"ปตท.สผ." ลงทุน 700 ดอลลาร์ ลุยผลิตก๊าซแหล่งเอราวัณ

"ปตท.สผ." ลงทุน 700 ดอลลาร์ ลุยผลิตก๊าซแหล่งเอราวัณ

ปตท.สผ.จ่อเข้าแหล่งเอราวัณม.ค.2565 ทุ่ม 700 ล้านดอลลาร์ ดันกำลังผลิตช่วงแรกที่ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มั่นใจไม่กระทบการใช้พลังงานประเทศ เดินเครื่องเพิ่มกำลังผลิตแหล่งบงกช-อาทิตย์ทดแทด 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ในการเข้าพื้นที่แปลง G1/61 หรือแหล่งเอราวัณ ตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต(PSC)หลังจากที่บริษัทได้ลงนามสัญญาและข้อตกลงกับบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ผู้รับสัมปทานปัจจุบันและจะหมดสัญญาสัมปทานเดือนเม.ย.2565 ได้แก่ 1. ข้อตกลงเพื่อเข้าพื้นที่ดำเนินการเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานของสิ่งติดตั้งที่รัฐจะรับมอบ 2. ข้อตกลงเข้าพื้นที่ระยะที่ 2  และ 3. สัญญาเพื่อให้ผู้รับสัมปทานเข้าพื้นที่ดำเนินการรื้อถอนในช่วงสัญญาแบ่งปันผลผลิต 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าไปเป็นผู้ดำเนินการแหล่งเอราวัณ ปตท.สผ. จะสามารถผลิตก๊าซได้ราว 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เนื่องจากแท่นผลิตกลางเดิมที่มีอยู่ในแหล่งเอราวัณรวม 8 แท่น จะสามารถใช้ผลิตก๊าซได้เพียง 5 แท่น ส่วนอีก 3 แท่นนั้น ไม่สามารถผลิตก๊าซได้ เพราะปริมาณก๊าซไม่เพียงพอที่จะสามารถผลิตได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเมื่อ ปตท.สผ. เข้าเป็นผู้ดำเนินการแหล่งเอราวัณแล้ว จะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในการเคลื่อนย้ายและติดตั้งแท่นหลุมผลิต 8 แท่น การเชื่อมต่ออุปกรณ์การผลิตและระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน และเจาะหลุมผลิตกว่า 100 หลุม จึงจะสามารถผลิตก๊าซฯ ได้ถึงระดับ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ตามเงื่อนไขในสัญญาแบ่งปันผลผลิต ทั้งนี้ จะยังคงใช้งบประมาณตามแผนเดิมที่วางไว้ 700 ล้านดอลลาร์

นายมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2562 เชฟรอนผู้รับสัมปทานได้ทำสัญญาโดยกำลังการผลิตอยู่ที่ 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งจากสัญญาที่เชฟรอนทำได้มีการลดสัดส่วนกำลังการผลิตลงเป็นแบบขั้นบันไดและลดกำลังการผลิตอยู่ที่ 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันใน 2 ปี จนมาอยู่ที่ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันส่งผลให้อัตราการผลิตในปัจจุบัน ต่ำมากจนปริมาณแก๊สฯ อยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยที่จะผลิตต่อที่เรียกว่าทำให้เกิดช่องว่าง หรือ ชอตฟลอร์ในบางแท่น

ทั้งนี้ การปรับลดกำลังผลิตของผู้รับสัมปทานเดิมถือว่าน้อยกว่าข้อกำหนดที่ต้องลดกำลังการผลิตมาอยู่ที่ 560 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และไม่มีการลงทุนเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งการที่ ปตท.สผ.จะเพิ่มกำลังการผลิตไปที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในทันที่เลย คงเป็นไปไม่ได้เพราะจะเกิดความไม่ปลอดภัยในหลายด้าน 

นอกจากนี้ ในการเพิ่มกำลังผลิตก๊าซฯ ทดแทนนั้น เบื้องต้นจะเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซฯ จากแหล่งอาทิตย์ได้อีก 60 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจากปัจจุบันผลิตอยู่ 220 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่วนแหล่งบงกชจะผลิตขึ้นเป็น 820-850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สูงกว่าสัญญา PSC ที่กำหนดว่าต้องผลิต 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน รวมถึงเพิ่มกำลังผลิตจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทยมาเลเซีย เพื่อดันยอดทดแทนให้ถึง 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ทั้งนี้ ต้นปีหน้าปตท.จะเริ่มเข้าพื้นที่สำรวจและเตรียมความพร้อมด้วยความระมัดระวัง เพราะแต่เดือนม.ค.2565 จะมีคลื่นลมแรง โดยตามข้อตกลงในสัญญาในเรื่องของทรัพย์สินทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ที่รัฐรับโอนคืนจำนวน 140 แท่น กับที่ผู้รับสัมปทานเดิมจะต้องรื้อถอนหลังหมดสัญญาจำนวน 50 แท่น

“ความล่าชาของการเข้าพื้นที่ทำให้เราเสียโอกาสไป 2 ปี ดังนั้น สัญญาที่เราทำไว้ 10 ปี เมื่อเลื่อนการผลิตเต็มกำลัง 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สัญญาก็สามารถขยายได้ เพราะเหตุผลที่เข้าพื้นที่ไม่ได้เกิดจากเรา”

ปี2565 ตั้งเป้าปริมาณการขายปิโตรเลียมจะเติบโตขึ้น 6-7% จากปีนี้ได้ปรับเพิ่มเป้าขายปิโตรเลียมเป็น 4.17 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน  โดยปี 2565 ยอดขายจะอยู่ที่ 4.67 แสนบาร์เรล