Quantamental ทยอยล๊อกกำไรบางส่วนตอนหุ้นขาขึ้น ถอยชั่วคราวเพื่อรอดูสถานการณ์

Quantamental ทยอยล๊อกกำไรบางส่วนตอนหุ้นขาขึ้น ถอยชั่วคราวเพื่อรอดูสถานการณ์

บทวิเคราะห์เดือน ม.ค. เราแนะนำให้นักลงทุนถือหุ้น “Let profit run” เนื่องจากประเมินว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามาเพื่อปรับพอร์ตหุ้นเพื่อการลงทุนในช่วงต้นปี

ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์ปรับประมาณการ EPS ขึ้นเฉลี่ย +0.6% MoM เป็น 94 บาทต่อหุ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) ปรับขึ้นตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย

 

Value factors: ความน่าสนใจลงทุนจะเริ่มลดน้อยถอยลง สวนทางกับ Bond yield

i) Modified yield gap (M-yield gap): Normal yield gap and M-yield gap ณ สิ้นเดือน ม.ค. คำนวณได้
เท่ากับ 4.29% และ +0.47 จุด ตามลำดับ ซึ่งค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ของ Normal yield gap เท่ากับ 4.3%
(การคำนวณของเราใช้ Bond yield อายุ 5 ปี) สอดคล้องกับ M-yield gap ที่ลดลงเข้าใกล้ศูนย์ สะท้อนว่า
ระหว่างตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรขณะนี้ ความถูก-แพง ใกล้เคียงกัน

ii) Implied equity risk premium (iERP): iERP ณ สิ้นเดือน ม.ค. เท่ากับ 3.25% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน เป็นผลจากการเลื่อนยการคำนวณไปใช้ข้อมูลคาดการณ์การจ่ายเงินปันผล (DPS) ปี 2565 – 67 แทนที่ชุดข้อมูลปี 2564 – 66 อย่างไรก็ดี iERP ที่คำนวณได้ยังสะท้อนอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนใน SET Index ที่ไม่สูงมาก ยังอยู่ในระดับ -1.5 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าเฉลี่ยในอดีต

iii) Cyclical adjusted PE (CAPE): CAPE ล่าสุดเท่ากับ 20.3 เท่า ทรงตัว MoM ซึ่ง CAPE เป็นการคำนวณที่ยึดข้อมูลกำไรของบริษัทจดทะเบียนระยะยาวปรับด้วยเงินเฟ้อในอดีตเป็นหลัก ข้อมูลประมาณการกำไรปี 2565 ของนักวิเคราะห์ จึงไม่ส่งผลกระทบ ทั้งนี้ Excess CAPE yield (ECY) หรือ การคำนวณ Yield gap โดยใช้ Earnings yield ที่คำนวณได้จาก CAPE ล่าสุดเท่ากับ 2.88% ต่ำกว่าระดับ 3% เป็นครั้งแรกในรอบ 32 เดือน

 

 

ตลาดอาจผันผวน จากการเตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ครั้งแรกตั้งแต่ปลายปี 2561 อิงจากโมเดลของเรา SET index มี Valuation ที่ไม่ได้ถูกมากนักและความน่าสนใจลงทุนจะเริ่มลดลงไปอีก หาก Bond yield ปรับขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Yield gap ที่จะลดลงส่วนทางกับ Bond yield นอกจากนี้เรากังวลเรื่องการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างสินทรัพย์หรือ Asset allocation ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค. เนื่องจากการเตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ในเดือน มี.ค.นี้

 

Momentum factor: เริ่มแผ่ว

Momentum ของตลาดหุ้นไทยยังเป็นบวกอยู่ แต่เริ่มชะลอตัวลง โดยอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนย้อนหลัง 3 เดือน เป็นบวกเฉลี่ย 0.5% ต่อเดือน ขณะเดียวกัน Momentum ตลาดพันธบัตรยังเป็นลบต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนย้อนหลัง 12 เดือน ติดลบเฉลี่ย -0.49% ต่อเดือน สะท้อนแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้

 

แนะนำลดพอร์ตขายล๊อกกำไรบ้าง ตอนหุ้นกำลังขึ้น

เราแนะนำให้นักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นตามที่แนะนำมาในช่วงปลายปี 2565 ทยอยลดพอร์ตเพื่อล๊อกกำไรบ้างบางส่วน เนื่องจากเรากังวลต่อความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนนี้ ดังนั้นการปรับขึ้นของดัชนีในช่วงนี้ถือเป็นโอกาสในการขายล๊อกกำไร เราแนะนำ “Sell into Strength”

 

เดือน ม.ค. หุ้นเด่น 20 ตัวของเราให้อัตราผลตอบแทนรวม +2.6% และ +4.7% อิงการจัดพอร์ตแบบ Equal weight และ Market cap weight ตามลำดับ ซึ่ง Outperform ตลาดฯที่ปรับลดลงเล็กน้อย -0.5%

สำหรับหุ้นเด่นเดือน ก.พ. อยู่ในตารางที่ 1 ในเชิง Technical เราประเมินแนวรับ SET index ไว้ที่ 1650
จุด และ 1640 จุด ตามลำดับ / แนวต้าน 1680 จุด และ 1700 จุด ตามลำดับ