"CPF" เผย “FAO”ดึงคอนแทรคฟาร์มมิ่งไทย สู่โมเดลพัฒนาเกษตรกรทั่วโลก

"CPF" เผย “FAO”ดึงคอนแทรคฟาร์มมิ่งไทย    สู่โมเดลพัฒนาเกษตรกรทั่วโลก

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา นับเป็นความยากลำบากไม่เพียงมนุษย์แต่บรรดาสัตว์เลี้ยงก็ต้องผจญความยำลำบากไม่แพ้กัน การจะผ่านพ้นวิกฤติไปได้ต้องใช้องค์ความรู้มาสู้กับโรคภัยต่างๆ ซึ่งวิถี "คอนแทรคฟาร์มมิ่ง"เป็นทางทางเลือกให้พ้นจากวิกฤตินี้

 ยกตัวอย่าง ระบบไบโอซีเคียวริตี้ (biosecurity) องค์ความรู้และความเข้าใจที่จะส่งต่อไปยังเกษตรกร ทั้งการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนระบบปิด การควบคุมการเข้าออกฟาร์ม มีระบบฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงสัตว์ได้อย่างปลอดภัย ลดเสี่ยงจากโรคระบาดสัตว์ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น PRRS หรือ ASFรวมถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 นับเป็นกองหลังที่สำคัญช่วยผลิตอาหารปลอดภัยให้คนไทยตลอด 2 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ที่กล่าวถึงนี้ จะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเกษตรกรได้หากไม่มีระบบ เกษตรพันธสัญญา หรือ คอนแทรคฟาร์มมิ่ง” (Contract Farming)  ซึ่งเป็นระบบการผลิตผลผลิต หรือ บริการทางการเกษตรที่ทำสัญญากันระหว่าง “ผู้ประกอบธุรกิจ” กับ “เกษตรกร” หรือ “กลุ่มเกษตรกร" โดยใช้กับการเพาะปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์หลายประเภท ช่วยเกษตรกรรายย่อยลดความเสี่ยงเรื่องราคา และความผันผวนด้านการตลาด ซึ่งมีการตกลงในการบริหารจัดการร่วมกันและแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจจะถ่ายทอดวิธีการผลิต และจัดหาปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร 

"CPF" เผย “FAO”ดึงคอนแทรคฟาร์มมิ่งไทย    สู่โมเดลพัฒนาเกษตรกรทั่วโลก

ขณะที่เกษตรกรผลิตตามจำนวน คุณภาพ ระยะเวลาที่กำหนดหรือมาตรฐานของผู้ประกอบการ และส่งมอบผลผลิตในราคาที่ตกลงและประกันไว้ล่วงหน้า ระบบนี้ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และช่วยให้บริษัทผู้ประกอบธุรกิจมีหลักประกันเรื่องวัตถุดิบที่ได้คุณภาพอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

ปัจจุบัน ประเทศไทยมี พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 ที่ช่วยกำกับดูแลการทำสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญา เพื่อช่วยสร้างความเป็นธรรมระหว่างคู่สัญญา ปกป้องให้เกษตรกรรายย่อยได้มีที่พึ่ง

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในภาคเอกชนรายแรกๆ ที่นำระบบนี้มาปรับใช้กับโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อยโดยเฉพาะสุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ปัจจุบัน บริษัทฯมีเครือข่ายเกษตรกรในโครงการฯ กว่า 5,900 ราย บริษัทฯ มีผู้เชี่ยวชาญ เป็น “พี่เลี้ยง” ให้เกษตรกรในโครงการอย่างใกล้ชิด

“ทุกวันนี้ ไม่เพียงประสิทธิภาพการผลิต เกษตรกรรายย่อยในโครงการฯ ยังมีความทันสมัยสามารถผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคทั่วโลกที่ใส่ใจประเด็น “ความยั่งยืน” มากขึ้น ทั้งการตรวจสอบย้อนกลับได้ การดูแลแรงงานตามหลัก GLP (Good Labour Practices) การทำบ่อไบโอแก๊ส (Biogas) เกษตรกรสามารถนำของเสียมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม และช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน”

นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ซีพีเอฟยังปรับปรุงสัญญาคอนแทรคฟาร์มอย่างรอบด้านให้มีความทันสมัยตามแนวทางสากลของ UNIDROT (The International Institute for the Unification of Private Law) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก เพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีโดยมีเกษตรกรเป็นพันธมิตรธุรกิจที่สำคัญ และพร้อมพัฒนาให้เติบโตไปด้วยกัน

ทั้งนี้ สัญญาฉบับปรับปรุงใหม่ ยังได้รับการตรวจประเมินจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่ามีความเป็นธรรม และได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO-Food and Agriculture Organization of the United Nations) นำไปใช้เป็นต้นแบบในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรในหลายประเทศทั่วโลก