Weekly Market Strategy 10-14 มกราคม: เตรียมรับภาวะตลาดอนแอลงในสัปดาห์นี้

Weekly Market Strategy 10-14 มกราคม: เตรียมรับภาวะตลาดอนแอลงในสัปดาห์นี้

ในสัปดาห์ที่แล้ว (4-7 มกราคม) ดัชนี SET ยังคงขึ้นต่อได้จากแรงส่งในช่วงต้นปี จากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชีย

รวมถึงตลาดไทยอย่างแข็งแกร่งเนื่องจาก i) นักลงทุนเชื่อมั่นมากขึ้นว่าสายพันธุ์ Omicron จะไม่รุนแรง และไม่ทำให้มีการกลับมาใช้มาตรการทางสังคมอีกรอบ ii) ทิศทางนโยบายการเงินโลกมีความชัดเจนมากขึ้นเนื่องจากในเดือนธันวาคม 2564 ทั้ง Fed และ ECB ได้ออกมาเปิดเผยแนวการดำเนินนโยบายในปี 2565 อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยกลับมาผันผวนมากขึ้นในช่วยปลายสัปดาห์ หลังจากที่มีการเปิดเผยรายงานการประชุม FOMC นัดล่าสุด ซึ่งมีการพูดถึงโอกาสที่ Fed จะลดขนาดงบดุล หรือที่เรียกว่า quantitative tightening (QT) ในอีกสองสามเดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย นอกจากนี้ การที่ยอดผู้ติดเชื้อ Omicron ในประเทศไทย
พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายวันมานี้ยังทำให้กระทรวงสาธารณสุขไทยประกาศยกระดับเตือนภัย COVID-19 ในขณะเดียวกัน นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงอยู่ในขาขายในสัปดาห์ที่ผ่านมาสอดคล้องกับมุมมองของเราว่าจะมีการขายหน่วยลงทุน LTFs บางส่วนออกมา

 

สำหรับในสัปดาห์นี้ (10-14 มกราคม) เราคาดว่าดัชนี SET จะพักฐาน โดยมองว่าปัจจัยมหภาคของสหรัฐ อย่างเช่นการพิจารณาเสนอชื่อนาย Jerome Powell เป็นประธาน Fed อีกสมัย และตัวเลข CPI เดือนธันวาคมน่าจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐขยับขึ้นต่อไปอีก และสร้างแรงกดดันต่อตลาดทุน ดังนั้น เราจึงคาดว่ากระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นจะชะลอตัวลงหลังจากที่เริ่มต้นปีอย่างแข็งแกร่งไปแล้ว สำหรับปัจจัยภายในประเทศ เรามองว่ายอดผู้ติดเชื้อ Omicron จะยังคงเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกดดันหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

ติดตามถ้อยแถลงในการเสนอชื่อ Powell, ตัวเลข CPI สหรัฐ และสถานการณ์ Omicron ในประเทศ

(0/-) ถ้อยแถลงของ Powell และตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ ในวันที่ 11 มกราคม นาย Powell ประธาน Fed
จะแถลงในการพิจารณาเสนอชื่อเขาเป็นประธาน Fed อีกสมัย โดยมีการคาดกันว่าเขาจะแสดง
ความเห็นออกมาในเชิงค่อนข้าง hawkish เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและรายงานการประชุมของ
FOMC รอบล่าสุด นอกจากนี้ ในวันที่ 12 มกราคม จะมีการเปิดเผยตัวเลข core CPI ของสหรัฐในเดือน
ธันวาคม ซึ่งคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นเป็น 5.4% YoY จาก 4.9% YoY ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ซึ่งประเด็น
เหล่านี้อาจจะหนุนให้อัตราผลตอนแทนพันธบัตรของไทยและสหรัฐขยับสูงขึ้นอีก

(0/-) ความคืบหน้าของสถานการณ์ Omicron ในประเทศ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อ
COVID-19 ในประเทศไทยพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 8,000-9,000 ราย ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากสาย
พันธุ์ Omicron ถึงแม้ว่ากรณีนี้ไม่น่าจะทำให้มีการใช้มาตรการทางสังคมเพิ่มเติม แต่น่าจะยังคงส่งผล
กระทบในเชิงลบต่อหุ้นกลุ่มเกี่ยวข้อง อย่างเช่น กลุ่มการท่องเที่ยว และการบริโภคในประเทศ.

 

 

 

ยังคงเน้นเลือกลงทุนแบบผสมผสานระหว่างหุ้น high beta และหุ้น defensive

เนื่องจากเรามองว่าตลาดหุ้นจะพักฐานในสัปดาห์นี้ เราจึงยังคงแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ barbell ต่อไป และยึดตามธีมการลงทุนหลักใน 1Q65 โดยเราชอบหุ้นกลุ่ม ICT, ที่อยู่อาศัย และหุ้นบางตัวในกลุ่มผู้บริโภค อย่างเช่น ADVANC*, INTUCH*, LH*, HMPRO* และ COM7* สำหรับหุ้นกลุ่ม high beta เรายังคงชอบหุ้นธนาคารใหญ่ที่มีจุดแข็งทางด้าน digitalization อย่างเช่น SCB* และ KBANK* รวมถึงหุ้น laggard อย่างเช่น KTB* ด้วย ทั้งนี้ เรามองว่ากลุ่มธนาคารจะเป็นกลุ่มหลักที่ได้อานิสงส์จากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย ในขณะเดียวกัน นักลงทุนควรติดตามประมาณการ 4Q64 ของหุ้นกลุ่มธนาคาร ซึ่งนักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารของเราคาดว่ากำไรของทั้งกลุ่มจะเพิ่มขึ้น 21% YoY แต่ลดลง 7%QoQ