GULF ลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ กำลังผลิตกว่า 9.5 เมกะวัตต์ รุกธุรกิจพลังงานหมุนเวียน

GULF ลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ กำลังผลิตกว่า 9.5 เมกะวัตต์ รุกธุรกิจพลังงานหมุนเวียน

กัฟล์แจ้งตลาด เข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ขนาดกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 9.5 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขยายธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียนของบริษัท ช่วยลดปัญหาการจัดการบ่อฝังกลบขยะเพิ่ม หวังมุ่งสู่พลังงานสะอาด มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

     บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ว่า เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 บริษัท กัลฟ์ รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์จี จำกัด ("Sulf Renewable Energy") ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้น
ร้อยละ 100 ได้ลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นกับนักธุรกิจท้องถิ่น เพื่อเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของบริษัท ออล เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี
จำกัด ("ALL WTE") ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ในบริษัท เชียงใหม่ เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด ("CM WTE")

       ซึ่งได้สิทธิจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ("อบจ.เชียงใหม่") ในการบริหารจัดการระบบจัดการขยะมูลฝอย
โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน CM WTE ("โครงกรฯ") เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ตั้งอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัด
เชียงใหม่ โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งไม่ต่ำกว่า 9.5 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับปริมาณขยะไม่ต่ำกว่า 650 ต้นต่อวันจาก อบจ.เชียงใหม่

    โดยมีรายได้จาก 2 ส่วน คือรายได้จากบริการกำจัดขยะด้วยวิธีการคัดแยกและฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ("กฟภ."' โดยโครงการฯ มีแผนที่จะเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลังจากได้ลงนามซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟก.

     โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการก่อสร้าง ทั้งนี้ การเข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนดังกล่าว ถือเป็นการขยายธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียนของบริษัทฯ และเป็นโครงการที่ช่วยลดปัญหาการจัดหาบ่อฝังกลบขยะเพิ่มเติมในจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นการตอบสนองนโยบายของภาครัฐที่มุ่งสู่พลังงานสะอาด ภายหลังการประชุม CO P26 ที่ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ โดยตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
(Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุป้าหมายการปล่อยก๊ซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี
ค.ศ. 2065

        โดยบริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Cimate Change) และการลดการ
ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization)

     โดยจะมุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ
และทิศทางพลังงานโลกที่มีเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อต่อต้านผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ