงสุด แม้ไทยถูกตัดสิทธิไปเมื่อปี 63

กรมการค้าต่างประเทศเผย ไทยใช้สิทธิ GSP 11 เดือนปี 64 3,437.38 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 29.16% โดยสหรัฐฯ ครองอันดับ 1 ใช้สิทธิ GSP 3,071.76 ล้านดอลลาร์ เพิ่มสูงถึง 35.03%

นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผย ว่า สถิติการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ทั้ง 4 ระบบ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์  ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 ตั้งแต่ม.ค. – พ.ย.  มีมูลค่า 3,437.38 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 29.16% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 62.76%  โดยไทยยังคงใช้สิทธิฯ ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นถึง 35.03%  ในขณะที่การใช้สิทธิฯ ส่งออกไปยัง สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลดลง 10.78%   และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ลดลง 11.42%

โดยอันดับ 1 สหรัฐอเมริกา มูลค่า 3,071.76 ล้านดอลาร์ สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวดีตลอด 11 เดือนในปี 64 อาทิ ถุงมือยาง มูลค่าการใช้สิทธิฯ 488.66 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 62.12%  ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ  มูลค่าการใช้สิทธิฯ 286.79 ล้านดอลลาร์  ขยายตัว 73.26%   กรดซิทริก  มูลค่าการใช้สิทธิฯ 108 ล้านดอลลาร์  ขยายตัวะ 65.62%  ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ มูลค่าการใช้สิทธิฯ 84.14 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 13.12%   ผลไม้ ลูกนัต และส่วนอื่นที่บริโภคได้ของพืช ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย  มูลค่าการใช้สิทธิฯ 55.79 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 52.86%   เป็นต้น

สหรัฐยังครองแชมป์ไทยใช้สิทธิ GSP สูงสุด แม้ไทยถูกตัดสิทธิไปเมื่อปี 63

 

2 .สวิตเซอร์แลนด์  มูลค่า 241.68 ล้านดอลลาร์ สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวได้ดี อาทิ ของผสมของสารที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหรือเครื่องดื่ม  มูลค่าการใช้สิทธิฯ 24.60 ล้าน ขยายตัว  25.67% ของที่ใช้ลำเลียงสินค้าหรือบรรจุสินค้า รวมทั้งจุก ฝาและที่ปิดครอบอื่นๆ ทำด้วยโพลิเมอร์ของเอทิลีน  มูลค่าการใช้สิทธิฯ 11 ล้านดอลลาร์  ขยายตัว  8.69% ) หน้าปัดของนาฬิกาชนิดคล็อกหรือชนิดวอตช์  มูลค่าการใช้สิทธิฯ 7.27 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 13.24 % เป็นต้น

3. กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช  มูลค่า 109.38 ล้านดอลลาร์  สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวได้ดี อยู่ในกลุ่มสินค้าอาหาร อาทิ สับปะรดกระป๋อง มูลค่าการใช้สิทธิฯ 31.58 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวะ 14.65%   ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก และปลาโบนิโต (ชนิดซาร์ดา) มูลค่าการใช้สิทธิฯ 9.81 ล้านดอลลาร์  ขยายตัวะ 70.01 %  ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส มูลค่าการใช้สิทธิฯ 8.12 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว  39.16%  เป็นต้น

4. นอร์เวย์  มูลค่า 14.56 ล้านดอลลาร์   สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวได้ดี อาทิ ข้าวโพดหวาน มูลค่าการใช้สิทธิฯ 3.64 ล้านดอลลาร์  ขยายตัว  42.93%   อาหารปรุงแต่งอื่นๆ  มูลค่าการใช้สิทธิฯ 2.36 ล้าน ขยายตัว 2.36 %  เครื่องแต่งกายของสตรีหรือเด็กหญิงทำด้วยขนแกะหรือขนละเอียดของสัตว์  มูลค่าการใช้สิทธิฯ 1.22 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 132.46%    พาสต้ายัดไส้จะทำให้สุกหรือปรุงแต่งโดยวิธีอื่นหรือไม่ก็ตาม มูลค่าการใช้สิทธิฯ 0.52 ล้านดอลลาร์  ขยายตัว 197.94%   พืชผักอื่น ๆ ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย  มูลค่าการใช้สิทธิฯ 0.45 ล้านดอลลาร์ขยายตัว  35.17%  เป็นต้น

สหรัฐฯ ยังคงครองแชมป์การใช้สิทธิ GSP สูงสุดต่อเนื่องแม้ว่าการต่ออายุโครงการ GSP ที่สิ้นสุดลงไปเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2563 จะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาผ่านร่างกฎหมายจากรัฐสภาสหรัฐฯ “

ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้สิทธิ GSP สำหรับการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยังคงทำได้ตามปกติ เพียงแต่ผู้นำเข้าสหรัฐฯ จะต้องจ่ายภาษีหรือวางหลักประกันการนำเข้าสินค้าไปก่อน โดยคาดว่าจะได้รับภาษีคืนเมื่อสหรัฐฯ ต่ออายุโครงการ GSP แล้วเสร็จ และสำหรับการส่งออกไปยังสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะใช้สิทธิ GSP สามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง โดยขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศที่เว็บไซต์ http://self-cert.dft.go.th/self-cert/home/ManualRex.aspx ซึ่งการส่งออกโดยใช้สิทธิประโยชน์จะช่วยสร้างแต้มต่อและโอกาสในการส่งออกสินค้าท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้

หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือโทร สายด่วน 1385 รวมถึงไลน์แอปพลิเคชันชื่อบัญชี “@gsp_helper”