แผนธุรกิจ “ปตท.” ผู้บริโภคต้องได้สินค้าปล่อยคาร์บอนน้อยสุด

แผนธุรกิจ “ปตท.” ผู้บริโภคต้องได้สินค้าปล่อยคาร์บอนน้อยสุด

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและผลกระทบจากดิจิทัล ปตท.ต้องดำเนินธุรกิจสร้างความมั่นคงด้านพลังงานระยะยาว การบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีคนในสังคมตามแนวคิด “โก กรีน” ให้เติบโตไปด้วยกัน ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ

วรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนองค์กรทุกมิติจะเน้นทิศทางการเจริญเติบโตขององค์ สร้างพลังขับเคลื่อนให้ทุกชีวิต รวมถึงพัฒนาสุขภาพชีวิตคนในสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตพร้อมการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ซึ่งปัจจุบันนอกจากดำเนินธุรกิจแล้วต้องสร้างพลังงานแห่งอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ปตท.ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับพลังงานที่ต้องการให้ธุรกิจใหม่ไกลกว่าพลังงาน สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ ปตท.กำหนดทิศทางกลยุทธ์ที่ยั่งยืนของกลุ่ม ปตท.ที่ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือตัวชี้วัดความยั่งยืน และที่ขาดไม่ได้ คือ เป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนที่แบ่งเป็นการดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ทรัพยากรให้มีคุณค่า ภารกิจหลักของ ปตท.คือ ดูแลหน่วยความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งพลังงานหลักของประเทศมาจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก โดยองค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสิ่งสำคัญต้องลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และดูแลการรั่วไหลตามอุปกรณ์ด้วย สำหรับก๊าซธรรมาชาติ เมื่อไปถึงลูกค้าต้องได้คาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด

นอกจากนี้ มีโครงการปลูกป่าที่ทำมานาน การปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันดูดซับได้มากกว่า 2 ล้านตันต่อวัน รวมถึงเป้าหมายของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่กำหนดขึ้นให้สอดคล้องเป้าหมายประเทศ ดังนั้น เทคโนโลยีนวัตกรรมมีส่วนให้หลายอย่างสะดวกขึ้น แต่บางทีเทคโนโลยีมีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อม ปตท.จึงต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีช่วยโลกได้

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ปตท.มีสถาบันการวิจัยเกี่ยวคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อหาทางเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ใช้ประโยชน์ต่อ รวมถึงเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้ดิน รวมถึงการวิจัยแบตเตอรีเพื่อยืดอายุการใช้งานให้มากกว่า 300-400 กิโลเมตร และเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้งานรูปแบบต่างๆ และเมื่อคนไทยต้องการมีพลังงานไฟฟ้าเป็นของตัวเองจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยเติมช่วงกลางวัน และใช้งานช่วงกลางคืน

เวลาที่เราผลิตอะไรต้องคำนึงถึงประโยชน์สินค้า 1 ตัว ที่คิดค้น อนาคตจะกลายเป็นขยะเราจึงนำไบโอพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ อาทิ แก้ว Amazon"

แผนธุรกิจ “ปตท.” ผู้บริโภคต้องได้สินค้าปล่อยคาร์บอนน้อยสุด การดำเนินงานในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต (Future Energy) ปตท.จะลงทุนกลุ่มพลังงานอนาคต เช่น พลังงานหมุนเวียน, Energy Storage System, EV value chain, การพัฒนาระบบ Smart Energy Platform สำหรับซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในนิคมอุตสาหกรรม, เปิดตัว G-Box ระบบกักเก็บพลังงานร่วมกับ GPSC และ OR เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพลังงานและลดต้นทุนค่าไฟฟ้า รวมถึงเปิดโรงงานแบตเตอรี่ Semi Solid แห่งแรกในอาเซียน

สำหรับแนวทางแก้ไขระยะยาวปี 2573 ก้าวสู่ธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต มากกว่า 30% ของการลงทุนทั้งหมด แบ่งเป็น Future Energy 15%, ธุรกิจใหม่ 17% ส่วนที่เหลือ 68% จะเป็นการลงทุนในธุรกิจ E&P โดยเน้นลงทุนสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนสูง โดยเฉพาะแหล่งก๊าซ, ธุรกิจก๊าซธรรมชาติจะสร้าง Global LNG Portfolio, ธุรกิจพลังงาน ขยายลงทุนในโรงไฟฟ้าบางกลุ่มในไทยและภูมิภาค, ธุรกิจ P&R บูรณาการ Supply Chain มุ่งสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง, ธุรกิจ oil & Retail ขยายการค้าปลีกที่ตอบโจทย์ Mobility & Lifestyle เพื่อลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 15% โดยเทียบกับปี 2563

ทั้งนี้ กลุ่มปตท.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบตเตอรี่ เพราะถ้ามีแบตเตอรี่และโซล่าเซลล์ที่ดีจะทำให้ประชาชนผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เองแบบครบวงจร ส่วนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้มาก ซึ่งขึ้นกับตัวชาร์จไฟด้วยว่ามาจากฟอสซิลหรือพลังงานหมุนเวียนด้วย โดยแนวโน้มของโลกกำลังเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงไทยมีนโยบายสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน อาทิ นโยบายลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

“ปตท.ร่วมตั้งปั๊มชาร์จเพื่อให้นักเดินทางใช้ได้ ทั้งอาคารที่จอดรถในห้างสรรพสินค้าเป้าหมายอยากให้ถึง 100 แห่งในปีนี้ โดยเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ต้องชาร์จไฟได้เร็วไม่เกิน 20 นาที รวมถึงการมีแอพพลิเคชั่นผ่านมือถือเพื่อตรวจสอบสถานะสถานีชาร์จ อีกทั้งมีโครงการ Swap&Goทางเลือกหนึ่งของผู้ใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้า เข้ามาเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ในเวลารวดเร็ว”

การที่ไทยจะก้าวสู่ Net Zero ทุกภาคส่วนต้องร่วมใจกัน ทั้งภาคเอกชน ภาคการผลิต หมั่นซ่อมบำรุง ดูแลรักษาเครื่องจักรให้มีความพร้อมสมบูรณ์ ลดการปล่อยของเสียให้มากที่สุด ซึ่ง ปตท.เน้นการดำเนินธุรกิจยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวกำหนด เมื่อผลิตภัณฑ์ออกมาแล้วจะต้องบริหารจัดการขยะว่าจะทำอย่างไรเพื่อช่วยแก้ปัญหาภูมิอากาศได้ดี