Financial Sector จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระยะยาว

Financial Sector จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระยะยาว

ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย สายนโยบายสถาบันการเงิน เสนอกรอบการแนวทางการกำกับเพื่อส่งเสริม/สนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งได้แก่

i) ธปท. กำลังร่างกรอบการการออกใบอนุญาตธนาคารแบบรูปใหม่โดยไม่มีสาขา (virtual bank) โดยทธปท.จะจัดทำ public hearing ผู้ที่เกี่ยวข้องจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 และ คาดว่าจะจัดทำข้อสรุปกรอบการกำกับดูแล หลักเกณฑ์การขอเสร็จภายใน 1H65

ii) ธปท. กำลังพิจารณาอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเข้าไปลงทุนในบริษัท fintech ได้ถึง 3% ของฐานเงินทุนธนาคาร

iii) ธปท. มีแผนจะยกระดับการกำกับดูแล และ มาตรฐานการดำเนินงานของธุรกิจ non-bank โดยเฉพาะนโยบาย macroprudential และการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (market conduct) ซึ่งได้แก่มาตรการ loan to value, การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการจดจำนอง

 

จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระยะยาวด้านภูมิทัศน์ของการแข่งขัน

กรอบใหม่ของการกำกับดูแลธุรกิจการเงินจะทำให้การเปลี่ยนสภาพการแข่งขันในระยะยาว ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียกับผู้ประกอบการปัจจุบันในระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละธนาคาร ขึ้นอยู่กับการเปิดเสรีเพดานการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติในธุรกิจธนาคาร (ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 25%) และเกณฑ์ของ ธปท. และความพร้อมแต่ละธนาคารในแข่งขัน ทั้งนี้การให้ใบอนุญาตใหม่จะทำให้เกิดผู้ประกอบรายใหม่ ซึ่งในต่างประเทศ (สิงคโปร์ และฮ่องกง) ได้แก่บริษัทโทรคมนาคม, Grap, e-commerce,ประกัน, logistic, fintech (figure 2,3,4) ดังนั้น เราจึงคาดว่าจะเห็นการผนึกพันธมิตรทางธุรกิจสำหรับในการธุรกิจรูปบบใหม่นี้ในประเทศไทยมากขึ้น นอกจากนี้ กรอบใหม่ยังจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างธนาคารแบบดั้งเดิม (conventional) และธนาคารดิจิทัล ในแง่ของความสามารถในการแข่งขันและการประเมินมูลค่าหุ้นด้วย

 

 

มีผลดี และผลต่อผู้ประกอบเดิม

เนื่องจากกรอบของธุรกิจ virtual bank จะเปิดให้ธนาคารที่ทำธุรกิจอยู่แล้วสามารถือครอบใบอนุญาต virtual banking ได้ ซึ่งหมายความว่า ธปท. ยังเอื้อประโยชน์ให้กับธนาคารที่ทำธุรกิจอยู่จากภายใต้การเปลี่ยนแปลง ในที่นี้เราคิดว่า KBANK SCB และ KTB มีความพร้อม และน่าจะยื่นขอใบอนุญาต virtual banking ในขณะที่ BBL TTB TISCO จะเผชิญความท้าทายมากกว่า ส่วน KKP น่าจะใช้โมเดลการจับมือกับพันธมิตร ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์และบริการแบบ virtual banking ในต่างประเทศจะเน้นที่ wealth management, ประกัน และสินเชื่อผู้บริโภค

 

KBANK SCB KTB เป็นธนาคารที่พร้อม

ในปัจจุบัน KBANK และ SCB มีฐานลูกค้าอยู่ประมาณธนาคารละ 15-20 ล้านบัญชี ซึ่งบริการ mobile banking คิดเป็นสัดส่วน 86% และ 78% ของปริมาณธุรกรรมทั้งหมดของ KBANK และ SCB ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน KTB ได้ฐานลูกค้าบริการดิจิทัลเพิ่มขึ้นจากการดำเนินนโยบายรัฐบาลผ่านแอพมือถือ ทั้งนี้ กว่าจะเพิ่มการใช้งานบริการ mobile banking จนถึงระดับสูงเช่นนี้ได้ ทั้ง KBANK และ SCB ต้องใช้เวลาประมาณ 5-6 ปี ซึ่งนับเป็นจุดแข็งที่จะช่วยให้ KBANK และ SCB สามารถรับมือกับแนวโน้มการแข่งขันรูปแบบใหม่ในธุรกิจการเงินได้

 

 

แนวโน้มของธุรกิจ non-bank ยังเปราะบางจากกฎเกณฑ์ของทางการ และการแข่งขัน

จากแนวทางใหม่ในการยกระดับการกำกับดูแลและควบคุมธุรกิจ non-bank เรามองว่าแนวโน้มของธุรกิจ non-bank ยังคงเปราะบางจากแรงกดดันในแง่ของการกำกับดูแล นอกจากนี้ การปฏิรูปทางการเงินครั้งนี้ยังมุ่งเป้าไปที่การทำให้บริการทางการเงินเข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับกลุ่มที่ยังไม่ได้ใช้บริการธนาคารซึ่งใบอนุญาต virtual banking อาจจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปจับตลาดกลุ่มนี้ได้ และเปิดโอกาสให้ใช้การประเมิน credit scoring แบบทางเลือกในการออกผลิตภัณฑ์ microloans ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ดังนั้น ธุรกิจ non-bank จึงอาจจะเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น

 

Risks

NPLs และสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ทางการ