อีอีซี กับPandora’s box ไม่ใช่แค่ ความเลวร้ายเสถียรภาพรัฐ

อีอีซี กับPandora’s box ไม่ใช่แค่  ความเลวร้ายเสถียรภาพรัฐ

ความท้าทายของการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นสิ่งที่ทั้งภาครัฐและเอกชนในทุกประเทศพยายามกันในทุกวิธีทางและช่องทางที่สามารถทำได้ และการมาของ “โอมิครอน” หรือ การระบาดครั้งใหม่นั้น กระทบหลายส่วนรวมถึงอีอีซีด้วย

อาจจะทำให้แผนฟื้นฟูประเทศด้วยจำนวนงบประมาณที่นับได้ว่ามหาศาลละลายหายไปได้ หากผู้บริหารประเทศยังไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงการสื่อสารทำความเข้าใจกับเอกชนและประชาชนได้ทันการณ์เพื่อความสำเร็จของนโยบายและมาตรการต่างๆ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าหากผู้บริหารประเทศไม่สามารถเปิดกล่องแพนโดร่า Pandora’s box ที่ไม่ได้เปิดตั้งแต่แรกได้ทันนั้น ความเลวร้ายนั้นจะไม่ได้ส่งผลเพียงเสถียรภาพของรัฐ แต่ก็เป็นความเลวร้ายที่จะตามมาอาจจะทำร้ายทำลายประเทศ เพราะจะมีสิ่งเลวร้ายหรือหลายๆปัญหาที่จะตามมา เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านต่าง ดังนั้นๆการเร่งของการสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณะในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการลดอุณหภูมิการก่อให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง การสร้างแรงดึงดูดเงินลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงเป็นสำคัญอย่างยิ่งต่อการเดินหน้าของประเทศ

หากปัญหาต่างๆผู้บริหารรัฐยังไม่สามารถบริหารจัดการให้ประชาชนและเอกชนรับรู้ถึงการคลี่คลายของปัญหาและการสร้างความหวังความเชื่อถื่อของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ อีกหนึ่งกล่องแพนโดร่ากำลังรอให้มีการเปิดขึ้น และหากสองปัจจัยนี้ได้เกิดขึ้นจะไม่ใช่เพียงแค่เสถียรภาพของรัฐเท่านั้นที่จะต้องเจอกับความเสี่ยงแต่ความเสี่ยงนั้นจะมีต่อการเดินหน้าพัฒนาของประเทศด้วยเช่นกัน

 ปัญหานโยบายทางเศรษฐกิจและทางการเมืองจะเป็นตัวกระตุ้นและส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่งคือ ปัญหาความเห็นต่างระหว่างชนชั้นนำทางการเมือง (political elite) ในการบริหารจัดการประเทศ ประเด็นที่สองคือปัญหาการขยายตัวของความเหลื่มล้ำในด้านต่างๆจะนำมาสู่ปัจจัยของความวุ่นวายหรือความรุ่นแรงทางการเมือง เราอาจจะมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ ความเห็นต่างในกลุ่มผู้บริหารในการจัดการปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองที่จะนำมาให้สู่ถึงความแตกแยก (ชนชั้นนำทางการเมือง)หรือไม่

การเกิดการขยายตัวของปัญหาความเหลื่อมล้ำอาจจะลุกลามไปถึงความวุ่นวายทางการเมืองไม่ใช่เรื่องใหม่หรือแปลกอะไร หรือความคิดเห็นต่างในชนชั้นนำทางการเมืองและชนชั้นปกครองก็เช่นกัน แต่ความแตกต่างนั้นอาจจะกลายก่อให้เกิดความแตกแยกและแตกหักได้ ผนวกกับการเกิดการระบาดของโรคโควิดในระยะประมาณ 2 ปีนี้ทำให้สะท้อนถึงหลายๆปัญหาที่ถูกมองข้ามและการหลีกเลี่ยงที่จะเข้าแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ (เช่น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการเมือง) ปัญหานโยบายเศรษฐกิจ (เช่น โครงสร้างเงินทุน ปัญหาเงินเฟ้อ โครงสร้างพื้นฐาน) จึงอาจจะไม่ต่างกับกล่องแพนโดร่าที่ถูกเปิดขึ้น และปัจจัยตัวเร่งที่สำคัญคือการเกิดของชนชั้นนำทางการเมืองใหม่ที่สร้างตัวเองมาให้มีบทบาทมาสอดคล้องกับช่วงสถานการณ์ที่ประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตหลายด้าน และอาจจะสะท้อนให้เห็นถึงว่าเรากำลังมาถึงอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญหรือไม่หรือจะเป็นเพียงความวุ่นวายที่ผ่านมาและก็ผ่านไป

ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะก้าวเข้าสู่จุดการเปลี่นแปลงแบบใด ณ ปัจจุบันการฟื้นฟูของเศรษฐกิจของเราได้ชะลอตัวลงผนวกกับความเชื่อมั่น ความชัดเจนของยุทธศาสตร์ที่บริหารประเทศเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองที่ยังไม่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ จึงทำให้หลายคนรับรู้ (perception) ว่าคุณภาพชีวิตอาจเรียกได้ว่าวงจรความโหดร้ายของคนจน (vicious cycle) ในหลายๆกรณี ความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการประเทศและนโยบายเศรษฐกิจเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมและพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างเช่น โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการที่คาดหวังที่จะส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำลงได้บ้าง เราก็คาดหวังให้รัฐจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่ถูกมองข้ามและถูกหลีกเลี่ยงลงได้บ้างไม่ใช่เพื่อเสถียรภาพของรัฐแต่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเรา